วันอาทิตย์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2556

หน้าแรกของเว็บไซต์

หน้าแรกของเว็บไซต์
เรื่อง การกีฬาแห่งประเทศไทย


 


ข้อคิดที่ได้:เมื่อเราเล่นกีฬามากๆทำให้ร่างกายเราแข็งแรงสมบูรณ์


กีฬาสนุกเกอร์

ประวัติและความเป็นมา การแข่งขันสนุกเกอร์อาชีพเก็บสะสมคะแนน
(Thailand Ranking Circuit)


การกีฬาแห่งประเทศไทยได้ให้การสนับสนุนด้านงบประมาณกับ สมาคมกีฬาบิลเลียดแห่งประเทศไทย มาตั้งแต่เริ่มแรก เพื่อดำเนินการจัดการแข่งขันสนุกเกอร์เก็บคะแนนสะสม เพื่อพัฒนาไปสู่ นักกีฬาอาชีพ (Thailand Ranking Circuit) โดยมีวัตถุประสงค์เริ่มต้นเพื่อพัฒนากีฬาสนุกเกอร์ภายในประเทศให้ก้าวไปสู่ ระดับอาชีพ ซึ่งการจะพัฒนาไปสู่การเป็นนักกีฬาอาชีพ จำเป็นต้องกระทำอย่างต่อเนื่อง และการแข่งขันที่มีมาตรฐานระดับสากลก็เป็นวิธีหนึ่ง ที่จะช่วยให้นักกีฬาสามารถสั่งสมประสบการณ์ และฝีมือในการเล่น ยิ่งนักกีฬามีโอกาสเข้าแข่งขันมากเท่าใด ก็จะพัฒนาฝีมือตนเองได้มากขึ้นเท่านั้น การได้แข่งขันกับคู่ต่อสู้ที่มีประสบการณ์และระดับฝีมือที่แตกต่างกันไป การได้เห็นเทคนิคการเล่นของนักกีฬาอื่นๆ การแข่งขันในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างๆ ไปจากสถานที่ฝึกซ้อมตามปกติ ล้วนแล้วแต่มีส่วนช่วยให้นักกีฬานำประสบการณ์ที่ได้รับไปปรับปรุงข้อดี ข้อเสีย เพื่อยกระดับมาตรฐานการเล่นของตนเองให้สูงขึ้นต่อไป นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างรายได้เลี้ยงชีพให้กับนักกีฬาด้วย นอกเหนือจากภาครัฐแล้ว สมาคมฯยังได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชน โดย บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ร่วมเข้ามาให้การสนับสนุนตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมาอีกด้วย
สมาคมกีฬาบิลเลียดแห่งประเทศไทยได้จัดการแข่งขัน สนุกเกอร์อาชีพเก็บสะสมคะแนน มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 โดยในปีแรกจัดการแข่งขันทั้งหมด 4 รายการ มีนักกีฬาเข้าร่วมแข่งขันรายการละกว่า 90 คน ปีที่ 2 สมาคมฯ จึงเพิ่มการแข่งขันเป็น 6 รายการ จบการแข่งขันในปีที่ 3 (พ.ศ. 2547) มีนักกีฬาสนใจเข้าร่วมการแข่งขันกว่า 140 คน ดังนั้น ในปีที่ 4 (พ.ศ. 2548) สมาคมฯ จึงแบ่งการแข่งขันออกเป็น 2 ดิวิชั่น คือ ดิวิชั่น 1 (จัดแข่ง 6 รายการ ซึ่งกำหนดให้รายการที่ 6 เป็น “รายการชิงแชมป์ประเทศไทย” ของทุกปีถัดไป) เป็นการแข่งขันของนักสนุกเกอร์อันดับ 1 - 64 และดิวิชั่น 2 (จัดแข่ง 5 รายการ) เป็นการแข่งขันของนักสนุกเกอร์อันดับ 65 ขึ้นไป เพื่อเปิดโอกาสให้นักสนุกเกอร์รุ่นใหม่ได้ฝึกฝีมือ รวมทั้งสมาคมฯ สามารถเฟ้นหานักกีฬา “ดาวรุ่ง” ที่จะเป็นกำลังสำคัญในทีมสนุกเกอร์ไทยในอนาคต ซึ่งขณะนี้มีผู้สนใจเข้าร่วมการแข่งขันทั้ง 2 ดิวิชั่น รวมเกือบ 300 คน
เพื่อเผยแพร่กีฬาสนุกเกอร์ให้ครอบคลุมทั่วทุกภาค และกระตุ้นให้คนไทยโดยเฉพาะเยาวชนหันมาสนใจดู หรือเล่นกีฬาสนุกเกอร์มากยิ่งขึ้น ในปี 2554 สมาคมฯ จึงได้เพิ่มการแข่งขันฯ ดิวิชั่น 1 จาก 6 เป็น 7 รายการ โดยทุกรายการมีการถ่ายทอดสดรอบรองชนะเลิศทางสยามกีฬาทีวี และรอบชิงชนะเลิศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย รวมทั้ง ได้เชิญนักสนุกเกอร์จากประเทศต่างๆ ทั่วโลก รวมทั้ง นักกีฬาไทยที่ไปแข่งขันสนุกเกอร์อาชีพระดับโลกที่สหราชอาณาจักร เช่น รัชพล ภู่โอบอ้อม (ต๋อง ศิษย์ฉ่อย) มาร่วมแข่งขันในฐานะนักกีฬาไวล์การ์ดในรายการที่ 1 - 6 รายการละ 3 - 4 คน เพื่อให้นักกีฬาไทยได้พัฒนาฝีมือและสั่งสมประสบการณ์ในการแข่งขันกับนัก สนุกเกอร์ต่างชาติอย่างต่อเนื่อง เป็นผลให้ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา นักสนุกเกอร์ไทยประสบความสำเร็จอย่างมากในการแข่งขันระดับนานาชาติ เริ่มจาก อรรถสิทธิ์ มหิทธิ แชมป์โลก ปี 2550, เทพไชยา อุ่นหนู แชมป์โลก ปี 2551, เดชาวัต พุ่มแจ้ง แชมป์โลก ปี 2553, นพพล แสงคำ แชมป์เยาวชนโลก ปี 2552, ธนวัฒน์ ถิรพงศ์ไพบูลย์ แชมป์เยาวชนโลก ปี 2554, อิศรา กะไชยวงษ์ แชมป์เอเซีย ปี 2549 และ 2553, สุพจน์ แสนหล้า แชมป์เอเซีย ปี 2550, รัชพล ภู่โอบอ้อม ปี 2552, ภาสกร สุวรรณวัฒน์ แชมป์เอเซีย ปี 2554

กีฬาหมากรุกไทย

ประวัติหมากรุกไทยและกติกาการเล่นหมากรุก

หมากรุกไทย ต้องอยู่คู่ชาติไทย โปรดร่วมใจอนุรักษ์และฝึกเล่น
หมากรุกไทยขั้นพื้นฐาน
อุปกรณ์ในการเล่นหมากรุกไทย ประกอบด้วย
ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายจะนั่งเผชิญหน้ากัน มีกระดานหมากรุกวางอยู่ตรงกลาง
การตั้งตัวหมากรุกและรูปร่างของตัวหมากรุก แสดงไว้ในภาพ มีข้อสังเกตคือ เม็ดต้องตั้งอยู่เบื้อง
ขวาของขุนแต่ละฝ่าย
 
                        
 
ต้องการกลับไปที่เมนูหลักหมากรุกไทยคลิก              

           การเล่นหมากรุกปรากฎว่ามีมาในประเทศอินเดียช้านานนับด้วยพันปี  พวกชาวอินเดียอ้างว่าหมากรุกเกิดขึ้น เมื่อครั้งพระรามไปล้อมเมืองลังกา นางมณโฑเห็นทศกรรฐ์เดือดร้อนรำคาญ ในการที่ต้องเปนกังวลคิดต่อสู้สงคราม ไม่มีเวลาเป็นผาศุก นางรู้ว่าจะชักชวนทศกรรฐ์ ให้พักผ่อนด้วยประการอย่างอื่น ก็คงไม่ยอม จึงเอากระบวรการสงคราม  คิดทำเปนหมากรุกขึ้น ให้ทศกรรฐ์เล่นแก้รำคาญ  มูลเหตุที่จะเกิดมีหมากรุก พวกชาวอินเดียกล่าวกันมาดังนี้ แต่ชื่อที่เรียกว่าหมากรุก เป็นคำของไทยเราเรียก พวกชาวอินเดียเขาเรียกหมากรุกว่า "จตุรงค์  เพราะเหตุที่คิดเอากระบวรพล ๔ เหล่า ทำเปนตัวหมากรุก คือหัสดีพลช้าง (ได้แก่โคน) ๑ อัศวพลม้า ๑ โรกะพลเรือ ๑ (พลเรือนั้นอธิบายว่าเพราะคิดขึ้นที่เกาะลังกา จึงใช้เรือแทนรถ) ปาทิกะพลราบ (ได้แก่เบี้ย) ๑ มีราชา (คือขุน) เปนจอมพล ตั้งเล่นกันบนแผ่นกระดานอันปันเปนตาราง ๖๔ ช่อง (อย่างกระดานหมากรุกทุกวันนี้)
ประวัติหมากรุกไทย
            เมื่อค้นคว้าจากหนังสือหมากรุกเท่าที่จะค้นหาได้ในหอสมุดแห่งชาติ สรุปได้ว่าตำนานหมากรุกมีที่มาคล้ายคลึงกัน และแทบทุกแห่งจะอ้างอิงจากหนังสือเล่มเดียวกันคือ ตำรากลหมากรุก ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณทั้งสิ้น ที่จะมีผิดแผกไปบ้างบางเล่ม เช่น ผู้ดัดแปลงหมากรุกจากเดิมจัตุรงค์ซึ่งมีผู้เล่นสี่คน มาเป็นหมากรุกที่มีผู้เล่นสองคน แทนที่จะเป็นมหาอำมาตย์สัสสะ ในประเทศอินเดีย บางเล่มเพี้ยนไปเป็นพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ที่กรีก แต่ก็มีรายละเอียดคล้ายคลึงกัน

ประวัติผู้ประดิษฐ์ตัวหมากรุกไทย
            คัดจากบางตอนของบทที่ว่าด้วยตำนานหมากรุก หนังสือหมากรุกไทย ของบริษัทสุรามหาราษฎร จำกัด (มหาชน) พิมพ์ที่โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ไม่แจ้งปีที่พิมพ์  มีข้อความดังนี้
            มีประวัติของหมากรุกไทยกล่าวไว้ว่า ปฐมกษัตริย์จีน ชื่อพระเจ้าฟูฮี  คิดตำราหมากรุกพิชัยยุทธตีเมืองเชนสีของชาวอัลไต หรือชาวไทยในอดีตเมื่อราว 2337 ปี ก่อนพุทธศักราช จนชาวอัลไตได้ถอยร่นไปทางทิศใต้และทางทิศตวันออก และมีการอพยพมาตั้งอาณาจักรอายลาวครั้งแรกเมื่อ 32 ปี ก่อนพุทธศักราช  ต่อมาหลังจากที่อาณาจักรอ้ายลาวแตก ชาวอัลไตก็ถอยร่นข้ามแม่น้ำโขง มาตั้งนครโยนก ประมาณปี พ.ศ.20 มีกษัตริย์ปกครองและได้มีพระพุทธศาสนาแพร่เข้ามา
            เมื่อ พ.ศ. 301 มีการก่อสร้างเจดีย์และวัดซึ่งทำให้บ้านเมืองมีความเป็นอยู่เจริญขึ้นมาจนถึง พ.ศ. 902  ก็ถูกพวกมอญดำยึดเมือง และไล่ให้ชาวเมืองออกไปหาทองมาส่งส่วยซึ่งก็ได้พบทองร่อนเป็นจำนวนมากจนได้ชื่อว่า สุวรรณภูมิ
            ในปี พ.ศ. 918 พระเจ้าพรหมมหาราชได้คิดตำราพิชัยยุทธนา วางแผนหมากรุกระดมผู้คนทั้งเด็กผู้ใหญ่และคนชราทั้งชายหญิง ขึ้นลุกฮือทำการต่อสู้กวาดล้างพวกมอญดำถึง 6 ปี ตั้งแต่เมืองโยนกเชียงแสนจนถึงกำแพงเพชร ได้ประกาศขอบเขตเป็นอาณาจักรใหม่ของเมืองเชียงราย หากจะนับว่าเมืองเชียงรายเป็นชาวไทยก็ควรจะนับว่าราช
อาณาจักรชาวอัลไตหรือชนชาวไทยตั้งเป็นประเทศไทยโยนกตั้งแต่ พ.ศ. 20 โดยพระเจ้าอนุชิตกอบกู้เอกราชครั้งแรกได้สำเร็จ
            เมื่อ พ.ศ. 924 สมัยพระเจ้าพรหมมหาราช ผู้เจริญพระชนมายุเพียง 16 พรรษาเท่านั้น  ได้ทรงใช้เวลา 6 ปี ในการกรำศึกนั้น จึงเป็นที่เชื่อว่า ชนชาวไทยได้เอาหมากรุกจีนซึ่งเดินหมากตามเส้นเข้ามาประเทศไทยด้วย และตัวหมากรุกไทยได้ประดิษฐ์ในสมัยนี้เอง โดยให้เดินตามช่อง ตัวขุนจำลองมาจากที่ประทับของกษัตริย์หรือพระโกศ ตัวโคนจำลองมาจากพระเจดีย์ใหญ่ ตัวเม็ดจำลองมาจากเจดีย์เล็ก ตัวเรือจำลองมาจากป้อมค่ายทหาร เบี้ยจำลองมาจากหมวกทหาร ส่วนม้า นำมาจากหัวม้าในละครโดยตรง จึงไม่แปลกใจเลยที่มีหลักฐานปรากฎว่า ภาคเหนือและภาคอีสานเป็นต้นกำเนิดของหมากรุกไทยมาก่อน
            อนึ่ง มีผู้กล่าวไว้ว่าชาวเปอร์เซียเป็นผู้คิดค้นหมากรุกเล่นในหมู่นักรบ เพื่อคลายอารมณ์กระหายศึกนั้นไม่สามารถกำหนดชี้ชัดได้ เพราะกล่าวไว้ว่าชาวเปอร์เซียเล่นหมากรุก 4 คนและใช้ลูกเต๋าทอดด้วยแล้วยิ่งยากเชื่อถือ เนื่องจากลูกเต๋าเป็นของประดิษฐ์ชาวจีน จึงมีปัญหาที่น่าสงสัยว่าใครเป็นผู้คิดค้นการเล่นกันแน่ แต่เมื่อพิจารณาถึงหลักฐานที่ปรากฏเมื่อสมัยโบราณ 4,000 ปีมาแล้วนั้น ชาวจีนได้รวมตัวเป็นกลุ่มเป็นก้อนแล้ว แต่ในขณะที่ชาวอาหรับยังคงแตกแยกอยู่ ดังนั้นหลักฐานจึงค่อนมาทางจีนมากกว่า
            ประวัติการเล่นหมากรุกไทยสมัยแรกเริ่ม จนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 20-2310 ยังไม่พบหลักฐาน ปรากฏว่ามีการกล่าวอ้างถึงการเล่นหมากรุกไทยในยุคนี้ แต่มีการกล่าวว่า  สมัยพระพุทธเจ้าทรงพระราชสมภพที่เนปาลนั้น มีหมากรุกเล่นกันแล้ว แต่ไม่ได้กล่าวว่าเป็นหมากรุกอย่างใด แต่ที่เนปาลก็อยู่ใกล้จีนและทิเบตมากกว่า หากว่าประเทศไทยมีการเล่นหมากรุกกันมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าพรหมมหาราชนั้นแล้ว อีกประมาณ 876 ปีก็ถึงสมัยสุโขทัย ก็ยังไม่มีการกล่าวถึงไว้ ณ ที่หนึ่งที่ใด แต่ตามพื้นวัดนั้นมีแผ่นสี่เหลี่ยมอยู่เป็นอันมาก ทำให้สามารถสันนิษฐานได้ว่าเป็นกระดานหมากรุก

ประวัติการเล่นหมากรุกไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี พ.ศ. 2310 - 2325
            ในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี เมื่อ พ.ศ. 2318 เดือนอ้าย อะแซหวุ่นกี้ แม่ทัพพม่าวัย 72 ปี ผู้เหิมเกริมอาสานำไพร่พลฝีมือดี 35,000 คน คิดรุกรานผืนแผ่นดินไทย โดยยกพลเข้ามาตั้งค่ายอยู่ที่เมืองสุโขทัย กางตำราพิชัยสงครามเชิงรุก และเริ่มลงมือกวาดต้อนเสบียงอาหารสะสมกักตุนไว้ทันที
            พระเจ้ากรุงธนบุรีพร้อมด้วยพระยาจักรีและพระยาสุรสีห์ ทรงทราบยุทธศาสตร์เชิงรุกครั้งนี้เป็นอย่างดี หากแต่ครั้งนั้นมีรี้พลประมาณ 20,000 คนจึงจำต้องวางแผนพิชัยสงครามในเชิงรุกและรับด้วยหน่อยจู่โจมหลีกเลี่ยงการเข้าปะทะศึกใหญ่ โดยใช้แผนถอยเอาเชิง 2 ชั้น
            กล่าวคือ ให้พระยาจักรีและพระยาสุรสีห์  ตั้งหลักอยู่ที่เมืองพิษณุโลก กวาดต้อนเสบียงและผู้คน ตลอดจนรักษาฐานะเมืองเชียงใหม่ไว้ ด้วยหวังตรึงกำลังอะแซหวุ่นกี้ไว้ให้นานที่สุด ส่วนทัพหลวงนั้น พระเจ้ากรุงธนบุรีกลับเป็นฝ่ายเคลื่อนไหวประกอบกับหน่วยจู่โจม และหน่วยกองเพลิงป่า มุ่งหวังตัดเสบียงและจู่โจม รบกวนทำลายรี้พลพม่าทั้งกลางวันและกลางคืน หลังจากปะทะกันมาถึง 4 เดือน ต่างก็ขัดสนเสบียงอาหาร โดยเฉพาะเมืองพิษณุโลกยังมีผู้หญิงและเด็กมากมาย ครั้นกองเสบียงจากทัพหลวงถูกตัดขาด แผนการขั้นที่ 2  จึงได้เริ่มขึ้นโดยพระยาจักรีออกอุบายจำทำการรบใหญ่ ด้วยการเอาปี่พาทย์ประโคมศึกตามป้อมค่าย พร้อมยิงปืนใหญ่กรุยทางตั้งแต่เช้าจนค่ำ ส่วนพระองค์พร้อมด้วยพระยาสุรสีห์ ได้ทรงนั่งเล่นหมากรุกอยู่บนเชิงกำแพงเมือง ร้องเรียกให้อะแซหวุ่นกี้ขึ้นมาประลองฝีมือสักกระดาน
แผนการถอยทัพเอาชัยจึงสัมฤทธิ์ผลในเวลาสามทุ่มคืนนั้นโดยมีผู้หญิงและเด็กแต่งกายคล้ายทหารพกอาวุธทุกคนถอยไปตั้งทัพชั่วคราว ที่เพชรบูรณ์ แล้ววกลงใต้ไปตามแม่น้ำป่าสักและลพบุรีไปยังแถบพระพุทธบาทสระบุรี  แล้วอ้อมขึ้นไปอุทัยธานี ทำหน้าที่เป็นหน่วยจรยุทธหนักคอยตีดัดหลัง
            ฝ่ายอะแซหวุ่นกี้ หลังจากเสียเวลาติดตามไปตีเมืองเพชรบูรณ์ อย่างไร้ผลและขาดเสบียงเพิ่มเติมในที่สุด ก็ตั้งทัพอยู่กับที่ เป็นเวลาหลายเดือนไม่สามารถหาเป้าหมาย (ขุน) สำหรับโจมตีได้ ตัวเองกลับจะตกเป็นเป้านิ่งเลยตัดสินใจถอยทัพกลับพม่า ระหว่างทางถูกดักตีซ้ำเติมเสียรี้พลมากมาย กลับถึงพม่าอย่างสะบักสบอม
            ตำราพิชัยสงครามกล่าวว่า “ กองทัพเดินด้วยท้อง หมากรุกเดินด้วยสมอง “ นับตั้งแต่นั้นมา พม่ามิกล้ายกกองทัพใหญ่ มารุกรานไทยอีกเลย  ด้วยเกรงพระปัญญาบารมีของพระองค์ยิ่งนัก ยิ่งมาทราบว่าพระองค์ 2 พี่น้องทางโปรดกีฬาหมากรุกด้วยแล้ว โดยเฉพาะกลถอยเอาชนะของพระองค์นั้น เป็นที่เทิดทูนเคารพบูชา ที่พวกเราชาวไทยทุกคนทั้งหลายได้อยู่ยั่งยืนยงมาจนถึงทุกวันนี้

ประวัติการเล่นหมากรุกไทยตั้งแต่ กรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2325-2526
            หลังจากการสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ในปี พ.ศ. 2325 แล้ว ก็ได้ปรากฏว่ามีการเล่นหมากรุกกันมากในหมู่
พระราชวงศ์ ดังจะเห็นมีหมากรุกงาและเขาสัตว์ แสดงความเก่าแก่มานานจนงานั้นผุพังไปก็มี ตัวอ้วนกลมเตี้ยไม่ได้ขนาดก็มี
หมากรุกได้แพร่หลายไปตามหมู่เจ้านาย ไพร่พล หมู่ทหาร ข้าราชบริพาร และยังไปตามวัดวาอารามต่าง ๆ จนในที่สุดเข้าถึงประชาชนโดยทั่วไป  ดังจะเห็นมีตำรากลหอพระสมุดแห่งชาติ และตำราเคล็ดลับทางโคนที่ได้มาจากทางภาคอิสาน
การแข่งขันอย่างไม่เป็นทางการ คงจะมีขึ้นบ้างเป็นการประลองฝีมือ แต่การพนันรายใหญ่มักจะมีในหมู่เศรษฐี ดังเช่นศึกชิงเรือสำปั้น ระหว่างนายโหมดกับเจ้านายพระองค์หนึ่งทางตำหนักเสาชิงช้า นอกจากศึกชิงเรือสำปั้นแล้ว ยังมีศึกผ้าขาวม้า ศึกสามเส้า ตอนงูกินหางและตอนจับงูอีกด้วย

ข้อมูลจาก กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และตำราพิชัยยุทธ น.ต.มณเฑียร รื่นวงษา
 

กีฬากอล์ฟ



 กีฬากอล์ฟ


ประวัติกีฬากอล์ฟ
     กีฬา กอล์ฟมีประวัติที่ยาวนานและยังหาข้อยุติที่แท้จริงไม่ได้เช่นเดียวกับอีก หลายๆ ชนิดกีฬา ในช่วงแรกๆ เราเชื่อว่ากอล์ฟเล่นและได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศสกอตแลนด์ ก่อนที่การขยายความนิยมไปที่ประเทศอังกฤษ ประเทศในยุโรป และอเมริกาในที่สุดโดยเฉพาะที่เมือง St Andrew ประเทศสกอตแลนด์ที่มองว่าเป็นสโมสรกอล์ฟที่มีความเก่าแก่ที่สุด
     ประ เทศเนเธอแลนด์ เป็นประเทศหนึ่งที่มีหลักฐานเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ของกีฬากอล์ฟ เมื่อมีหลักฐานปรากฏว่ามีการแข่งขันกีฬาที่มีลักษณะคล้ายกีฬากอล์ฟ ที่เมือง Loenen aan de Vecht ในปี ค.ศ. 1297 โดยที่กติกาคือใครที่สามารถตีลูกกอล์ฟที่ทำด้วยหนังหุ้มลงหลุมโดยใช้จำนวน ครั้งน้อยที่สุดคือผู้ชนะการแข่งขัน
ในปี ค.ศ. 2005 ประวัติศาสตร์ของกีฬากอล์ฟได้รับการบอกกล่าวที่แตกต่างไปจากที่ผ่านๆมา เมื่อศาสตราจารย์ Ling Hongling แห่งมหาวิทยาลัย Lanzhou ได้แสดงหลักฐานยืนยันที่เก่าแก่กว่าที่เคยพบกันมา คือ การพบการแข่งขันในลักษณะที่คล้ายกับกีฬากอล์ฟในปัจจุบันย้อนหลังไปถึง ราชวงศ์ถัง ตอนใต้ 500 ปีก่อนการกล่าวถึงการเล่นกอล์ฟในสกอตแลนด์มาก ส่วนการเผยแพร่การเล่นนี้สู่สกอตแลนด์และยุโรปเกิดจาการเผยแพร่ของชาวมองโกล เลีย ที่เดินทางเข้าสู่ยุโรปในช่วงของประวัติศาสตร์ยุคกลาง (Middle Ages)
     การ เล่นกอล์ฟ ในแนวทางปัจจุบันประเทศสกอตแลนด์ดุเหมือนจะได้รับการยอมรับในการเป็นผู้ริ เริ่มและมีประวัติด้านกติกาและการแข่งขันที่มีการบันทึกไว้ชัดเจนที่สุด อย่างไรก็ตามการเล่นกอล์ฟในช่วงต้นๆ มีอุปสรรคอยู่บ้างโดยเฉพาะเมื่อมีการถูกห้ามการเล่นซึ่งมีเหตุจาการที่การ เล่นกอล์ฟส่งผลกระทบต่อการฝึกทางทหารในช่วง ปี ค.ศ. 1457 มีการออกกฎหมายที่ห้ามการเล่นกอล์ฟเป็นระยะๆ จนกระทั่งในช่วงปี ค.ศ. 1672 ที่การเล่นกอล์ฟได้รับการยอมรับและสามารถเล่นได้ตามปกติ
ประวัติศาสตร์การเล่นกอล์ฟมีปรากฏมากมายในประเทศสกอตแลนด์และอังกฤษที่ กษัตริย์และขุนนางระดับสูงเล่นกอล์ฟ ในปี ค.ศ. 1880 มีสนามกอล์ฟในประเทศอังกฤษ 12 สนาม และขยับเป็น 50 สนามในปี ค.ศ. 1887 และเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเป็น 1,000 สนาม ในปี ค.ศ. 1914 ในช่วงทศวรรษ 1980 ความนิยมในกีฬากอล์ฟได้แพร่กระจายไปในประเทศอื่นๆ ที่อังกฤษเข้าไปยึดด้วย เช่น ประเทศ South Africa ประเทศ Singapore ประเทศ New Zealand ประเทศ Canada ประเทศ Australia และอื่นๆ
     อย่าง ไรก็ตามประเทศที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อกีฬากอล์ฟในปัจจุบัน คือ ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ. 1779 ประเทศสหรัฐอเมริกามีการโฆษณาเกี่ยวกับการเล่นกอล์ฟในหนังสือพิมพ์กรุง นิวยอร์ค (Royal Gazette of New York) และเอกสารการประชุมประจำปีเกี่ยวกับการเล่นกอล์ฟที่รัฐ Georgia ในปี ค.ศ. 1894 เป็นปีที่สโมสรกอล์ฟในประเทศสหรัฐอเมริการวมตัวกันจัดตั้งสมาคมกอล์ฟแห่ง สหรัฐอเมริกา (US Golf Association: USGA) ในปี ค.ศ. 1910 มีสนามกอล์ฟจำนวน 267 สนามและมีการเพิ่มสนามกอล์ฟขึ้นอย่างรวดเร็ว ในปี ค.ศ. 1980 มีกว่า 5,000 สนาม ในขณะที่ปัจจุบันประเทศสหรัฐอเมริกามีสนามกอล์ฟมากกว่า 9,700 สนามทั่วประเทศ สหรัฐอเมริกาจึงนับว่าเป็นประเทศมหาอำนาจในกีฬากอล์ฟมากที่สุดในโลกใน ปัจจุบัน มีนักกีฬาอาชีพมากมาย โดยในการแข่งขันประเทศทีมของโลกระหว่างอเมริกาและยุโรป นักกีฬาของประเทศสหรัฐอเมริกาประเทศเดียวสามารถแข่งขันกับประเทศในยุโรปที่ รวมกันได้ทุกปี
     การเล่นกอล์ฟใน ประเทศไทยมีประวัติศาสตร์ที่สั้นกว่าของยุโรป จีนและอเมริกามาก การเล่นกอล์ฟในช่วงแรกมีความคล้ายกันที่เป็นการเล่นในส่วนของกษัตริย์ ราชวงศ์และข้าราชบริพาร โดยเริ่มในช่วงรัชสมัยของพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยสนามกอล์ฟแรกนั้นมีที่หัวหิน กอล์ฟมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและได้รับการพัฒนาให้มีมาตรฐานเดียวกับนานาชาติ โดยมีการออกแบบโดยนักกอล์ฟระดับโลกเพื่อให้การเล่นกอล์ฟได้มาตรฐานและดึงดูด นักกอล์ฟและผู้สนใจในกีฬากอล์ฟมีสนามที่ดีและมากขึ้นในประเทศไทย รวมทั้งเพื่อรองรับนักกอล์ฟจากต่างประเทศที่มาประเทศไทยเพื่อการเล่นกอล์ฟ ด้วย
     ปัจจุบันมีสนามกอล์ฟกว่า 200 สนามที่กระจายทั่วประเทศ โดยเฉพาะที่จังหวัดชลบุรี เป็นจังหวัดที่มีสนามกอล์ฟมากที่สุดในประเทศไทย และมีนักกีฬาที่มีความสามารถในระดับโลก และสร้างรายได้ให้กับตัวเองมหาศาล เช่น ธงชัย ใจดี ประหยัด มากแสง หรือถาวร วิรัตน์จันทร์ ขณะเดียวการสนามและการจัดการเกี่ยวกับกอล์ฟก็นับว่ามีความสำเร็จอย่างมาก สำหรับประเทศไทยในการพัฒนากอล์ฟที่เป็นทั้งกีฬา การพักผ่อนหย่อนใจและการท่องเที่ยวที่ทำประโยชน์ทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ อย่างดี มีการบริหารจัดการ และจัดการเรียนการสอน
     กอล์ฟ จึงเป็นกีฬาที่ดี มีประโยชน์ทั้งผู้เล่น และเศรษฐกิจของประเทศที่สำคัญและควรได้รับการสนับสนุนต่อไป
 

กีฬาว่ายน้ำ

ประวัติกีฬาว่ายน้ำ
กีฬาว่ายน้ำ (Swimming) ถือ เป็นศิลปะอย่างหนึ่ง เพราะมนุษย์สามารถว่ายน้ำได้ตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมนุษย์ที่ตั้งภูมิลำเนาอยู่ตามชายทะเล แม่น้ำ ลำคลอง และที่ราบลุ่มต่างๆ เช่น พวกเอสซีเรีย อียิปต์ กรีก และโรมัน มีการฝึกหัดว่ายน้ำกันมาตั้งแต่ก่อนคริสตกาล เพราะมีผู้พบภาพวาดเกี่ยวกับการว่ายน้ำในถ้ำบนภูเขาแถบทะเลทรายลิบยาน
            การ ว่ายน้ำในสมัยนั้นเพียงเพื่อให้สามารถว่ายน้ำข้ามไปยังฝั่งตรงข้ามได้ หรือเมื่อเกิดอุทกภัยน้ำท่วมป่าและที่อยู่อาศัยก็สามารถพาตัวไปในที่น้ำท่วม ไม่ถึงได้อย่างปลอดภัย  การว่ายน้ำได้มีวิวัฒนาการมาตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน แต่มีหลักฐานบันทึกไว้ไม่นานนัก Ralph Thomas ให้ชื่อแบบว่ายน้ำที่มนุษย์ใช้ว่ายกันมาตั้งแต่เดิมว่า ฮิวแมน สโตร์ก (Human stroke) นอก จากนี้พวกชนชาติสลาฟและพวกสแกนดิเนเวียรู้จักการว่ายน้ำอีกแบบหนึ่ง โดยใช้เท้าเคลื่อนไหวในน้ำคล้ายกบว่ายน้ำ หรือที่เรียกว่าฟล็อกคิก (Flogkick) แต่วิธีการเคลื่อนไหวของท่าแบบนี้จะทำให้ว่ายน้ำได้ไม่เร็วนัก
            การแข่งขันว่ายน้ำครั้งแรกได้จัดขึ้น วูลวิช บาร์ท (Woolwich Baths) ใกล้กับกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. 2416 การแข่งขันครั้งนั้นมีการแข่งขันเพียงแบบเดียวคือ แบบฟรีสไตล์ (Free style) โดยผู้ว่ายน้ำแต่ละคนจะว่ายแบบใดก็ได้ ในการแข่งขันครั้งนี้ J. Arhur Trudgen เป็น ผู้ได้รับชัยชนะ โดยเขาได้ว่ายแบบเดียวกับพวกอินเดียแดงในอเมริกาใต้ คือแบบยกแขนกลับเหนือน้ำ ซึ่งเป็นวิธีการว่ายน้ำของเขาได้กลายเป็นแบบที่ได้รับความนิยมมากจนได้ชื่อ ว่า ท่าว่ายน้ำแบบทรัดเจน (Trudgen stroke)  ประชาชนชาวโลกได้ให้ความสนใจเกี่ยวกับการว่ายน้ำเพิ่มมากขึ้น เมื่อเรือเอก Mathew Webb ได้ว่ายน้ำข้ามช่องแคบอังกฤษจากเมืองโดเวอร์ คาเลียส เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2418 โดยใช้เวลาทั้งสิ้น 21 ชั่วโมง 45 นาที ด้วยการว่ายแบบกบ (Breast stroke) ข่าวความสำเร็จอันนี้ได้สร้างความพิศวงและตื่นเต้นไปทั่วโลก ต่อมาเด็กชาวอเมริกันชื่อ Gertude Ederle ได้ว่ายน้ำข้ามช่องแคบอังกฤษ เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2469 ทำเวลาได้ 14 ชั่วโมง 31 นาที โดยว่ายน้ำแบบท่าวัดวา (Crawa stroke) จะเห็นได้ว่าในชั่วระยะเวลา 50 ปี
การ ว่ายน้ำได้วิวัฒนาการก้าวหน้าขึ้นเป็นอย่างมาก ถ้าหากได้พิจารณาถึงเวลาของคนทั้งสองที่ทำได้ แบบและวิธีว่ายน้ำได้รับการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เกิดความเร็วขึ้น เสมอ ในบรรดานักว่ายน้ำทั่วไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวแลนเคเชียร ์และออสเตรเลีย ได้ดัดแปลงวิธีว่ายน้ำแบบทรัดเจน ซึ่งก็ได้รับผลดีในเวลาต่อมา กล่าวคือ Barney Kieran ชาวออสเตรเลียและ T. S. Battersby ชาวอังกฤษ ได้ว่ายน้ำแบบที่ปรับปรุงมาจากทรัดเจน เป็นผู้ครองตำแหน่งชนะเลิศของโลกเมื่อปี พ.ศ. 2449-2415 Alex Wickham ชาวเกาะโซโลมอนเป็นผู้ริเริ่มการว่ายน้ำแบบท่าวัดวาและเป็นผู้ครองตำแหน่งชนะเลิศของโลก ระยะทาง 50 หลา เขาได้กล่าวว่าเด็กโซโลมอนทุกคนว่ายน้ำแบบนี้ทั้งนั้น ต่อมาท่าว่ายน้ำแบบวัดวาจึงเป็นที่นิยมฝึกหัดกันโดยทั่วไป กีฬาว่ายน้ำได้จัดเข้าไว้ในการแข่งขันโอลิมปิกเมื่อปี พ.ศ. 2436 และ ได้จัดการแข่งขันมาจนถึงปัจจุบัน ด้วยเหตุดังกล่าวกีฬาว่ายน้ำก็ได้รับความสนใจจากคนทั่วไป และถือเป็นส่วนหนึ่งของการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก มีการพัฒนากีฬาว่ายน้ำให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้นเป็นลำดับ โดยมีผู้คิดแบบและประเภทของการว่ายน้ำเพื่อความสนุกสนาน และความตื่นเต้นในการแข่งขันมากขึ้น


ประวัติว่ายน้ำในประเทศไทย
 สมาคมว่ายน้ำสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ได้จดทะเบียนสมาคมต่อกรมตำรวจเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2502 ผู้ ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมว่ายน้ำฯคนแรกคือ พลเรือโท สวัสดิ์ ภูติอนันต์ ร.น. ในปีเดียวกันนี้สมาคมว่ายน้ำฯได้เข้าเป็นสมาชิกของสหพันธ์ว่ายน้ำนานาชาติ
ในปี พ.ศ. 2504 รัฐบาลได้อนุมัติเงินงบประมาณจำนวน 10 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างสระว่ายน้ำมาตรฐานขนาดความยาว 50 เมตร กว้าง 25 เมตร พร้อมทั้งที่กระโดดน้ำ และอัฒจันทร์คนดูจำนวน 5,000 ที่นั่ง ณ บริเวณสนามกีฬาแห่งชาติ และเปิดใช้ในการแข่งขัน เมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2506 เรียก ว่า สระว่ายน้ำโอลิมปิก (ปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อเป็นสระว่ายน้ำวิสุทธารามย์) และสมาคมว่ายน้ำฯได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกของสหพันธ์ว่ายน้ำแห่งเอเชียในปี พ.ศ. 2509
ปัจจุบัน กีฬาว่ายน้ำได้รับความสนใจจากประชาชนโดยทั่วไปอย่างกว้างขาวง ประกอบกับกระทรวงศึกษาธิการได้บรรจุกีฬาว่ายน้ำไว้ในหลักสูตรเกือบทุกระดับ โดยในปัจจุบันมีจำนวนสโมสรที่เป็นสมาชิกของสมาคมว่ายน้ำสมัครเล่นแห่งประเทศ ไทยถึง 56 สโมสร

กีฬาวอลเลย์บอล


กีฬาวอลเลย์บอล




ประวัติความเป็นมา กีฬาวอลเลย์บอล

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

          กีฬาวอลเลย์บอลเป็นอีกหนึ่งชนิดกีฬายอดนิยม ที่มีการแข่งขันระดับชาติ และนิยมเล่นกันอย่างแพร่หลาย จนถูกรวมเข้ากับหลักสูตรการเรียนการสอนชั้นมัธยมศึกษาในหลายโรงเรียน ซึ่งหลายคนก็คงอยากรู้จักกับกีฬาวอลเลย์บอลให้มากขึ้นเพื่อความสนุกในการชม และเชียร์กีฬาชนิดนี้ใช่ไหมเอ่ย ? วันนี้กระปุกดอทคอมมีข้อมูลของกีฬาวอลเลย์บอลมาฝากกันจ้า ..

ประวัติวอลเลย์บอล

          กีฬาวอลเลย์บอล (Volleyball) นั้น ถือกำเนิดขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ.1895 (พ.ศ.2438) โดย นายวิลเลียม จี. มอร์แกน (William G. Morgan) ผู้อำนวยการฝ่ายพลศึกษาของสมาคม Y.M.C.A. (Young Men's Christian Association) ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ต้องการมีกีฬาสำหรับเล่นในช่วงฤดูหนาวแทนกีฬากลางแจ้ง เพื่อออกกำลังกายและพักผ่อนหย่อนใจยามหิมะตก

          โดย นายวิลเลียม จี. มอร์แกน เกิดไอเดียในการพัฒนากีฬาวอลเลย์บอลขึ้น ขณะที่เขากำลังนั่งดูเทนนิส และเลือกนำเอาตาข่ายกลางสนามของกีฬาเทนนิส มาเป็นส่วนประกอบในกีฬาที่เขาคิดค้น และเลือกใช้ยางในของลูกบาสเก็ตบอล มาเป็นลูกบอลที่ใช้ตีโต้ตอบกันไปมา แต่ยางในของลูกบาสเก็ตบอลกลับให้น้ำหนักเบาจนเกินไป จึงเปลี่ยนไปใช้ลูกบาสเก็ตบอลแทน ซึ่งลูกบาสเก็ตบอลก็มีขนาดใหญ่และน้ำหนักมากจนเกินไปอีก เขาจึงสั่งทำลูกบอลขึ้นมาใหม่โดยเฉพาะ ในขนาดเส้นรอบวง 25-27 นิ้ว และกำหนดน้ำหนักไว้ที่ 8-12 ออนซ์ จากนั้นจึงตั้งชื่อกีฬาชนิดนี้ว่า มินโทเนตต์ (Mintonette)

          ต่อมา ชื่อของ มินโทเนตต์ (Mintonette) ถูกเปลี่ยนเป็น วอลเลย์บอล (Volleyball) หลังได้รับคำแนะนำจาก ศาสตราจารย์ อัลเฟรด ที เฮลสเตด (Professor Alfred T. Helstead) ในงานประชุมสัมมนาผู้นำทางพลศึกษาที่วิทยาลัยสปริงฟิลด์ (Spring-field College) เมื่อปี ค.ศ.1896 (พ.ศ.2439) และกลายเป็นกีฬายอดนิยมในหมู่ประชาชนชาวอเมริกัน จนแพร่หลายออกไปทั่วโลก รวมทั้งมีการปรับปรุงและพัฒนาอยู่เป็นระยะ

กติกาวอลเลย์บอล

สนามแข่งขัน

          -  จะต้องเป็นพื้นไม้หรือพื้นปูนที่มีลักษณะเรียบ ไม่มีสิ่งกีดขวาง

          -   เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 9 เมตร ยาว 12 เมตร ความสูงจากพื้นประมาณ 7 เมตร มีบริเวณโดยรอบห่างจากสนามประมาณ 3 เมตร

          -  แต่หากเป็นสนามมาตรฐานในระดับนานาชาติ กำหนดให้รอบสนามห่างจากสนามประมาณ 5 เมตร ด้านหลังห่าง 8 เมตร และมีความสูง 12.5 เมตร

          -  เส้นรอบสนาม (Boundary lines) ทุกเส้นจะต้องกว้าง 5 เซนติเมตร เป็นสีอ่อนตัดกับพื้นสนาม มองเห็นได้ชัดเจน

          -  เส้นแบ่งเขตแดน (Center line) ที่อยู่ตรงกลางสนาม จะต้องอยู่ใต้ตาข่าย หรือตรงกับเสาตาข่ายพอดี

ตาข่าย

          -  จะต้องมีความสูงจากพื้น 2.43 เมตร กว้าง 1 เมตร ยาว 9.5 - 10 เมตร

          -  ตารางในตาข่ายกว้าง 10 เซนติเมตร ผู้ติดไว้กับเสากลางสนาม

          -  ตาข่ายสำหรับทีมหญิงสูง 2.24 เมตร


ประวัติความเป็นมา กีฬาวอลเลย์บอล

ลูกวอลเลย์บอล

          -  เป็นทรงกลมมีเส้นรอบวงประมาณ 65-67 เซนติเมตร น้ำหนัก 260-280 กรัม

          -  ทำจากหนังสังเคราะห์ที่ยืดหยุ่นได้

          -  ซึ่งในการแข่งขันระดับโลกจะใช้ลูกบอล 3 ลูกต่อการแข่งขัน เพื่อความต่อเนื่องหากบอลออกนอกสนาม

ผู้เล่น

          -  ในทีมจะต้องมีผู้เล่นไม่เกิน 12 คน ผู้ฝึกสอน 1 คน ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน 1 คน เทรนเนอร์ 1 คน และแพทย์ 1 คน

          -  ผู้เล่นจะลงเล่นในสนามได้ครั้งละ 6 คน โดยแบ่งออกเป็นหน้าตาข่าย 3 คน และด้านหลังอีก 3 คน

          -  สามารถเปลี่ยนตัวผู้เล่นครั้งละกี่คนก็ได้ โดยผู้เล่นเดิมที่ถูกเปลี่ยนออก สามารถเปลี่ยนกลับมาเล่นในสนามได้อีก

          -  การแต่งกายในชุดแข่งขัน ต้องแต่งกายเหมือนกันทั้งทีม ประกอบไปด้วย เสื้อสวมคอ กางเกงขาสั้น ถุงเท้า และรองเท้าผ้าใบพื้นยางที่ไม่มีส้น โดยผู้เล่นแต่ละคนจะต้องติดหมายเลขกำกับไว้ที่เสื้อ กำหนดให้ใช้เลข 1-18 เท่านั้น สำหรับหัวหน้าทีมจะต้องมีแถบผ้าขนาด 8x2 เซนติเมตร ติดอยู่ใต้หมายเลขบริเวณอกเสื้อด้วย

ประวัติความเป็นมา กีฬาวอลเลย์บอล

วิธีการเล่น

          -  ทีมที่ได้เสิร์ฟ จะต้องให้ผู้เล่นที่อยู่ในตำแหน่งขวาหลัง เป็นผู้เสิร์ฟเพื่อเปิดเกม จากนั้นผู้เล่นทุกตำแหน่งจะขยับตำแหน่งวนไปตามเข็มนาฬิกา

          -  การเสิร์ฟจะต้องรอฟังสัญญาณนกหวีดก่อน และให้เริ่มเสิร์ฟลูกบอลภายใน 5 วินาที

          -  ทีมที่ได้คะแนนจะเป็นผู้ได้เสิร์ฟ จนกว่าจะเสียคะแนนให้ฝ่ายตรงข้ามจึงจะเปลี่ยนเสิร์ฟ

          -  เมื่อลูกเข้ามาในเขตแดนของทีม จะสามารถเล่นบอลได้มากที่สุด 3 ครั้งเท่านั้น

          -  สามารถบล็อคลูกบอลจากฝ่ายตรงข้ามที่หน้าตาข่ายได้ แต่หากผู้เล่นล้ำเข้าไปในแดนของฝ่ายตรงข้ามจะถือว่าฟาวล์

          -  สามารถขอเวลานอกได้ 2 ครั้งต่อ 1 เซต ให้เวลาครั้งละ 30 วินาที

          -  ทุกครั้งที่แข่งขันจบ 1 เซต จะต้องมีการเปลี่ยนฝั่ง

การคิดคะแนน

          -  ทีมจะได้คะแนนเมื่อลูกบอลตกลงในเขตสนามของฝ่ายตรงข้าม โดยนับเป็นลูกละ 1 คะแนน และหากมีการเสียคะแนน จะต้องเปลี่ยนให้ทีมที่ได้คะแนนเป็นผู้เสิร์ฟ

          -  หากทีมไหนได้คะแนนครบ 25 คะแนนก่อน ก็จะเป็นผู้ชนะในเซตนั้นไป แต่หากคะแนนเสมอกันที่ 24-24 จะต้องมีการดิวซ์ (Deuce) หมายถึงต้องทำคะแนนให้มากกว่าอีกฝ่าย 2 คะแนน ถึงจะเป็นผู้ชนะ เช่น 26-24 หรือ 27-25 เป็นต้น

          -  ต้องแข่งขันกันให้ชนะ 3 ใน 5 เซต จึงจะเป็นผู้ชนะในเกมนั้น

          และนี่คือข้อมูลคร่าว ๆ ของกีฬาวอลเลย์บอล เมื่อรู้จักกีฬาชนิดนี้กันแล้ว ก็อย่าลืมทำความเข้าใจกติกามารยาทในการแข่งขัน และเล่นกีฬากันอย่างมีน้ำใจนักกีฬากันด้วยนะจ๊ะ

กีฬาโบวลิ่ง


 กีฬาโบวลิ่ง


โบว์ลิ่ง เป็นกีฬาในร่มชนิดหนึ่งที่มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานมาก ซึ่งจากการรวบรวมข้อมูลจากหนังสือต่างๆ และจากเว็บไซท์ที่เกี่ยวกับโบว์ลิ่งนั้น ในแต่ละที่ก็ยังคงมีข้อมูลประวัติความเป็นมาของโบว์ลิ่งที่แตกต่างกันอยู่ บ้าง ซึ่งพอที่จะสรุปมาได้อ่านดังนี้
   จากหลักฐานที่ค้นพบโดยนักโบราณคดี ซึ่งพบในหลุมฝังศพของเด็กชาวอียิปต์ ทำให้เชื่อได้ว่าเมื่อประมาณ 5,200 ปีก่อนคริสต์ศักราช ชาวอียิปต์มีการละเล่นชนิดหนึ่งที่ใช้ก้อนหินกลมๆ กลิ้งไปโดนแก่นที่ทำด้วยไม้ให้ล้ม ซึ่งคล้ายกับการเล่นโบว์ลิ่งในปัจจุบันแต่ในสมัยนั้นจะเล่นกันกลางแจ้ง
   ซึ่งในยุคสมัยเดียวกันได้มีหลักฐานที่แสดงว่าชาว Polynesian ได้มีการเล่นเกมชนิดหนึ่ง โดยนำก้อนหินกลมๆกลิ้งไปให้โดนวัตถุซึ่งวางอยู่ห่างออกไปเป็นระยะทาง 60 ฟุต ซึ่งเป็นระยะทางที่เท่ากับระยะทางจาก foul line ไปถึง headpin ในปัจจุบัน
   นอกจากนั้นยังปรากฏหลักฐานที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับโบว์ลิ่งคือ นักประวัติศาสตร์ชาวเยอรมันเชื่อว่า ในเยอรมันได้มีการเริ่มเล่นโบว์ลิ่งในช่วงคริสต์ศักราช 300 โดยเป็นส่วนหนึ่งในพิธีการทางศาสนา ผู้เล่นจะโยนบอลให้กลิ้งไประหว่างทางเดินในโบสถ์เพื่อให้โดนเป้า เพื่อใช้เป็นการเสี่ยงทายบางอย่าง
   ได้มีหลักฐานที่ชัดเจนว่าช่วงคริสต์ศักราช 1366 โบว์ลิ่งได้เป็นที่นิยมเล่นกันแพร่หลายมากในอังกฤษ แต่กษัตริย์ Edward ที่ 3 ซึ่งครองราชในช่วงปีคริสต์ศักราช 1327-1377 และกษัตริย์ Richard ที่ 2 ซึ่งครองราชในช่วงปีคริสต์ศักราช 1377-1399 ทั้งสองพระองค์ได้ทรงเห็นว่าประชาชนและทหารไม่ได้เห็นความสำคัญของกีฬายิง ธนู จึงทรงออกกฏห้ามเล่นโบว์ลิ่ง เพื่อให้ประชาชนและทหารหันกลับมาสนใจกีฬายิงธนูเหมือนเดิม แต่อย่างไรก็ตามโบว์ลิ่งก็กลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้งในสมัย กษัตริย์ Henry ที่ 8
   โบว์ลิ่งได้เข้าสู่สหรัฐอเมริกา ในศตวรรษที่ 17 โดยชาวดัชที่อพยพจากฮอลแลนด์เป็นผู้นำเข้าไป พินที่ใช้จะมีทั้งหมด 9 พินวางเรียงกันเป็นรูปสามเหลี่ยมและได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ในปี 1840 ได้มีการเริ่มนำโบว์ลิ่งมาเล่นกันเป็นกีฬาในร่ม ต่อมาในปี 1841 มลรัฐ Connecticut ได้สั่งห้ามการเล่นโบว์ลิ่ง 9 พิน อย่างเด็ดขาดเพราะถือเป็นการเล่นการพนัน ซึ่งรัฐอื่นก็ถือปฏิบัติตามด้วย ทำใหโบว์ลิ่ง 9 พินเริ่มเสื่อมความนิยมลง หลังจากนั้นได้มีการคิดค้นโบว์ลิ่ง 10 พินขึ้นซึ่งทำให้สามารถเล่นกันได้อย่างถูกกฏหมายได้ในหลายมลรัฐเช่น New York,Ohio และ Illinois แต่อย่างไรก็ตามขนาดของพินและน้ำหนักของบอลก็ยังคงมีความแตกต่างกัน
   ปี 1875 ได้มีการประชุมโดยสโมสรต่างๆ จำนวน 11 สโมสร ที่ตั้งอยู่ในมลรัฐ New York เพื่อกำหนดมาตรฐานของอุปกรณ์การเล่น และกฏกติกาการแล่น แต่ยังไม่มีการกำหนดมาตรฐานความกว้างของเลนและขนาดของพิน
   การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอีกครั้งเมื่อเจ้าของภัตาคารชื่อ Joe Thum ได้เป็นตัวแทนเพื่อประสานความร่วมมือกับสโมสรโบว์ลิ่งในเขตต่างๆ ซึ่งทำให้เกิดการก่อตั้ง The American Bowling Congress (ABC) ขึ้นเมื่อวันที่ 9 กันยายน 1895 ที่ Beethoven Hall ในเมือง New York หลังจากนั้นจึงมีการกำหนดมาตรฐานและกฏเกณฑ์ต่างๆ เพื่อให้ถือปฏิบัติให้เหมือนกันขึ้นคือกำหนดให้คะแนนสูงสุดอยู่ที่ 300 ระยะห่างระหว่างพินคือ 12 นิ้ว
   ปี 1905 เป็นครั้งแรกที่ได้มีการผลิต rubber ball น้ำหนักสูงสุดคือ 16 pounds ซึ่งก่อนหน้านั้นจะเป็น ball แบบ lignum vitae ทั้งหมด
   ปี 1906 Brunswick-Balke-Collender ได้เปิดโรงงานเพื่อผลิตลูกโบว์ลิ่งที่ทำด้วยไม้
   ปี 1917 The Woman’s International Congress ได้กำเนิดขึ้นที่เมือง St. Louis
   ปี 1948 Brunswick ได้กำหนดให้มี dot และ arrow ขึ้นในเลนเพื่อช่วยให้เกิดความแม่นยำแก่ผู้เล่นมากขึ้น
   ปี 1958 ได้มีการก่อตั้ง The Professional Bowlers Association (PBA) ขึ้นโดย Eddie Elias
   ส่วนในประเทศไทยโบว์ลิ่งได้เข้ามาเผยแพร่เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2507 และมีการจัดตั้งเป็นสโมสรโบว์ลิ่งไทยโดยการนำของ พลตรีพระองค์เจ้าอนุสรณ์มงคลการ จุดประสงค์เพื่อเป็นการรวบรวมนักกีฬาโบว์ลิ่ง ต่อมาเปลี่ยนเป็นสโมสรโบว์ลิ่งแห่งประเทศไทยในปี พ.ศ. 2511 และได้จดทะเบียนกับกรมตำรวจ โดยได้รับใบอนุญาติเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2515 ใช้ชื่อว่า สมาคมโบว์ลิ่งไทย ต่อมาปี 2519 ได้เปลี่ยนเป็น สมาคมโบว์ลิ่งแห่งประเทศไทย โดยใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า Thailand Bowling Congress ปัจจุบันใช้คำว่า Thai Tenpin Bowling Congress (TTBC)

หนังสือ American Bowling Congress (ABC) และหนังสือของ Charles Hall กล่าวว่า ชาวอียิปต์ได้มีการเล่นกีฬาชนิดหนึ่งคล้ายกับการเล่นโบว์ลิ่งมาตั้งแต่ ประมาณ 5,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช โดยใช้ไม้เป็นแก่นและใช้ลูกหินกลมๆ กลิ้งไปทอยแก่นให้ล้ม ตามหลักฐานจากรูปภาพในหลุมฝังศพเด็กชาวอียิปต์ในสมัยนั้น
ชาวโปลิเนเซียน มีการเล่นอูลาไมก้า (Ula Maika) โดยกลิ้งก้อนหินไปให้ถูกเป้าซึ่งตั้งอยู่ห่างออกไป 60 ฟุต เท่ากับระยะจากเส้นฟาวล์ถึงพินหนึ่งของโบว์ลิ่งปัจจุบันนี้พอดี
เมื่อ ประมาณต้นคริสต์ศักราช ในประเทศเยอรมัน มีการเล่นกีฬาเคเกล (Kegal) ซึ่งคล้ายกับการเล่นโบว์ลิ่ง ต่อมา มาร์ติน ลูเธอร์ (Martin Luther) ผู้ตั้งนิกายโปรเตสเต้นท์ ได้กำหนดให้มี 9 พิน และได้แพร่หลายออกไปยังประเทศต่างๆ ในยุโรป ชาวอังกฤษดัดแปลงไปเล่นบนสนามหญ้า เรียกว่า Lawn Bowling และยังคงเป็นที่นิยมกันอยู่จนปัจจุบัน
      พ.ศ. 2166 สร้างโรงโบว์ลิ่งขึ้นเป็นครั้งแรก และมี 10 พิน เรียกชื่อใหม่ว่าโบว์ลิ่ง
      พ.ศ. 2495 ก่อตั้งสหพันธ์โบว์ลิ่งระหว่างประเทศ
ประวัติโบว์ลิ่งในประเทศไทย
     พ.ศ. 2507 ตั้งสโมสรโบว์ลิ่ง โดยการนำของพลตรีพระองค์เจ้าอนุสรณ์มงคลการและ หม่อมอุบล
      พ.ศ. 2512 ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง
      พ.ศ. 2513 ก่อตั้งสมาคมโบว์ลิ่งแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม
      พ.ศ. 2516 เป็นสมาชิกสหพันธ์โบว์ลิ่งระหว่างประเทศ เมื่อวันที่ 11 มกราคม