วันอาทิตย์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2556

กีฬาหมากรุกไทย

ประวัติหมากรุกไทยและกติกาการเล่นหมากรุก

หมากรุกไทย ต้องอยู่คู่ชาติไทย โปรดร่วมใจอนุรักษ์และฝึกเล่น
หมากรุกไทยขั้นพื้นฐาน
อุปกรณ์ในการเล่นหมากรุกไทย ประกอบด้วย
ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายจะนั่งเผชิญหน้ากัน มีกระดานหมากรุกวางอยู่ตรงกลาง
การตั้งตัวหมากรุกและรูปร่างของตัวหมากรุก แสดงไว้ในภาพ มีข้อสังเกตคือ เม็ดต้องตั้งอยู่เบื้อง
ขวาของขุนแต่ละฝ่าย
 
                        
 
ต้องการกลับไปที่เมนูหลักหมากรุกไทยคลิก              

           การเล่นหมากรุกปรากฎว่ามีมาในประเทศอินเดียช้านานนับด้วยพันปี  พวกชาวอินเดียอ้างว่าหมากรุกเกิดขึ้น เมื่อครั้งพระรามไปล้อมเมืองลังกา นางมณโฑเห็นทศกรรฐ์เดือดร้อนรำคาญ ในการที่ต้องเปนกังวลคิดต่อสู้สงคราม ไม่มีเวลาเป็นผาศุก นางรู้ว่าจะชักชวนทศกรรฐ์ ให้พักผ่อนด้วยประการอย่างอื่น ก็คงไม่ยอม จึงเอากระบวรการสงคราม  คิดทำเปนหมากรุกขึ้น ให้ทศกรรฐ์เล่นแก้รำคาญ  มูลเหตุที่จะเกิดมีหมากรุก พวกชาวอินเดียกล่าวกันมาดังนี้ แต่ชื่อที่เรียกว่าหมากรุก เป็นคำของไทยเราเรียก พวกชาวอินเดียเขาเรียกหมากรุกว่า "จตุรงค์  เพราะเหตุที่คิดเอากระบวรพล ๔ เหล่า ทำเปนตัวหมากรุก คือหัสดีพลช้าง (ได้แก่โคน) ๑ อัศวพลม้า ๑ โรกะพลเรือ ๑ (พลเรือนั้นอธิบายว่าเพราะคิดขึ้นที่เกาะลังกา จึงใช้เรือแทนรถ) ปาทิกะพลราบ (ได้แก่เบี้ย) ๑ มีราชา (คือขุน) เปนจอมพล ตั้งเล่นกันบนแผ่นกระดานอันปันเปนตาราง ๖๔ ช่อง (อย่างกระดานหมากรุกทุกวันนี้)
ประวัติหมากรุกไทย
            เมื่อค้นคว้าจากหนังสือหมากรุกเท่าที่จะค้นหาได้ในหอสมุดแห่งชาติ สรุปได้ว่าตำนานหมากรุกมีที่มาคล้ายคลึงกัน และแทบทุกแห่งจะอ้างอิงจากหนังสือเล่มเดียวกันคือ ตำรากลหมากรุก ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณทั้งสิ้น ที่จะมีผิดแผกไปบ้างบางเล่ม เช่น ผู้ดัดแปลงหมากรุกจากเดิมจัตุรงค์ซึ่งมีผู้เล่นสี่คน มาเป็นหมากรุกที่มีผู้เล่นสองคน แทนที่จะเป็นมหาอำมาตย์สัสสะ ในประเทศอินเดีย บางเล่มเพี้ยนไปเป็นพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ที่กรีก แต่ก็มีรายละเอียดคล้ายคลึงกัน

ประวัติผู้ประดิษฐ์ตัวหมากรุกไทย
            คัดจากบางตอนของบทที่ว่าด้วยตำนานหมากรุก หนังสือหมากรุกไทย ของบริษัทสุรามหาราษฎร จำกัด (มหาชน) พิมพ์ที่โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ไม่แจ้งปีที่พิมพ์  มีข้อความดังนี้
            มีประวัติของหมากรุกไทยกล่าวไว้ว่า ปฐมกษัตริย์จีน ชื่อพระเจ้าฟูฮี  คิดตำราหมากรุกพิชัยยุทธตีเมืองเชนสีของชาวอัลไต หรือชาวไทยในอดีตเมื่อราว 2337 ปี ก่อนพุทธศักราช จนชาวอัลไตได้ถอยร่นไปทางทิศใต้และทางทิศตวันออก และมีการอพยพมาตั้งอาณาจักรอายลาวครั้งแรกเมื่อ 32 ปี ก่อนพุทธศักราช  ต่อมาหลังจากที่อาณาจักรอ้ายลาวแตก ชาวอัลไตก็ถอยร่นข้ามแม่น้ำโขง มาตั้งนครโยนก ประมาณปี พ.ศ.20 มีกษัตริย์ปกครองและได้มีพระพุทธศาสนาแพร่เข้ามา
            เมื่อ พ.ศ. 301 มีการก่อสร้างเจดีย์และวัดซึ่งทำให้บ้านเมืองมีความเป็นอยู่เจริญขึ้นมาจนถึง พ.ศ. 902  ก็ถูกพวกมอญดำยึดเมือง และไล่ให้ชาวเมืองออกไปหาทองมาส่งส่วยซึ่งก็ได้พบทองร่อนเป็นจำนวนมากจนได้ชื่อว่า สุวรรณภูมิ
            ในปี พ.ศ. 918 พระเจ้าพรหมมหาราชได้คิดตำราพิชัยยุทธนา วางแผนหมากรุกระดมผู้คนทั้งเด็กผู้ใหญ่และคนชราทั้งชายหญิง ขึ้นลุกฮือทำการต่อสู้กวาดล้างพวกมอญดำถึง 6 ปี ตั้งแต่เมืองโยนกเชียงแสนจนถึงกำแพงเพชร ได้ประกาศขอบเขตเป็นอาณาจักรใหม่ของเมืองเชียงราย หากจะนับว่าเมืองเชียงรายเป็นชาวไทยก็ควรจะนับว่าราช
อาณาจักรชาวอัลไตหรือชนชาวไทยตั้งเป็นประเทศไทยโยนกตั้งแต่ พ.ศ. 20 โดยพระเจ้าอนุชิตกอบกู้เอกราชครั้งแรกได้สำเร็จ
            เมื่อ พ.ศ. 924 สมัยพระเจ้าพรหมมหาราช ผู้เจริญพระชนมายุเพียง 16 พรรษาเท่านั้น  ได้ทรงใช้เวลา 6 ปี ในการกรำศึกนั้น จึงเป็นที่เชื่อว่า ชนชาวไทยได้เอาหมากรุกจีนซึ่งเดินหมากตามเส้นเข้ามาประเทศไทยด้วย และตัวหมากรุกไทยได้ประดิษฐ์ในสมัยนี้เอง โดยให้เดินตามช่อง ตัวขุนจำลองมาจากที่ประทับของกษัตริย์หรือพระโกศ ตัวโคนจำลองมาจากพระเจดีย์ใหญ่ ตัวเม็ดจำลองมาจากเจดีย์เล็ก ตัวเรือจำลองมาจากป้อมค่ายทหาร เบี้ยจำลองมาจากหมวกทหาร ส่วนม้า นำมาจากหัวม้าในละครโดยตรง จึงไม่แปลกใจเลยที่มีหลักฐานปรากฎว่า ภาคเหนือและภาคอีสานเป็นต้นกำเนิดของหมากรุกไทยมาก่อน
            อนึ่ง มีผู้กล่าวไว้ว่าชาวเปอร์เซียเป็นผู้คิดค้นหมากรุกเล่นในหมู่นักรบ เพื่อคลายอารมณ์กระหายศึกนั้นไม่สามารถกำหนดชี้ชัดได้ เพราะกล่าวไว้ว่าชาวเปอร์เซียเล่นหมากรุก 4 คนและใช้ลูกเต๋าทอดด้วยแล้วยิ่งยากเชื่อถือ เนื่องจากลูกเต๋าเป็นของประดิษฐ์ชาวจีน จึงมีปัญหาที่น่าสงสัยว่าใครเป็นผู้คิดค้นการเล่นกันแน่ แต่เมื่อพิจารณาถึงหลักฐานที่ปรากฏเมื่อสมัยโบราณ 4,000 ปีมาแล้วนั้น ชาวจีนได้รวมตัวเป็นกลุ่มเป็นก้อนแล้ว แต่ในขณะที่ชาวอาหรับยังคงแตกแยกอยู่ ดังนั้นหลักฐานจึงค่อนมาทางจีนมากกว่า
            ประวัติการเล่นหมากรุกไทยสมัยแรกเริ่ม จนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 20-2310 ยังไม่พบหลักฐาน ปรากฏว่ามีการกล่าวอ้างถึงการเล่นหมากรุกไทยในยุคนี้ แต่มีการกล่าวว่า  สมัยพระพุทธเจ้าทรงพระราชสมภพที่เนปาลนั้น มีหมากรุกเล่นกันแล้ว แต่ไม่ได้กล่าวว่าเป็นหมากรุกอย่างใด แต่ที่เนปาลก็อยู่ใกล้จีนและทิเบตมากกว่า หากว่าประเทศไทยมีการเล่นหมากรุกกันมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าพรหมมหาราชนั้นแล้ว อีกประมาณ 876 ปีก็ถึงสมัยสุโขทัย ก็ยังไม่มีการกล่าวถึงไว้ ณ ที่หนึ่งที่ใด แต่ตามพื้นวัดนั้นมีแผ่นสี่เหลี่ยมอยู่เป็นอันมาก ทำให้สามารถสันนิษฐานได้ว่าเป็นกระดานหมากรุก

ประวัติการเล่นหมากรุกไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี พ.ศ. 2310 - 2325
            ในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี เมื่อ พ.ศ. 2318 เดือนอ้าย อะแซหวุ่นกี้ แม่ทัพพม่าวัย 72 ปี ผู้เหิมเกริมอาสานำไพร่พลฝีมือดี 35,000 คน คิดรุกรานผืนแผ่นดินไทย โดยยกพลเข้ามาตั้งค่ายอยู่ที่เมืองสุโขทัย กางตำราพิชัยสงครามเชิงรุก และเริ่มลงมือกวาดต้อนเสบียงอาหารสะสมกักตุนไว้ทันที
            พระเจ้ากรุงธนบุรีพร้อมด้วยพระยาจักรีและพระยาสุรสีห์ ทรงทราบยุทธศาสตร์เชิงรุกครั้งนี้เป็นอย่างดี หากแต่ครั้งนั้นมีรี้พลประมาณ 20,000 คนจึงจำต้องวางแผนพิชัยสงครามในเชิงรุกและรับด้วยหน่อยจู่โจมหลีกเลี่ยงการเข้าปะทะศึกใหญ่ โดยใช้แผนถอยเอาเชิง 2 ชั้น
            กล่าวคือ ให้พระยาจักรีและพระยาสุรสีห์  ตั้งหลักอยู่ที่เมืองพิษณุโลก กวาดต้อนเสบียงและผู้คน ตลอดจนรักษาฐานะเมืองเชียงใหม่ไว้ ด้วยหวังตรึงกำลังอะแซหวุ่นกี้ไว้ให้นานที่สุด ส่วนทัพหลวงนั้น พระเจ้ากรุงธนบุรีกลับเป็นฝ่ายเคลื่อนไหวประกอบกับหน่วยจู่โจม และหน่วยกองเพลิงป่า มุ่งหวังตัดเสบียงและจู่โจม รบกวนทำลายรี้พลพม่าทั้งกลางวันและกลางคืน หลังจากปะทะกันมาถึง 4 เดือน ต่างก็ขัดสนเสบียงอาหาร โดยเฉพาะเมืองพิษณุโลกยังมีผู้หญิงและเด็กมากมาย ครั้นกองเสบียงจากทัพหลวงถูกตัดขาด แผนการขั้นที่ 2  จึงได้เริ่มขึ้นโดยพระยาจักรีออกอุบายจำทำการรบใหญ่ ด้วยการเอาปี่พาทย์ประโคมศึกตามป้อมค่าย พร้อมยิงปืนใหญ่กรุยทางตั้งแต่เช้าจนค่ำ ส่วนพระองค์พร้อมด้วยพระยาสุรสีห์ ได้ทรงนั่งเล่นหมากรุกอยู่บนเชิงกำแพงเมือง ร้องเรียกให้อะแซหวุ่นกี้ขึ้นมาประลองฝีมือสักกระดาน
แผนการถอยทัพเอาชัยจึงสัมฤทธิ์ผลในเวลาสามทุ่มคืนนั้นโดยมีผู้หญิงและเด็กแต่งกายคล้ายทหารพกอาวุธทุกคนถอยไปตั้งทัพชั่วคราว ที่เพชรบูรณ์ แล้ววกลงใต้ไปตามแม่น้ำป่าสักและลพบุรีไปยังแถบพระพุทธบาทสระบุรี  แล้วอ้อมขึ้นไปอุทัยธานี ทำหน้าที่เป็นหน่วยจรยุทธหนักคอยตีดัดหลัง
            ฝ่ายอะแซหวุ่นกี้ หลังจากเสียเวลาติดตามไปตีเมืองเพชรบูรณ์ อย่างไร้ผลและขาดเสบียงเพิ่มเติมในที่สุด ก็ตั้งทัพอยู่กับที่ เป็นเวลาหลายเดือนไม่สามารถหาเป้าหมาย (ขุน) สำหรับโจมตีได้ ตัวเองกลับจะตกเป็นเป้านิ่งเลยตัดสินใจถอยทัพกลับพม่า ระหว่างทางถูกดักตีซ้ำเติมเสียรี้พลมากมาย กลับถึงพม่าอย่างสะบักสบอม
            ตำราพิชัยสงครามกล่าวว่า “ กองทัพเดินด้วยท้อง หมากรุกเดินด้วยสมอง “ นับตั้งแต่นั้นมา พม่ามิกล้ายกกองทัพใหญ่ มารุกรานไทยอีกเลย  ด้วยเกรงพระปัญญาบารมีของพระองค์ยิ่งนัก ยิ่งมาทราบว่าพระองค์ 2 พี่น้องทางโปรดกีฬาหมากรุกด้วยแล้ว โดยเฉพาะกลถอยเอาชนะของพระองค์นั้น เป็นที่เทิดทูนเคารพบูชา ที่พวกเราชาวไทยทุกคนทั้งหลายได้อยู่ยั่งยืนยงมาจนถึงทุกวันนี้

ประวัติการเล่นหมากรุกไทยตั้งแต่ กรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2325-2526
            หลังจากการสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ในปี พ.ศ. 2325 แล้ว ก็ได้ปรากฏว่ามีการเล่นหมากรุกกันมากในหมู่
พระราชวงศ์ ดังจะเห็นมีหมากรุกงาและเขาสัตว์ แสดงความเก่าแก่มานานจนงานั้นผุพังไปก็มี ตัวอ้วนกลมเตี้ยไม่ได้ขนาดก็มี
หมากรุกได้แพร่หลายไปตามหมู่เจ้านาย ไพร่พล หมู่ทหาร ข้าราชบริพาร และยังไปตามวัดวาอารามต่าง ๆ จนในที่สุดเข้าถึงประชาชนโดยทั่วไป  ดังจะเห็นมีตำรากลหอพระสมุดแห่งชาติ และตำราเคล็ดลับทางโคนที่ได้มาจากทางภาคอิสาน
การแข่งขันอย่างไม่เป็นทางการ คงจะมีขึ้นบ้างเป็นการประลองฝีมือ แต่การพนันรายใหญ่มักจะมีในหมู่เศรษฐี ดังเช่นศึกชิงเรือสำปั้น ระหว่างนายโหมดกับเจ้านายพระองค์หนึ่งทางตำหนักเสาชิงช้า นอกจากศึกชิงเรือสำปั้นแล้ว ยังมีศึกผ้าขาวม้า ศึกสามเส้า ตอนงูกินหางและตอนจับงูอีกด้วย

ข้อมูลจาก กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และตำราพิชัยยุทธ น.ต.มณเฑียร รื่นวงษา
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น