วันเสาร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2556

กีฬาแบดมินตัน



badminton_kampung.jpg

ประวัติดั้งเดิมตอนต้น


ประวัติของกีฬาแบดมินตันมีต้นกำเนิดที่ไม่ชัดเจนไม่มีหลักฐานแน่ชัดถึงต้นตอแหล่งกำเนิดของ กีฬาประเภทนี้ มีแต่หลักฐานบางชิ้นที่บ่งชี้ให้ทราบว่า กีฬาแบดมินตันมีเล่นกันประปรายในยุโรป ตอนปลายศตวรรษที่17 จากภาพสีน้ำมันหลายภาพได้ยืนยันว่า กีฬาแบดมินตันเล่นกันแพร่หลายในราชสำนักต่าง ๆ ของยุโรป แม้ว่าจะเรียกกันภายใต้ชื่ออื่น ๆ ก็ตาม

จากหลักฐานของภาพเก่า ๆ ปรากฏว่ามีการเล่นเกมในลักษณะที่คล้ายกับลูกขนไก่ในประเทศจีนช่วงศตวรรตที่ 7 ชาวจีนนำอีแปะที่มีรู แล้วใช้ขนไก่หลายเส้นเสียบผ่านรูอีแปะสองสามอันให้อีแปะ เป็นตัวถ่วงน้ำหนัก ใช้ เชือกมัด ตรงปลายเอาไว้ไม่ให้หลุด เวลาเล่นจะตั้งวง เล่นกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป หรือจะเล่นพร้อมกัน 3-4 คน ใช้เท้าเตะกันไปมาทำนองเดียวกันกับที่คนไทยเล่นตะกร้อล้อมวง


ในศตวรรษที่ 13 ปรากฏหลักฐานว่า ชาวอินเดียนแดงในทวีปอเมริกาใช้ขนไก่หรือขนนก เสียบมัดติดกับก้อนกลม ให้ปลายหางของขนไก่ชี้ไปทางเดียวกันเป็นพู่กระจายออกด้านหลัง เวลาเล่นใช้มือจับก้อนกลมแล้วปาไปยังผู้เล่นอื่น ๆ ให้ช่วยกันจับ ตลอดจนช่วงที่กล่าวมานี้ ยังไม่มีการใช้แร็กเกตหรือ อุปกรณ์อื่น ๆ ตีปะทะลูกขนไก่ แต่ใช้มือ หรืออวัยวะอื่น ๆ แทนจนกระทั่งในศตวรรษที่ 14 ชาวญี่ปุ่นได้มีการใช้ขนไก่ อเมริกาตอนใต้ใช้หญ้าฟางพันขมวดเข้าด้วยกันจนเป็นก้อนกลม แล้วใช้ขนไก่หรือขนนกเสียบผูกติดกับหัวไม้ แล้วใช้ไม้แป้นที่ทำจากไม้กระดาน สลักด้วยลวดลายหรือรูปภาพหวดเจ้าลูกขนไก่ไปมา นับว่าเป็นวิวัฒนาการในรูปลักษณ์ของการเล่นแบดมินตันที่ใกล้เคียงกับยุคปัจจุบันมากที่สุด โดยมีการใช้แร็กเกตตีลูกขนไก่แทนการใช้อวัยวะของร่างกาย


ในศตวรรตที่ 17 พระราชินีคริสตินาแห่งสวีเดนทรงโปรดแบดมินตันเป็นประจำ โดยมีไม้แร็กเกต ที่จำลองมาจาก แร็กเกต เทนนิส เริ่มมีลูกขนไก่หรือขนนกผูกเสียบติดกับหัวไม้ก๊อกและปรากฏมีภาพวาดแสดงให้เห็นมงกุฎราชกุมารเจ้าฟ้าชายเฟรดเดอริคแห่งเดนมาร์คในศตวรรษที่17 เช่นเดียวกันทรงแบดมินตันด้วยแร็กเกต แต่ยุคนั้นเรียกเกมเล่นนี้ว่าแบทเทิลดอร์กับลูกขนไก่และเกมเล่นในลักษณะเดียวกันมีการเล่นในราชสำนักของเยอรมันนีสมัย ศตวรรษที่18กษัตริย์ของปรัสเซียเฟรดเดอริคมหาราช และพระเจ้าหลานเธอเฟรดเดอริควิลเลียมที่สองได้ทรงแบดมินตันอย่างสม่ำเสมอ


ประวัติของกีฬาแบดมินตันมาบันทึกกันแน่นอนและชัดเจนในปี ค.ศ.1870ปรากฏว่ามีเกมการเล่นกีฬาลูกขนไก่เกิดขึ้นที่ เมืองปูนาในประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นเมืองเล็ก ๆ ห่างจากทางใต้ของเมืองบอมเบย์ ประมาณ 50 ไมล์ ต่อมามีนายทหารในประเทศอังกฤษที่ไปประจำการอยู่ที่นั่นนำเกมการตีลูกขนไก่ กลับไปเล่นในเกาะอังกฤษ และเล่นกันอย่าง กว้างขวาง ณ คฤหาสน์“แบดมินตัน” ของ ดยุ๊คแห่งบิวฟอร์ด ที่ตำบล กล๊อสเตอร์เชอร์ ในปี ค.ศ. 1873 เกมกีฬาตีลูกขนไก่จึงถูกเรียกว่า “แบดมินตัน” ตามชื่อของสถานที่นับตั้งแต่นั้นมา


the-than55.gif


ประวัติผู้ริเริ่มกีฬาแบดมินตัน


จอห์น เรน บอลด์วิน ผู้ริเริ่มกีฬาแบดมินตันขึ้นเป็นครั้งแรกโดยจัดการเล่นที่ คฤหาสน์แบดมินตัน(Badminton House)ในปราสาทของท่านดยุ๊ค แห่งบิวฟอร์ดในกลอสเตอร์ชาร์ประเทศอังกฤษบอลด์วินมีความคิดเมื่อใดไม่ปรากฏแน่ชัดแต่ว่ากันว่าประมาณ 60 ปีกว่าของคริสต์ศตวรรษที่แล้วบอลด์วินเกิดเมื่อพ.ศ. 2352ได้รับการศึกษาในมหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ดเขาสนใจกีฬาคริกเกตและละครมาก เขามีความชำนาญในกีฬาหลายชนิด และได้ก่อตั้งสโมสรในกรุงลอนดอน(London)หลายแห่งจนได้ชื่อว่า “ราชาสโมสร” ได้มีนิตยสารฉบับหนึ่งชื่อ “แวนนิตี้แฟร์” ได้กล่าวว่า “เป็นเวลากว่าครึ่งศตวรรษทีเดียวที่ชื่อเสียงของเขายิ่งใหญ่ในวงการสังคมสโมสร ซึ่งทุกคนเชื่อฟังโดยความเคารพ และเขาเก่งไม่มีใครเท่าเทียมได้ในการสร้างข้อบังคับ และผู้ชี้ขาดเกี่ยวกับปัญหาทั่วไปและกำลังอยู่ระหว่างปรับปรุงข้อมูลต่าง ๆ จากลักษณะดังกล่าวนี้เราจะคิดไม่ได้หรือว่า เขาเป็นผู้วางกฎข้อบังคับกีฬาแบดมินตันขึ้นเป็นครั้งแรกสุดถึงแม้ว่าจะไม่ปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษรก็ตาม”แวนิตี้แฟร์บอกให้ทราบว่า“เขาเป็นสหายคนสำคัญของท่านดยุ๊คแห่งบิวฟอร์ด” ชีวิตระยะหลังบอลด์วินได้อาศัยอยู่ใกล้ ๆ กับวิหารทินเทิน แอบเบย์ (Tintern Abbey) ห่างจากคฤหาสน์แบดมินตันไปทางตะวันตกประมาณ 32 กิโลเมตร เมื่ออยู่ที่นั่นเขาได้รับขนานนามว่า ท่านบิดาแห่งทินเทิน ขณะนั้นเขาแก่ลงมาก ความชราก็ไม่ได้ทำให้เขาลดหย่อนงานอันเป็นที่ยอมรับกันเลย


ตะกร้อเป็นจุดเริ่มต้นของแบดมินตันหรือไม่?

จากงานวิจัยของ มอนิก้า คูคเกอร์ ที่รวบรวมเกมเล่นคล้ายกีฬาแบดมินตัน ถ้าการใช้ดินปั้นหรือฟางข้าวโพดผูกมัด แม้กระทั่งการใช้ขนไก่หัวอีแปะ แล้วใช้มือฟาด ตีนเตะ ดีด เดาะลูกด้วยเท้าข้อศอก หรือโขกด้วยศีรษะ ถ้ากิริยาเคลื่อนไหวในการเล่นเกมอยู่ในลักษณะนี้ แล้วถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของต้นตระกูลแบดมินตันแล้ว กีฬาตะกร้อของไทยก็น่าจะเข้าอยู่ในข่ายเดียวกันได้ กีฬาตะกร้อมีเล่นกันอย่างแพร่หลายในกลุ่มประชาชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งไทย มาเลเซีย พม่าอินโดนีเซีย ต่างมีหลักฐานอ้างอิงว่ากีฬาที่ใช้ลูกหวายสานเป็นรูปกลม มีการเล่นในภูมิภาคแถบนี้มานานแล้ว เซปักตะกร้อจึงน่าจะถือว่าเป็นเกมต้นตระกูลกีฬาแบดมินตัน ได้เช่นเดียวกัน


การแพร่หลายของกีฬาแบดมินตันและการก่อตั้งสหพันธ์ฯ

กีฬาแบดมินตันเริ่มแพร่หลายไปยังประเทศต่าง ๆ ทั่วภาคพื้นยุโรป เพราะเป็นเกมกีฬาที่มีส่วนคล้ายคลึงกับเทนนิส แต่สามารถเล่นได้ภายในตัวตึกหรือตามห้องโถงใหญ่ ๆ โดยไม่ทำให้สิ่งของแตกเสียหาย และไม่ต้องกังวลต่อกระแสลมหรือพายุหิมะที่โปรยกระหน่ำมาในช่วงฤดูหนาวชาติมหาอำนาจจักรวรรดินิยมทั้งอังกฤษและที่ดัทช์ ที่อพยพไปสู่ทวีปอเมริกา เอเชียและออสเตรเลียต่างนำเอากีฬาแบดมินตันไปเล่นในประเทศต่าง ๆ ของโลกในช่วงเวลานั้น รวมทั้งประเทศไทยด้วยมีการจัดแข่งขันชิงชนะเลิศแบดมินตันแห่งประเทศอังกฤษ หรือที่เรียกว่า ออล-อิงแลนด์ ตั้งแต่ปีค.ศ. 1889

แบดมินตันได้กลายเป็นเกมกีฬาที่เล่นกันระหว่างชาติโดยมีการยกทีมข้ามประเทศเพื่อแข่งขันระหว่างชาติในทวีปยุโรปในปี พ.ศ.2468 กลุ่มนักกีฬาของประเทศอังกฤษได้แข่งขันกับกลุ่มนักกีฬาแคนาดา ห้าปีหลังจากนั้นพบว่าประเทศแคนาดามีสโมสรสำหรับฝึกแบดมินตันมาตรฐานแทบทุกเมือง

ในปี พ.ศ. 2477 สมาคมแบดมินตันของประเทศอังกฤษเป็นผู้นำในการก่อตั้งสหพันธ์แบดมินตันระหว่างประเทศโดยมีชาติต่าง ๆ อีก 8 ชาติคือ แคนาดา เดนมาร์ก อังกฤษ ฝรั่งเศสไอร์แลนด์ เนเธอแลนด์ นิวซีแลนด์ สก๊อตแลนด์ และเวลล์ โดยมีศูนย์กลางที่กรุงลอนดอน ปัจจุบันมีประเทศที่อยู่ในเครือสมาชิกกว่า60 ประเทศที่ขึ้นต่อสหพันธ์ แบดมินตันระหว่างประเทศ (I.B.F.)สหพันธ์มีบทบาทสำคัญในการกำหนดและควบคุมกติการะเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ของการแข่งขันกีฬาแบดมินตันทั่วโลก

ในปี พ.ศ. 2482 Sir Gaorge Thomas นักแบดมินตันอาวุโส ชาวอังกฤษเป็นผู้มอบถ้วยทองราคา 5,000 ปอนด์ เพื่อมอบเป็นรางวัลให้แก่ผู้ชนะเลิศประเภทชายในการแข่งขันแบดมินตันระหว่างประเทศ ซึ่งสหพันธ์แบดมินตันได้รับไว้และดำเนินการตามประสงค์นี้ แม้ว่าตามทางการจะเรียกว่า การแข่งขันชิงถ้วยชนะเลิศแบดมินตันระหว่างประเทศ แต่นิยมเรียกว่า โธมัสคัพ (ThomasCup) การแข่งขันจะจัดขึ้นทุกๆ 3 ปี โดยสหพันธ์ได้แบ่งเขตการแข่งขันของชาติสมาชิกออกเป็น 4โซน คือ

  1. โซนยุโรป

  2. โซนอเมริกา

  3. โซนเอเชีย

  4. โซนออสเตรเลเซีย (เดิมเรียกว่าโซนออสเตรเลีย)

วิธีการแข่งขันจะแข่งขันชิงชนะเลิศในแต่ละโซนขึ้นก่อน แล้วให้ผู้ชนะเลิศแต่ละโซนไปแข่งขันรอบอินเตอร์โซนเพื่อให้ผู้ชนะเลิศทั้ง 4 โซนไปแข่งขันชิงชนะเลิศกับทีมที่ครอบครองถ้วยโธมัสคัพอยู่ซึ่งได้รับเกียรติไม่ต้องแข่งในรอบแรกและรอบอินเตอร์โซนชุดที่เข้าแข่งขันประกอบด้วยผู้เล่นอย่างน้อย 4 คน การที่จะชนะเลิศนั้นจะตัดสินโดยการรวมผลการแข่งขันของประเภท ชายเดี่ยว 5 คู่ และประเภทชายคู่ 4 คู่ รวม 9 คู่ และใช้เวลาการแข่งขัน 2 วัน การแข่งขันชิงถ้วยโธมัสคัพครั้งแรก จัดให้มีขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2491

ต่อมาในการแข่งขันแบดมินตันโธมัสคัพ ครั้งที่8 ปีพ.ศ. 2512 สหพันธ์ได้เปลี่ยนแปลงวิธีการแข่งขันเล็กน้อยโดยให้ชาติที่ครอบครองถ้วยอยู่นั้นเข้าร่วมแข่งขันรอบอินเตอร์โซนด้วย โดยวิธีการจับสลากแล้วแบ่งออกเป็น 2 สาย ผู้ชนะเลิศแต่ละสายจะได้เข้าแข่งขันชิงชนะเลิศโธมัสคัพรอบสุดท้ายต่อไปสาเหตุที่สหพันธ์เปลี่ยนแปลงการแข่งขันใหม่นี้ เนื่องจากมีบางประเทศที่ชนะเลิศได้ครอบครองถ้วยโธมัสคัพไม่รักษาเกียรติที่ได้รับจากสหพันธ์ไว้โดยพยายามใช้ชั้นเชิงที่ไม่ขาวสะอาดรักษาถ้วยโธมัสคัพไว้ครั้งแล้วครั้งเล่าสหพันธ์จึงต้องเปลี่ยนข้อบังคับให้ชาติที่ครอบครองถ้วยอยู่นั้นแข่งในรอบอินเตอร์โซนด้วย

กีฬาแบดมินตันได้แพร่หลายขึ้นแม้กระทั่ง กลุ่มประเทศสังคมนิยมก็ได้มีการเล่นแบดมินตัน อย่างกว้างขวางและมีการบรรจุแบดมินตันเข้าไว้ในการแข่งขันเอเชียนเกมส์ เซียพเกมส์การแข่งขันกีฬาของประเทศในเครือจักรภพสหราชอาณาจักร รวมทั้งการพิจารณาแบดมินตันเข้าสู่การแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ล้วนแต่เป็นเครื่องยืนยันว่า แบดมินตันได้กลายเป็นกีฬาสากลแล้วอย่างแท้จริง


the-than55.gif

ประวัติสมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทยในพระบรมราชนูปถัมภ์

สมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทยก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2493โดยมีผู้มีใจรักกีฬาแบดมินตันกลุ่มหนึ่ง อาทิหลวงธรรมนูญวุฒิกร (นายประวัติ ปัตตพงศ์) นายยง อุทิศกุล นายณัตินิยมวานิช ได้ร่วมก่อตั้งสมาคมฯ ขึ้น พร้อมกับเรียนเชิญพระยาจินดารักษ์ (นายจำลอง สวัสดิชูโต)มาเป็นนายกสมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทยคนแรก จดทะเบียนเป็นสมาชิกของสหพันธ์แบดมินตัน นานาชาติ ไอบีเอฟ. ในปี พ.ศ. 2494 เป็นสมาชิกอันดับที่ 19 ของโลก และสมาคมฯได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์เมื่อปี พ.ศ. 2498นายกสมาคมฯ ที่ผ่านมาต่อจากพระยาจินดารักษ์ คือ นายเลื่อน บัวสุวรรณ, นายจุรินทร์ ล่ำซำ, พลตำรวจโทต่อศักดิ์ ยมนาค, พลตำรวจเอกประเสริฐ รุจิวงศ์ท่านผู้หญิงวิจิตรา ธนะรัชย์ (อยู่ในตำแหน่งไม่ครบวาระ), นายชำนาญ ยุวบูรณ์, พลตำรวจพิชัย กุลละวณิชย์, พลตำรวจเอกชุมพลโลหะชาละ, พลเอกเทียนชัย สิริสัมพันธ์, นายเพียรศักดิ์ ซอโสตถิกุล, ฯพณฯ กร ทัพพะรังสี, และศาสตราจารย์เจริญ วรรธนะสิน

สมาคมฯ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณที่ยิ่งใหญ่เมื่อ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้ทรงมอบถ้วยพระราชทานที่ออกแบบเป็นพิเศษโดยช่างฝีมือเยี่ยมของประเทศแห่งยุคสมัย ให้แก่สมาคมฯ สำหรับผู้ครองตำแหน่งชนะเลิศแบดมินตันชายเดี่ยวและหญิงเดี่ยวแห่งประเทศไทยในปี พ.ศ. 2497 และถ้วยพระราชทานของทั้งสองพระองค์ยังเป็นถ้วยรางวัลกีฬาที่สวยงามแม้เวลาจะผ่านมาร่วมครึ่งศตวรรษ

สมาคมฯ ในฐานะองค์กรแบดมินตันแห่งชาติ ได้มีการพัฒนาวงการแบดมินตันอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด จนกลายเป็นองค์กรแห่งชาติที่สหพันธ์แบดมินตันนานาชาติ ไอบีเอฟ.ถือว่าเป็น สมาคมฯ ระดับแนวหน้าที่มีศักยภาพในการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันแบดมินตันระดับโลกสำคัญ ๆ ต่างๆ อาทิ การแข่งขันโธมัส-อูเบอร์คัพ รอบชิงชนะเลิศกรังด์ปรีซ์เซอร์โลกและการแข่งขันไทยแลนด์โอเพ่นประจำปี ชิงเงินรางวัลหลายล้านบาทตั้งแต่ปี พ.ศ.2527จนถึงปัจจุบัน

ในปี พ.ศ. 2502 สมาคมฯ เป็นสมาชิกก่อตั้งของ สมาพันธ์แบดมินตันแห่งเอเชีย(Asian Badminton Confederation) และมีบทบาทสำคัญในองกรแห่งนี้มาแต่ต้น ต่อมา ศาสตราจารย์ เจริญวรรธนะสิน ได้รับการเลือกตั้งจากสมาชิกในชาติเอเชียให้ทำหน้าที่เป็นเลขาธิการของสมาพันธ์ฯระหว่างปี ค.ศ. 1987-1990 และรองประธานสมาพันธ์ในปี ค.ศ. 1990-1992 ซึ่งช่วงนี้ได้มีการใช้การตลาดเข้ามาสู่กีฬาแบดมินตันแห่งเอเชีย จนสามารถมีความเป็นปึกแผ่นด้านการเงิน และต่อมาฯพณฯกร ทัพพะรังสี ได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานสมาพันธ์ฯ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1997-2000และประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันแชมป์เปี้ยนแบดมินตันแห่งเอเชียหลายครั้ง

มาตราฐานการเล่นแบดมินตันของประเทศไทย สหพันธ์แบดมินตันนานาชาติจัดให้อยู่ในระดับแนวหน้าของโลก (จาก Statute Bookของสหพันธ์ฯ) เคยเข้ารอบชิงชนะเลิศประเภททีมชายของโลก 2 ครั้ง ในประเภทรายบุคคล นักแบดมินตันไทยหลายรุ่นยังครองตำแหน่งแชมเปี้ยนประเภทบุคคลในประเทศต่าง ๆ นับตั้งแต่การแข่งขันแบดมินตันออล-อิงแลนด์ ซึ่งถือว่าเป็นการแข่งขันชิงแชม เปี้ยนโลกอย่างไม่เป็นทางการ นักแบดมินตันไทยก็เคยเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศทั้งประเภทชายเดี่ยวและประเภทชายคู่ และเคยครองแชมเปี้ยนทั้งชายเดี่ยว หญิงเดี่ยว และชายคู่ในการแข่งขันแบดมินตันระหว่างชาติ และแชมป์เปี้ยนของชาติต่าง ๆ ทั่วโลกในหลายประเทศรวมทั้งมหกรรมกีฬาเอเชียนเกมส์ ซีเกมส์ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา นักแลดมินตันไทยได้ครองเหรียญทองเหรียญเงิน และเหรียญทองแดงแต่ล่ะยุคสมัย

ในปี ค.ศ. 2000 ศาสตราจารย์เจริญ วรรธนะสิน ได้รับการยกย่องเข้าสู่ทำเนียบเกียรติคุณHall of Fame ของสหพันธ์แบดมินตันนานาชาติ ไอบีเอฟ และในปี ค.ศ. 2001 ฯพณฯ กรทัพพะรังสี ได้รับเลือกตั้งจากสมาชิกสหพันธ์ 141 ชาติให้เป็นประธานสหพันธ์แบดมินตันนานาชาติ ไอบีเอฟ นับเป็นเกียรติสูงสุดของวงการแบดมินตันไทยที่ได้รับจากนานาประเทศทั่วโลก

ในปี พ.ศ.2546-2547 ศาสตราจารย์เจริญ วรรธนะสิน นายกสมาคมฯ ได้ริเริ่มนำเอาซอฟท์แวร์การจับฉลากแบ่งสายด้วยระบบคอมพิวเตอร์จากยุโรปมาใช้เป็นแห่งแรก ในประเทศไทยโดยมีนายสุรศักดิ์ ส่งวรกุลพันธ์ กรรมการอำนวยการสมาคมฯ ผู้ชำนาญการคอมพิวเตอร์ ได้ประสานงานพัฒนาจนทำให้ซอฟท์แวร์ใช้เป็นภาษาไทยได้ ทำการจับฉลากแบ่งสายนอกจากจะเที่ยงตรง ยุติธรรม และโปร่งใสแล้ว การจับฉลากแบ่งสายการแข่งขันที่มีนักกีฬามากกว่าหนึ่งพันแมทช์ สามารถกระทำได้ภายในเวลาเพียงครึ่งชั่วโมง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น