วันอาทิตย์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2556

หน้าแรกของเว็บไซต์

หน้าแรกของเว็บไซต์
เรื่อง การกีฬาแห่งประเทศไทย


 


ข้อคิดที่ได้:เมื่อเราเล่นกีฬามากๆทำให้ร่างกายเราแข็งแรงสมบูรณ์


กีฬาสนุกเกอร์

ประวัติและความเป็นมา การแข่งขันสนุกเกอร์อาชีพเก็บสะสมคะแนน
(Thailand Ranking Circuit)


การกีฬาแห่งประเทศไทยได้ให้การสนับสนุนด้านงบประมาณกับ สมาคมกีฬาบิลเลียดแห่งประเทศไทย มาตั้งแต่เริ่มแรก เพื่อดำเนินการจัดการแข่งขันสนุกเกอร์เก็บคะแนนสะสม เพื่อพัฒนาไปสู่ นักกีฬาอาชีพ (Thailand Ranking Circuit) โดยมีวัตถุประสงค์เริ่มต้นเพื่อพัฒนากีฬาสนุกเกอร์ภายในประเทศให้ก้าวไปสู่ ระดับอาชีพ ซึ่งการจะพัฒนาไปสู่การเป็นนักกีฬาอาชีพ จำเป็นต้องกระทำอย่างต่อเนื่อง และการแข่งขันที่มีมาตรฐานระดับสากลก็เป็นวิธีหนึ่ง ที่จะช่วยให้นักกีฬาสามารถสั่งสมประสบการณ์ และฝีมือในการเล่น ยิ่งนักกีฬามีโอกาสเข้าแข่งขันมากเท่าใด ก็จะพัฒนาฝีมือตนเองได้มากขึ้นเท่านั้น การได้แข่งขันกับคู่ต่อสู้ที่มีประสบการณ์และระดับฝีมือที่แตกต่างกันไป การได้เห็นเทคนิคการเล่นของนักกีฬาอื่นๆ การแข่งขันในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างๆ ไปจากสถานที่ฝึกซ้อมตามปกติ ล้วนแล้วแต่มีส่วนช่วยให้นักกีฬานำประสบการณ์ที่ได้รับไปปรับปรุงข้อดี ข้อเสีย เพื่อยกระดับมาตรฐานการเล่นของตนเองให้สูงขึ้นต่อไป นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างรายได้เลี้ยงชีพให้กับนักกีฬาด้วย นอกเหนือจากภาครัฐแล้ว สมาคมฯยังได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชน โดย บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ร่วมเข้ามาให้การสนับสนุนตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมาอีกด้วย
สมาคมกีฬาบิลเลียดแห่งประเทศไทยได้จัดการแข่งขัน สนุกเกอร์อาชีพเก็บสะสมคะแนน มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 โดยในปีแรกจัดการแข่งขันทั้งหมด 4 รายการ มีนักกีฬาเข้าร่วมแข่งขันรายการละกว่า 90 คน ปีที่ 2 สมาคมฯ จึงเพิ่มการแข่งขันเป็น 6 รายการ จบการแข่งขันในปีที่ 3 (พ.ศ. 2547) มีนักกีฬาสนใจเข้าร่วมการแข่งขันกว่า 140 คน ดังนั้น ในปีที่ 4 (พ.ศ. 2548) สมาคมฯ จึงแบ่งการแข่งขันออกเป็น 2 ดิวิชั่น คือ ดิวิชั่น 1 (จัดแข่ง 6 รายการ ซึ่งกำหนดให้รายการที่ 6 เป็น “รายการชิงแชมป์ประเทศไทย” ของทุกปีถัดไป) เป็นการแข่งขันของนักสนุกเกอร์อันดับ 1 - 64 และดิวิชั่น 2 (จัดแข่ง 5 รายการ) เป็นการแข่งขันของนักสนุกเกอร์อันดับ 65 ขึ้นไป เพื่อเปิดโอกาสให้นักสนุกเกอร์รุ่นใหม่ได้ฝึกฝีมือ รวมทั้งสมาคมฯ สามารถเฟ้นหานักกีฬา “ดาวรุ่ง” ที่จะเป็นกำลังสำคัญในทีมสนุกเกอร์ไทยในอนาคต ซึ่งขณะนี้มีผู้สนใจเข้าร่วมการแข่งขันทั้ง 2 ดิวิชั่น รวมเกือบ 300 คน
เพื่อเผยแพร่กีฬาสนุกเกอร์ให้ครอบคลุมทั่วทุกภาค และกระตุ้นให้คนไทยโดยเฉพาะเยาวชนหันมาสนใจดู หรือเล่นกีฬาสนุกเกอร์มากยิ่งขึ้น ในปี 2554 สมาคมฯ จึงได้เพิ่มการแข่งขันฯ ดิวิชั่น 1 จาก 6 เป็น 7 รายการ โดยทุกรายการมีการถ่ายทอดสดรอบรองชนะเลิศทางสยามกีฬาทีวี และรอบชิงชนะเลิศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย รวมทั้ง ได้เชิญนักสนุกเกอร์จากประเทศต่างๆ ทั่วโลก รวมทั้ง นักกีฬาไทยที่ไปแข่งขันสนุกเกอร์อาชีพระดับโลกที่สหราชอาณาจักร เช่น รัชพล ภู่โอบอ้อม (ต๋อง ศิษย์ฉ่อย) มาร่วมแข่งขันในฐานะนักกีฬาไวล์การ์ดในรายการที่ 1 - 6 รายการละ 3 - 4 คน เพื่อให้นักกีฬาไทยได้พัฒนาฝีมือและสั่งสมประสบการณ์ในการแข่งขันกับนัก สนุกเกอร์ต่างชาติอย่างต่อเนื่อง เป็นผลให้ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา นักสนุกเกอร์ไทยประสบความสำเร็จอย่างมากในการแข่งขันระดับนานาชาติ เริ่มจาก อรรถสิทธิ์ มหิทธิ แชมป์โลก ปี 2550, เทพไชยา อุ่นหนู แชมป์โลก ปี 2551, เดชาวัต พุ่มแจ้ง แชมป์โลก ปี 2553, นพพล แสงคำ แชมป์เยาวชนโลก ปี 2552, ธนวัฒน์ ถิรพงศ์ไพบูลย์ แชมป์เยาวชนโลก ปี 2554, อิศรา กะไชยวงษ์ แชมป์เอเซีย ปี 2549 และ 2553, สุพจน์ แสนหล้า แชมป์เอเซีย ปี 2550, รัชพล ภู่โอบอ้อม ปี 2552, ภาสกร สุวรรณวัฒน์ แชมป์เอเซีย ปี 2554

กีฬาหมากรุกไทย

ประวัติหมากรุกไทยและกติกาการเล่นหมากรุก

หมากรุกไทย ต้องอยู่คู่ชาติไทย โปรดร่วมใจอนุรักษ์และฝึกเล่น
หมากรุกไทยขั้นพื้นฐาน
อุปกรณ์ในการเล่นหมากรุกไทย ประกอบด้วย
ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายจะนั่งเผชิญหน้ากัน มีกระดานหมากรุกวางอยู่ตรงกลาง
การตั้งตัวหมากรุกและรูปร่างของตัวหมากรุก แสดงไว้ในภาพ มีข้อสังเกตคือ เม็ดต้องตั้งอยู่เบื้อง
ขวาของขุนแต่ละฝ่าย
 
                        
 
ต้องการกลับไปที่เมนูหลักหมากรุกไทยคลิก              

           การเล่นหมากรุกปรากฎว่ามีมาในประเทศอินเดียช้านานนับด้วยพันปี  พวกชาวอินเดียอ้างว่าหมากรุกเกิดขึ้น เมื่อครั้งพระรามไปล้อมเมืองลังกา นางมณโฑเห็นทศกรรฐ์เดือดร้อนรำคาญ ในการที่ต้องเปนกังวลคิดต่อสู้สงคราม ไม่มีเวลาเป็นผาศุก นางรู้ว่าจะชักชวนทศกรรฐ์ ให้พักผ่อนด้วยประการอย่างอื่น ก็คงไม่ยอม จึงเอากระบวรการสงคราม  คิดทำเปนหมากรุกขึ้น ให้ทศกรรฐ์เล่นแก้รำคาญ  มูลเหตุที่จะเกิดมีหมากรุก พวกชาวอินเดียกล่าวกันมาดังนี้ แต่ชื่อที่เรียกว่าหมากรุก เป็นคำของไทยเราเรียก พวกชาวอินเดียเขาเรียกหมากรุกว่า "จตุรงค์  เพราะเหตุที่คิดเอากระบวรพล ๔ เหล่า ทำเปนตัวหมากรุก คือหัสดีพลช้าง (ได้แก่โคน) ๑ อัศวพลม้า ๑ โรกะพลเรือ ๑ (พลเรือนั้นอธิบายว่าเพราะคิดขึ้นที่เกาะลังกา จึงใช้เรือแทนรถ) ปาทิกะพลราบ (ได้แก่เบี้ย) ๑ มีราชา (คือขุน) เปนจอมพล ตั้งเล่นกันบนแผ่นกระดานอันปันเปนตาราง ๖๔ ช่อง (อย่างกระดานหมากรุกทุกวันนี้)
ประวัติหมากรุกไทย
            เมื่อค้นคว้าจากหนังสือหมากรุกเท่าที่จะค้นหาได้ในหอสมุดแห่งชาติ สรุปได้ว่าตำนานหมากรุกมีที่มาคล้ายคลึงกัน และแทบทุกแห่งจะอ้างอิงจากหนังสือเล่มเดียวกันคือ ตำรากลหมากรุก ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณทั้งสิ้น ที่จะมีผิดแผกไปบ้างบางเล่ม เช่น ผู้ดัดแปลงหมากรุกจากเดิมจัตุรงค์ซึ่งมีผู้เล่นสี่คน มาเป็นหมากรุกที่มีผู้เล่นสองคน แทนที่จะเป็นมหาอำมาตย์สัสสะ ในประเทศอินเดีย บางเล่มเพี้ยนไปเป็นพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ที่กรีก แต่ก็มีรายละเอียดคล้ายคลึงกัน

ประวัติผู้ประดิษฐ์ตัวหมากรุกไทย
            คัดจากบางตอนของบทที่ว่าด้วยตำนานหมากรุก หนังสือหมากรุกไทย ของบริษัทสุรามหาราษฎร จำกัด (มหาชน) พิมพ์ที่โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ไม่แจ้งปีที่พิมพ์  มีข้อความดังนี้
            มีประวัติของหมากรุกไทยกล่าวไว้ว่า ปฐมกษัตริย์จีน ชื่อพระเจ้าฟูฮี  คิดตำราหมากรุกพิชัยยุทธตีเมืองเชนสีของชาวอัลไต หรือชาวไทยในอดีตเมื่อราว 2337 ปี ก่อนพุทธศักราช จนชาวอัลไตได้ถอยร่นไปทางทิศใต้และทางทิศตวันออก และมีการอพยพมาตั้งอาณาจักรอายลาวครั้งแรกเมื่อ 32 ปี ก่อนพุทธศักราช  ต่อมาหลังจากที่อาณาจักรอ้ายลาวแตก ชาวอัลไตก็ถอยร่นข้ามแม่น้ำโขง มาตั้งนครโยนก ประมาณปี พ.ศ.20 มีกษัตริย์ปกครองและได้มีพระพุทธศาสนาแพร่เข้ามา
            เมื่อ พ.ศ. 301 มีการก่อสร้างเจดีย์และวัดซึ่งทำให้บ้านเมืองมีความเป็นอยู่เจริญขึ้นมาจนถึง พ.ศ. 902  ก็ถูกพวกมอญดำยึดเมือง และไล่ให้ชาวเมืองออกไปหาทองมาส่งส่วยซึ่งก็ได้พบทองร่อนเป็นจำนวนมากจนได้ชื่อว่า สุวรรณภูมิ
            ในปี พ.ศ. 918 พระเจ้าพรหมมหาราชได้คิดตำราพิชัยยุทธนา วางแผนหมากรุกระดมผู้คนทั้งเด็กผู้ใหญ่และคนชราทั้งชายหญิง ขึ้นลุกฮือทำการต่อสู้กวาดล้างพวกมอญดำถึง 6 ปี ตั้งแต่เมืองโยนกเชียงแสนจนถึงกำแพงเพชร ได้ประกาศขอบเขตเป็นอาณาจักรใหม่ของเมืองเชียงราย หากจะนับว่าเมืองเชียงรายเป็นชาวไทยก็ควรจะนับว่าราช
อาณาจักรชาวอัลไตหรือชนชาวไทยตั้งเป็นประเทศไทยโยนกตั้งแต่ พ.ศ. 20 โดยพระเจ้าอนุชิตกอบกู้เอกราชครั้งแรกได้สำเร็จ
            เมื่อ พ.ศ. 924 สมัยพระเจ้าพรหมมหาราช ผู้เจริญพระชนมายุเพียง 16 พรรษาเท่านั้น  ได้ทรงใช้เวลา 6 ปี ในการกรำศึกนั้น จึงเป็นที่เชื่อว่า ชนชาวไทยได้เอาหมากรุกจีนซึ่งเดินหมากตามเส้นเข้ามาประเทศไทยด้วย และตัวหมากรุกไทยได้ประดิษฐ์ในสมัยนี้เอง โดยให้เดินตามช่อง ตัวขุนจำลองมาจากที่ประทับของกษัตริย์หรือพระโกศ ตัวโคนจำลองมาจากพระเจดีย์ใหญ่ ตัวเม็ดจำลองมาจากเจดีย์เล็ก ตัวเรือจำลองมาจากป้อมค่ายทหาร เบี้ยจำลองมาจากหมวกทหาร ส่วนม้า นำมาจากหัวม้าในละครโดยตรง จึงไม่แปลกใจเลยที่มีหลักฐานปรากฎว่า ภาคเหนือและภาคอีสานเป็นต้นกำเนิดของหมากรุกไทยมาก่อน
            อนึ่ง มีผู้กล่าวไว้ว่าชาวเปอร์เซียเป็นผู้คิดค้นหมากรุกเล่นในหมู่นักรบ เพื่อคลายอารมณ์กระหายศึกนั้นไม่สามารถกำหนดชี้ชัดได้ เพราะกล่าวไว้ว่าชาวเปอร์เซียเล่นหมากรุก 4 คนและใช้ลูกเต๋าทอดด้วยแล้วยิ่งยากเชื่อถือ เนื่องจากลูกเต๋าเป็นของประดิษฐ์ชาวจีน จึงมีปัญหาที่น่าสงสัยว่าใครเป็นผู้คิดค้นการเล่นกันแน่ แต่เมื่อพิจารณาถึงหลักฐานที่ปรากฏเมื่อสมัยโบราณ 4,000 ปีมาแล้วนั้น ชาวจีนได้รวมตัวเป็นกลุ่มเป็นก้อนแล้ว แต่ในขณะที่ชาวอาหรับยังคงแตกแยกอยู่ ดังนั้นหลักฐานจึงค่อนมาทางจีนมากกว่า
            ประวัติการเล่นหมากรุกไทยสมัยแรกเริ่ม จนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 20-2310 ยังไม่พบหลักฐาน ปรากฏว่ามีการกล่าวอ้างถึงการเล่นหมากรุกไทยในยุคนี้ แต่มีการกล่าวว่า  สมัยพระพุทธเจ้าทรงพระราชสมภพที่เนปาลนั้น มีหมากรุกเล่นกันแล้ว แต่ไม่ได้กล่าวว่าเป็นหมากรุกอย่างใด แต่ที่เนปาลก็อยู่ใกล้จีนและทิเบตมากกว่า หากว่าประเทศไทยมีการเล่นหมากรุกกันมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าพรหมมหาราชนั้นแล้ว อีกประมาณ 876 ปีก็ถึงสมัยสุโขทัย ก็ยังไม่มีการกล่าวถึงไว้ ณ ที่หนึ่งที่ใด แต่ตามพื้นวัดนั้นมีแผ่นสี่เหลี่ยมอยู่เป็นอันมาก ทำให้สามารถสันนิษฐานได้ว่าเป็นกระดานหมากรุก

ประวัติการเล่นหมากรุกไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี พ.ศ. 2310 - 2325
            ในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี เมื่อ พ.ศ. 2318 เดือนอ้าย อะแซหวุ่นกี้ แม่ทัพพม่าวัย 72 ปี ผู้เหิมเกริมอาสานำไพร่พลฝีมือดี 35,000 คน คิดรุกรานผืนแผ่นดินไทย โดยยกพลเข้ามาตั้งค่ายอยู่ที่เมืองสุโขทัย กางตำราพิชัยสงครามเชิงรุก และเริ่มลงมือกวาดต้อนเสบียงอาหารสะสมกักตุนไว้ทันที
            พระเจ้ากรุงธนบุรีพร้อมด้วยพระยาจักรีและพระยาสุรสีห์ ทรงทราบยุทธศาสตร์เชิงรุกครั้งนี้เป็นอย่างดี หากแต่ครั้งนั้นมีรี้พลประมาณ 20,000 คนจึงจำต้องวางแผนพิชัยสงครามในเชิงรุกและรับด้วยหน่อยจู่โจมหลีกเลี่ยงการเข้าปะทะศึกใหญ่ โดยใช้แผนถอยเอาเชิง 2 ชั้น
            กล่าวคือ ให้พระยาจักรีและพระยาสุรสีห์  ตั้งหลักอยู่ที่เมืองพิษณุโลก กวาดต้อนเสบียงและผู้คน ตลอดจนรักษาฐานะเมืองเชียงใหม่ไว้ ด้วยหวังตรึงกำลังอะแซหวุ่นกี้ไว้ให้นานที่สุด ส่วนทัพหลวงนั้น พระเจ้ากรุงธนบุรีกลับเป็นฝ่ายเคลื่อนไหวประกอบกับหน่วยจู่โจม และหน่วยกองเพลิงป่า มุ่งหวังตัดเสบียงและจู่โจม รบกวนทำลายรี้พลพม่าทั้งกลางวันและกลางคืน หลังจากปะทะกันมาถึง 4 เดือน ต่างก็ขัดสนเสบียงอาหาร โดยเฉพาะเมืองพิษณุโลกยังมีผู้หญิงและเด็กมากมาย ครั้นกองเสบียงจากทัพหลวงถูกตัดขาด แผนการขั้นที่ 2  จึงได้เริ่มขึ้นโดยพระยาจักรีออกอุบายจำทำการรบใหญ่ ด้วยการเอาปี่พาทย์ประโคมศึกตามป้อมค่าย พร้อมยิงปืนใหญ่กรุยทางตั้งแต่เช้าจนค่ำ ส่วนพระองค์พร้อมด้วยพระยาสุรสีห์ ได้ทรงนั่งเล่นหมากรุกอยู่บนเชิงกำแพงเมือง ร้องเรียกให้อะแซหวุ่นกี้ขึ้นมาประลองฝีมือสักกระดาน
แผนการถอยทัพเอาชัยจึงสัมฤทธิ์ผลในเวลาสามทุ่มคืนนั้นโดยมีผู้หญิงและเด็กแต่งกายคล้ายทหารพกอาวุธทุกคนถอยไปตั้งทัพชั่วคราว ที่เพชรบูรณ์ แล้ววกลงใต้ไปตามแม่น้ำป่าสักและลพบุรีไปยังแถบพระพุทธบาทสระบุรี  แล้วอ้อมขึ้นไปอุทัยธานี ทำหน้าที่เป็นหน่วยจรยุทธหนักคอยตีดัดหลัง
            ฝ่ายอะแซหวุ่นกี้ หลังจากเสียเวลาติดตามไปตีเมืองเพชรบูรณ์ อย่างไร้ผลและขาดเสบียงเพิ่มเติมในที่สุด ก็ตั้งทัพอยู่กับที่ เป็นเวลาหลายเดือนไม่สามารถหาเป้าหมาย (ขุน) สำหรับโจมตีได้ ตัวเองกลับจะตกเป็นเป้านิ่งเลยตัดสินใจถอยทัพกลับพม่า ระหว่างทางถูกดักตีซ้ำเติมเสียรี้พลมากมาย กลับถึงพม่าอย่างสะบักสบอม
            ตำราพิชัยสงครามกล่าวว่า “ กองทัพเดินด้วยท้อง หมากรุกเดินด้วยสมอง “ นับตั้งแต่นั้นมา พม่ามิกล้ายกกองทัพใหญ่ มารุกรานไทยอีกเลย  ด้วยเกรงพระปัญญาบารมีของพระองค์ยิ่งนัก ยิ่งมาทราบว่าพระองค์ 2 พี่น้องทางโปรดกีฬาหมากรุกด้วยแล้ว โดยเฉพาะกลถอยเอาชนะของพระองค์นั้น เป็นที่เทิดทูนเคารพบูชา ที่พวกเราชาวไทยทุกคนทั้งหลายได้อยู่ยั่งยืนยงมาจนถึงทุกวันนี้

ประวัติการเล่นหมากรุกไทยตั้งแต่ กรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2325-2526
            หลังจากการสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ในปี พ.ศ. 2325 แล้ว ก็ได้ปรากฏว่ามีการเล่นหมากรุกกันมากในหมู่
พระราชวงศ์ ดังจะเห็นมีหมากรุกงาและเขาสัตว์ แสดงความเก่าแก่มานานจนงานั้นผุพังไปก็มี ตัวอ้วนกลมเตี้ยไม่ได้ขนาดก็มี
หมากรุกได้แพร่หลายไปตามหมู่เจ้านาย ไพร่พล หมู่ทหาร ข้าราชบริพาร และยังไปตามวัดวาอารามต่าง ๆ จนในที่สุดเข้าถึงประชาชนโดยทั่วไป  ดังจะเห็นมีตำรากลหอพระสมุดแห่งชาติ และตำราเคล็ดลับทางโคนที่ได้มาจากทางภาคอิสาน
การแข่งขันอย่างไม่เป็นทางการ คงจะมีขึ้นบ้างเป็นการประลองฝีมือ แต่การพนันรายใหญ่มักจะมีในหมู่เศรษฐี ดังเช่นศึกชิงเรือสำปั้น ระหว่างนายโหมดกับเจ้านายพระองค์หนึ่งทางตำหนักเสาชิงช้า นอกจากศึกชิงเรือสำปั้นแล้ว ยังมีศึกผ้าขาวม้า ศึกสามเส้า ตอนงูกินหางและตอนจับงูอีกด้วย

ข้อมูลจาก กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และตำราพิชัยยุทธ น.ต.มณเฑียร รื่นวงษา
 

กีฬากอล์ฟ



 กีฬากอล์ฟ


ประวัติกีฬากอล์ฟ
     กีฬา กอล์ฟมีประวัติที่ยาวนานและยังหาข้อยุติที่แท้จริงไม่ได้เช่นเดียวกับอีก หลายๆ ชนิดกีฬา ในช่วงแรกๆ เราเชื่อว่ากอล์ฟเล่นและได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศสกอตแลนด์ ก่อนที่การขยายความนิยมไปที่ประเทศอังกฤษ ประเทศในยุโรป และอเมริกาในที่สุดโดยเฉพาะที่เมือง St Andrew ประเทศสกอตแลนด์ที่มองว่าเป็นสโมสรกอล์ฟที่มีความเก่าแก่ที่สุด
     ประ เทศเนเธอแลนด์ เป็นประเทศหนึ่งที่มีหลักฐานเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ของกีฬากอล์ฟ เมื่อมีหลักฐานปรากฏว่ามีการแข่งขันกีฬาที่มีลักษณะคล้ายกีฬากอล์ฟ ที่เมือง Loenen aan de Vecht ในปี ค.ศ. 1297 โดยที่กติกาคือใครที่สามารถตีลูกกอล์ฟที่ทำด้วยหนังหุ้มลงหลุมโดยใช้จำนวน ครั้งน้อยที่สุดคือผู้ชนะการแข่งขัน
ในปี ค.ศ. 2005 ประวัติศาสตร์ของกีฬากอล์ฟได้รับการบอกกล่าวที่แตกต่างไปจากที่ผ่านๆมา เมื่อศาสตราจารย์ Ling Hongling แห่งมหาวิทยาลัย Lanzhou ได้แสดงหลักฐานยืนยันที่เก่าแก่กว่าที่เคยพบกันมา คือ การพบการแข่งขันในลักษณะที่คล้ายกับกีฬากอล์ฟในปัจจุบันย้อนหลังไปถึง ราชวงศ์ถัง ตอนใต้ 500 ปีก่อนการกล่าวถึงการเล่นกอล์ฟในสกอตแลนด์มาก ส่วนการเผยแพร่การเล่นนี้สู่สกอตแลนด์และยุโรปเกิดจาการเผยแพร่ของชาวมองโกล เลีย ที่เดินทางเข้าสู่ยุโรปในช่วงของประวัติศาสตร์ยุคกลาง (Middle Ages)
     การ เล่นกอล์ฟ ในแนวทางปัจจุบันประเทศสกอตแลนด์ดุเหมือนจะได้รับการยอมรับในการเป็นผู้ริ เริ่มและมีประวัติด้านกติกาและการแข่งขันที่มีการบันทึกไว้ชัดเจนที่สุด อย่างไรก็ตามการเล่นกอล์ฟในช่วงต้นๆ มีอุปสรรคอยู่บ้างโดยเฉพาะเมื่อมีการถูกห้ามการเล่นซึ่งมีเหตุจาการที่การ เล่นกอล์ฟส่งผลกระทบต่อการฝึกทางทหารในช่วง ปี ค.ศ. 1457 มีการออกกฎหมายที่ห้ามการเล่นกอล์ฟเป็นระยะๆ จนกระทั่งในช่วงปี ค.ศ. 1672 ที่การเล่นกอล์ฟได้รับการยอมรับและสามารถเล่นได้ตามปกติ
ประวัติศาสตร์การเล่นกอล์ฟมีปรากฏมากมายในประเทศสกอตแลนด์และอังกฤษที่ กษัตริย์และขุนนางระดับสูงเล่นกอล์ฟ ในปี ค.ศ. 1880 มีสนามกอล์ฟในประเทศอังกฤษ 12 สนาม และขยับเป็น 50 สนามในปี ค.ศ. 1887 และเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเป็น 1,000 สนาม ในปี ค.ศ. 1914 ในช่วงทศวรรษ 1980 ความนิยมในกีฬากอล์ฟได้แพร่กระจายไปในประเทศอื่นๆ ที่อังกฤษเข้าไปยึดด้วย เช่น ประเทศ South Africa ประเทศ Singapore ประเทศ New Zealand ประเทศ Canada ประเทศ Australia และอื่นๆ
     อย่าง ไรก็ตามประเทศที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อกีฬากอล์ฟในปัจจุบัน คือ ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ. 1779 ประเทศสหรัฐอเมริกามีการโฆษณาเกี่ยวกับการเล่นกอล์ฟในหนังสือพิมพ์กรุง นิวยอร์ค (Royal Gazette of New York) และเอกสารการประชุมประจำปีเกี่ยวกับการเล่นกอล์ฟที่รัฐ Georgia ในปี ค.ศ. 1894 เป็นปีที่สโมสรกอล์ฟในประเทศสหรัฐอเมริการวมตัวกันจัดตั้งสมาคมกอล์ฟแห่ง สหรัฐอเมริกา (US Golf Association: USGA) ในปี ค.ศ. 1910 มีสนามกอล์ฟจำนวน 267 สนามและมีการเพิ่มสนามกอล์ฟขึ้นอย่างรวดเร็ว ในปี ค.ศ. 1980 มีกว่า 5,000 สนาม ในขณะที่ปัจจุบันประเทศสหรัฐอเมริกามีสนามกอล์ฟมากกว่า 9,700 สนามทั่วประเทศ สหรัฐอเมริกาจึงนับว่าเป็นประเทศมหาอำนาจในกีฬากอล์ฟมากที่สุดในโลกใน ปัจจุบัน มีนักกีฬาอาชีพมากมาย โดยในการแข่งขันประเทศทีมของโลกระหว่างอเมริกาและยุโรป นักกีฬาของประเทศสหรัฐอเมริกาประเทศเดียวสามารถแข่งขันกับประเทศในยุโรปที่ รวมกันได้ทุกปี
     การเล่นกอล์ฟใน ประเทศไทยมีประวัติศาสตร์ที่สั้นกว่าของยุโรป จีนและอเมริกามาก การเล่นกอล์ฟในช่วงแรกมีความคล้ายกันที่เป็นการเล่นในส่วนของกษัตริย์ ราชวงศ์และข้าราชบริพาร โดยเริ่มในช่วงรัชสมัยของพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยสนามกอล์ฟแรกนั้นมีที่หัวหิน กอล์ฟมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและได้รับการพัฒนาให้มีมาตรฐานเดียวกับนานาชาติ โดยมีการออกแบบโดยนักกอล์ฟระดับโลกเพื่อให้การเล่นกอล์ฟได้มาตรฐานและดึงดูด นักกอล์ฟและผู้สนใจในกีฬากอล์ฟมีสนามที่ดีและมากขึ้นในประเทศไทย รวมทั้งเพื่อรองรับนักกอล์ฟจากต่างประเทศที่มาประเทศไทยเพื่อการเล่นกอล์ฟ ด้วย
     ปัจจุบันมีสนามกอล์ฟกว่า 200 สนามที่กระจายทั่วประเทศ โดยเฉพาะที่จังหวัดชลบุรี เป็นจังหวัดที่มีสนามกอล์ฟมากที่สุดในประเทศไทย และมีนักกีฬาที่มีความสามารถในระดับโลก และสร้างรายได้ให้กับตัวเองมหาศาล เช่น ธงชัย ใจดี ประหยัด มากแสง หรือถาวร วิรัตน์จันทร์ ขณะเดียวการสนามและการจัดการเกี่ยวกับกอล์ฟก็นับว่ามีความสำเร็จอย่างมาก สำหรับประเทศไทยในการพัฒนากอล์ฟที่เป็นทั้งกีฬา การพักผ่อนหย่อนใจและการท่องเที่ยวที่ทำประโยชน์ทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ อย่างดี มีการบริหารจัดการ และจัดการเรียนการสอน
     กอล์ฟ จึงเป็นกีฬาที่ดี มีประโยชน์ทั้งผู้เล่น และเศรษฐกิจของประเทศที่สำคัญและควรได้รับการสนับสนุนต่อไป
 

กีฬาว่ายน้ำ

ประวัติกีฬาว่ายน้ำ
กีฬาว่ายน้ำ (Swimming) ถือ เป็นศิลปะอย่างหนึ่ง เพราะมนุษย์สามารถว่ายน้ำได้ตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมนุษย์ที่ตั้งภูมิลำเนาอยู่ตามชายทะเล แม่น้ำ ลำคลอง และที่ราบลุ่มต่างๆ เช่น พวกเอสซีเรีย อียิปต์ กรีก และโรมัน มีการฝึกหัดว่ายน้ำกันมาตั้งแต่ก่อนคริสตกาล เพราะมีผู้พบภาพวาดเกี่ยวกับการว่ายน้ำในถ้ำบนภูเขาแถบทะเลทรายลิบยาน
            การ ว่ายน้ำในสมัยนั้นเพียงเพื่อให้สามารถว่ายน้ำข้ามไปยังฝั่งตรงข้ามได้ หรือเมื่อเกิดอุทกภัยน้ำท่วมป่าและที่อยู่อาศัยก็สามารถพาตัวไปในที่น้ำท่วม ไม่ถึงได้อย่างปลอดภัย  การว่ายน้ำได้มีวิวัฒนาการมาตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน แต่มีหลักฐานบันทึกไว้ไม่นานนัก Ralph Thomas ให้ชื่อแบบว่ายน้ำที่มนุษย์ใช้ว่ายกันมาตั้งแต่เดิมว่า ฮิวแมน สโตร์ก (Human stroke) นอก จากนี้พวกชนชาติสลาฟและพวกสแกนดิเนเวียรู้จักการว่ายน้ำอีกแบบหนึ่ง โดยใช้เท้าเคลื่อนไหวในน้ำคล้ายกบว่ายน้ำ หรือที่เรียกว่าฟล็อกคิก (Flogkick) แต่วิธีการเคลื่อนไหวของท่าแบบนี้จะทำให้ว่ายน้ำได้ไม่เร็วนัก
            การแข่งขันว่ายน้ำครั้งแรกได้จัดขึ้น วูลวิช บาร์ท (Woolwich Baths) ใกล้กับกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. 2416 การแข่งขันครั้งนั้นมีการแข่งขันเพียงแบบเดียวคือ แบบฟรีสไตล์ (Free style) โดยผู้ว่ายน้ำแต่ละคนจะว่ายแบบใดก็ได้ ในการแข่งขันครั้งนี้ J. Arhur Trudgen เป็น ผู้ได้รับชัยชนะ โดยเขาได้ว่ายแบบเดียวกับพวกอินเดียแดงในอเมริกาใต้ คือแบบยกแขนกลับเหนือน้ำ ซึ่งเป็นวิธีการว่ายน้ำของเขาได้กลายเป็นแบบที่ได้รับความนิยมมากจนได้ชื่อ ว่า ท่าว่ายน้ำแบบทรัดเจน (Trudgen stroke)  ประชาชนชาวโลกได้ให้ความสนใจเกี่ยวกับการว่ายน้ำเพิ่มมากขึ้น เมื่อเรือเอก Mathew Webb ได้ว่ายน้ำข้ามช่องแคบอังกฤษจากเมืองโดเวอร์ คาเลียส เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2418 โดยใช้เวลาทั้งสิ้น 21 ชั่วโมง 45 นาที ด้วยการว่ายแบบกบ (Breast stroke) ข่าวความสำเร็จอันนี้ได้สร้างความพิศวงและตื่นเต้นไปทั่วโลก ต่อมาเด็กชาวอเมริกันชื่อ Gertude Ederle ได้ว่ายน้ำข้ามช่องแคบอังกฤษ เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2469 ทำเวลาได้ 14 ชั่วโมง 31 นาที โดยว่ายน้ำแบบท่าวัดวา (Crawa stroke) จะเห็นได้ว่าในชั่วระยะเวลา 50 ปี
การ ว่ายน้ำได้วิวัฒนาการก้าวหน้าขึ้นเป็นอย่างมาก ถ้าหากได้พิจารณาถึงเวลาของคนทั้งสองที่ทำได้ แบบและวิธีว่ายน้ำได้รับการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เกิดความเร็วขึ้น เสมอ ในบรรดานักว่ายน้ำทั่วไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวแลนเคเชียร ์และออสเตรเลีย ได้ดัดแปลงวิธีว่ายน้ำแบบทรัดเจน ซึ่งก็ได้รับผลดีในเวลาต่อมา กล่าวคือ Barney Kieran ชาวออสเตรเลียและ T. S. Battersby ชาวอังกฤษ ได้ว่ายน้ำแบบที่ปรับปรุงมาจากทรัดเจน เป็นผู้ครองตำแหน่งชนะเลิศของโลกเมื่อปี พ.ศ. 2449-2415 Alex Wickham ชาวเกาะโซโลมอนเป็นผู้ริเริ่มการว่ายน้ำแบบท่าวัดวาและเป็นผู้ครองตำแหน่งชนะเลิศของโลก ระยะทาง 50 หลา เขาได้กล่าวว่าเด็กโซโลมอนทุกคนว่ายน้ำแบบนี้ทั้งนั้น ต่อมาท่าว่ายน้ำแบบวัดวาจึงเป็นที่นิยมฝึกหัดกันโดยทั่วไป กีฬาว่ายน้ำได้จัดเข้าไว้ในการแข่งขันโอลิมปิกเมื่อปี พ.ศ. 2436 และ ได้จัดการแข่งขันมาจนถึงปัจจุบัน ด้วยเหตุดังกล่าวกีฬาว่ายน้ำก็ได้รับความสนใจจากคนทั่วไป และถือเป็นส่วนหนึ่งของการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก มีการพัฒนากีฬาว่ายน้ำให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้นเป็นลำดับ โดยมีผู้คิดแบบและประเภทของการว่ายน้ำเพื่อความสนุกสนาน และความตื่นเต้นในการแข่งขันมากขึ้น


ประวัติว่ายน้ำในประเทศไทย
 สมาคมว่ายน้ำสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ได้จดทะเบียนสมาคมต่อกรมตำรวจเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2502 ผู้ ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมว่ายน้ำฯคนแรกคือ พลเรือโท สวัสดิ์ ภูติอนันต์ ร.น. ในปีเดียวกันนี้สมาคมว่ายน้ำฯได้เข้าเป็นสมาชิกของสหพันธ์ว่ายน้ำนานาชาติ
ในปี พ.ศ. 2504 รัฐบาลได้อนุมัติเงินงบประมาณจำนวน 10 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างสระว่ายน้ำมาตรฐานขนาดความยาว 50 เมตร กว้าง 25 เมตร พร้อมทั้งที่กระโดดน้ำ และอัฒจันทร์คนดูจำนวน 5,000 ที่นั่ง ณ บริเวณสนามกีฬาแห่งชาติ และเปิดใช้ในการแข่งขัน เมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2506 เรียก ว่า สระว่ายน้ำโอลิมปิก (ปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อเป็นสระว่ายน้ำวิสุทธารามย์) และสมาคมว่ายน้ำฯได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกของสหพันธ์ว่ายน้ำแห่งเอเชียในปี พ.ศ. 2509
ปัจจุบัน กีฬาว่ายน้ำได้รับความสนใจจากประชาชนโดยทั่วไปอย่างกว้างขาวง ประกอบกับกระทรวงศึกษาธิการได้บรรจุกีฬาว่ายน้ำไว้ในหลักสูตรเกือบทุกระดับ โดยในปัจจุบันมีจำนวนสโมสรที่เป็นสมาชิกของสมาคมว่ายน้ำสมัครเล่นแห่งประเทศ ไทยถึง 56 สโมสร

กีฬาวอลเลย์บอล


กีฬาวอลเลย์บอล




ประวัติความเป็นมา กีฬาวอลเลย์บอล

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

          กีฬาวอลเลย์บอลเป็นอีกหนึ่งชนิดกีฬายอดนิยม ที่มีการแข่งขันระดับชาติ และนิยมเล่นกันอย่างแพร่หลาย จนถูกรวมเข้ากับหลักสูตรการเรียนการสอนชั้นมัธยมศึกษาในหลายโรงเรียน ซึ่งหลายคนก็คงอยากรู้จักกับกีฬาวอลเลย์บอลให้มากขึ้นเพื่อความสนุกในการชม และเชียร์กีฬาชนิดนี้ใช่ไหมเอ่ย ? วันนี้กระปุกดอทคอมมีข้อมูลของกีฬาวอลเลย์บอลมาฝากกันจ้า ..

ประวัติวอลเลย์บอล

          กีฬาวอลเลย์บอล (Volleyball) นั้น ถือกำเนิดขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ.1895 (พ.ศ.2438) โดย นายวิลเลียม จี. มอร์แกน (William G. Morgan) ผู้อำนวยการฝ่ายพลศึกษาของสมาคม Y.M.C.A. (Young Men's Christian Association) ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ต้องการมีกีฬาสำหรับเล่นในช่วงฤดูหนาวแทนกีฬากลางแจ้ง เพื่อออกกำลังกายและพักผ่อนหย่อนใจยามหิมะตก

          โดย นายวิลเลียม จี. มอร์แกน เกิดไอเดียในการพัฒนากีฬาวอลเลย์บอลขึ้น ขณะที่เขากำลังนั่งดูเทนนิส และเลือกนำเอาตาข่ายกลางสนามของกีฬาเทนนิส มาเป็นส่วนประกอบในกีฬาที่เขาคิดค้น และเลือกใช้ยางในของลูกบาสเก็ตบอล มาเป็นลูกบอลที่ใช้ตีโต้ตอบกันไปมา แต่ยางในของลูกบาสเก็ตบอลกลับให้น้ำหนักเบาจนเกินไป จึงเปลี่ยนไปใช้ลูกบาสเก็ตบอลแทน ซึ่งลูกบาสเก็ตบอลก็มีขนาดใหญ่และน้ำหนักมากจนเกินไปอีก เขาจึงสั่งทำลูกบอลขึ้นมาใหม่โดยเฉพาะ ในขนาดเส้นรอบวง 25-27 นิ้ว และกำหนดน้ำหนักไว้ที่ 8-12 ออนซ์ จากนั้นจึงตั้งชื่อกีฬาชนิดนี้ว่า มินโทเนตต์ (Mintonette)

          ต่อมา ชื่อของ มินโทเนตต์ (Mintonette) ถูกเปลี่ยนเป็น วอลเลย์บอล (Volleyball) หลังได้รับคำแนะนำจาก ศาสตราจารย์ อัลเฟรด ที เฮลสเตด (Professor Alfred T. Helstead) ในงานประชุมสัมมนาผู้นำทางพลศึกษาที่วิทยาลัยสปริงฟิลด์ (Spring-field College) เมื่อปี ค.ศ.1896 (พ.ศ.2439) และกลายเป็นกีฬายอดนิยมในหมู่ประชาชนชาวอเมริกัน จนแพร่หลายออกไปทั่วโลก รวมทั้งมีการปรับปรุงและพัฒนาอยู่เป็นระยะ

กติกาวอลเลย์บอล

สนามแข่งขัน

          -  จะต้องเป็นพื้นไม้หรือพื้นปูนที่มีลักษณะเรียบ ไม่มีสิ่งกีดขวาง

          -   เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 9 เมตร ยาว 12 เมตร ความสูงจากพื้นประมาณ 7 เมตร มีบริเวณโดยรอบห่างจากสนามประมาณ 3 เมตร

          -  แต่หากเป็นสนามมาตรฐานในระดับนานาชาติ กำหนดให้รอบสนามห่างจากสนามประมาณ 5 เมตร ด้านหลังห่าง 8 เมตร และมีความสูง 12.5 เมตร

          -  เส้นรอบสนาม (Boundary lines) ทุกเส้นจะต้องกว้าง 5 เซนติเมตร เป็นสีอ่อนตัดกับพื้นสนาม มองเห็นได้ชัดเจน

          -  เส้นแบ่งเขตแดน (Center line) ที่อยู่ตรงกลางสนาม จะต้องอยู่ใต้ตาข่าย หรือตรงกับเสาตาข่ายพอดี

ตาข่าย

          -  จะต้องมีความสูงจากพื้น 2.43 เมตร กว้าง 1 เมตร ยาว 9.5 - 10 เมตร

          -  ตารางในตาข่ายกว้าง 10 เซนติเมตร ผู้ติดไว้กับเสากลางสนาม

          -  ตาข่ายสำหรับทีมหญิงสูง 2.24 เมตร


ประวัติความเป็นมา กีฬาวอลเลย์บอล

ลูกวอลเลย์บอล

          -  เป็นทรงกลมมีเส้นรอบวงประมาณ 65-67 เซนติเมตร น้ำหนัก 260-280 กรัม

          -  ทำจากหนังสังเคราะห์ที่ยืดหยุ่นได้

          -  ซึ่งในการแข่งขันระดับโลกจะใช้ลูกบอล 3 ลูกต่อการแข่งขัน เพื่อความต่อเนื่องหากบอลออกนอกสนาม

ผู้เล่น

          -  ในทีมจะต้องมีผู้เล่นไม่เกิน 12 คน ผู้ฝึกสอน 1 คน ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน 1 คน เทรนเนอร์ 1 คน และแพทย์ 1 คน

          -  ผู้เล่นจะลงเล่นในสนามได้ครั้งละ 6 คน โดยแบ่งออกเป็นหน้าตาข่าย 3 คน และด้านหลังอีก 3 คน

          -  สามารถเปลี่ยนตัวผู้เล่นครั้งละกี่คนก็ได้ โดยผู้เล่นเดิมที่ถูกเปลี่ยนออก สามารถเปลี่ยนกลับมาเล่นในสนามได้อีก

          -  การแต่งกายในชุดแข่งขัน ต้องแต่งกายเหมือนกันทั้งทีม ประกอบไปด้วย เสื้อสวมคอ กางเกงขาสั้น ถุงเท้า และรองเท้าผ้าใบพื้นยางที่ไม่มีส้น โดยผู้เล่นแต่ละคนจะต้องติดหมายเลขกำกับไว้ที่เสื้อ กำหนดให้ใช้เลข 1-18 เท่านั้น สำหรับหัวหน้าทีมจะต้องมีแถบผ้าขนาด 8x2 เซนติเมตร ติดอยู่ใต้หมายเลขบริเวณอกเสื้อด้วย

ประวัติความเป็นมา กีฬาวอลเลย์บอล

วิธีการเล่น

          -  ทีมที่ได้เสิร์ฟ จะต้องให้ผู้เล่นที่อยู่ในตำแหน่งขวาหลัง เป็นผู้เสิร์ฟเพื่อเปิดเกม จากนั้นผู้เล่นทุกตำแหน่งจะขยับตำแหน่งวนไปตามเข็มนาฬิกา

          -  การเสิร์ฟจะต้องรอฟังสัญญาณนกหวีดก่อน และให้เริ่มเสิร์ฟลูกบอลภายใน 5 วินาที

          -  ทีมที่ได้คะแนนจะเป็นผู้ได้เสิร์ฟ จนกว่าจะเสียคะแนนให้ฝ่ายตรงข้ามจึงจะเปลี่ยนเสิร์ฟ

          -  เมื่อลูกเข้ามาในเขตแดนของทีม จะสามารถเล่นบอลได้มากที่สุด 3 ครั้งเท่านั้น

          -  สามารถบล็อคลูกบอลจากฝ่ายตรงข้ามที่หน้าตาข่ายได้ แต่หากผู้เล่นล้ำเข้าไปในแดนของฝ่ายตรงข้ามจะถือว่าฟาวล์

          -  สามารถขอเวลานอกได้ 2 ครั้งต่อ 1 เซต ให้เวลาครั้งละ 30 วินาที

          -  ทุกครั้งที่แข่งขันจบ 1 เซต จะต้องมีการเปลี่ยนฝั่ง

การคิดคะแนน

          -  ทีมจะได้คะแนนเมื่อลูกบอลตกลงในเขตสนามของฝ่ายตรงข้าม โดยนับเป็นลูกละ 1 คะแนน และหากมีการเสียคะแนน จะต้องเปลี่ยนให้ทีมที่ได้คะแนนเป็นผู้เสิร์ฟ

          -  หากทีมไหนได้คะแนนครบ 25 คะแนนก่อน ก็จะเป็นผู้ชนะในเซตนั้นไป แต่หากคะแนนเสมอกันที่ 24-24 จะต้องมีการดิวซ์ (Deuce) หมายถึงต้องทำคะแนนให้มากกว่าอีกฝ่าย 2 คะแนน ถึงจะเป็นผู้ชนะ เช่น 26-24 หรือ 27-25 เป็นต้น

          -  ต้องแข่งขันกันให้ชนะ 3 ใน 5 เซต จึงจะเป็นผู้ชนะในเกมนั้น

          และนี่คือข้อมูลคร่าว ๆ ของกีฬาวอลเลย์บอล เมื่อรู้จักกีฬาชนิดนี้กันแล้ว ก็อย่าลืมทำความเข้าใจกติกามารยาทในการแข่งขัน และเล่นกีฬากันอย่างมีน้ำใจนักกีฬากันด้วยนะจ๊ะ

กีฬาโบวลิ่ง


 กีฬาโบวลิ่ง


โบว์ลิ่ง เป็นกีฬาในร่มชนิดหนึ่งที่มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานมาก ซึ่งจากการรวบรวมข้อมูลจากหนังสือต่างๆ และจากเว็บไซท์ที่เกี่ยวกับโบว์ลิ่งนั้น ในแต่ละที่ก็ยังคงมีข้อมูลประวัติความเป็นมาของโบว์ลิ่งที่แตกต่างกันอยู่ บ้าง ซึ่งพอที่จะสรุปมาได้อ่านดังนี้
   จากหลักฐานที่ค้นพบโดยนักโบราณคดี ซึ่งพบในหลุมฝังศพของเด็กชาวอียิปต์ ทำให้เชื่อได้ว่าเมื่อประมาณ 5,200 ปีก่อนคริสต์ศักราช ชาวอียิปต์มีการละเล่นชนิดหนึ่งที่ใช้ก้อนหินกลมๆ กลิ้งไปโดนแก่นที่ทำด้วยไม้ให้ล้ม ซึ่งคล้ายกับการเล่นโบว์ลิ่งในปัจจุบันแต่ในสมัยนั้นจะเล่นกันกลางแจ้ง
   ซึ่งในยุคสมัยเดียวกันได้มีหลักฐานที่แสดงว่าชาว Polynesian ได้มีการเล่นเกมชนิดหนึ่ง โดยนำก้อนหินกลมๆกลิ้งไปให้โดนวัตถุซึ่งวางอยู่ห่างออกไปเป็นระยะทาง 60 ฟุต ซึ่งเป็นระยะทางที่เท่ากับระยะทางจาก foul line ไปถึง headpin ในปัจจุบัน
   นอกจากนั้นยังปรากฏหลักฐานที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับโบว์ลิ่งคือ นักประวัติศาสตร์ชาวเยอรมันเชื่อว่า ในเยอรมันได้มีการเริ่มเล่นโบว์ลิ่งในช่วงคริสต์ศักราช 300 โดยเป็นส่วนหนึ่งในพิธีการทางศาสนา ผู้เล่นจะโยนบอลให้กลิ้งไประหว่างทางเดินในโบสถ์เพื่อให้โดนเป้า เพื่อใช้เป็นการเสี่ยงทายบางอย่าง
   ได้มีหลักฐานที่ชัดเจนว่าช่วงคริสต์ศักราช 1366 โบว์ลิ่งได้เป็นที่นิยมเล่นกันแพร่หลายมากในอังกฤษ แต่กษัตริย์ Edward ที่ 3 ซึ่งครองราชในช่วงปีคริสต์ศักราช 1327-1377 และกษัตริย์ Richard ที่ 2 ซึ่งครองราชในช่วงปีคริสต์ศักราช 1377-1399 ทั้งสองพระองค์ได้ทรงเห็นว่าประชาชนและทหารไม่ได้เห็นความสำคัญของกีฬายิง ธนู จึงทรงออกกฏห้ามเล่นโบว์ลิ่ง เพื่อให้ประชาชนและทหารหันกลับมาสนใจกีฬายิงธนูเหมือนเดิม แต่อย่างไรก็ตามโบว์ลิ่งก็กลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้งในสมัย กษัตริย์ Henry ที่ 8
   โบว์ลิ่งได้เข้าสู่สหรัฐอเมริกา ในศตวรรษที่ 17 โดยชาวดัชที่อพยพจากฮอลแลนด์เป็นผู้นำเข้าไป พินที่ใช้จะมีทั้งหมด 9 พินวางเรียงกันเป็นรูปสามเหลี่ยมและได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ในปี 1840 ได้มีการเริ่มนำโบว์ลิ่งมาเล่นกันเป็นกีฬาในร่ม ต่อมาในปี 1841 มลรัฐ Connecticut ได้สั่งห้ามการเล่นโบว์ลิ่ง 9 พิน อย่างเด็ดขาดเพราะถือเป็นการเล่นการพนัน ซึ่งรัฐอื่นก็ถือปฏิบัติตามด้วย ทำใหโบว์ลิ่ง 9 พินเริ่มเสื่อมความนิยมลง หลังจากนั้นได้มีการคิดค้นโบว์ลิ่ง 10 พินขึ้นซึ่งทำให้สามารถเล่นกันได้อย่างถูกกฏหมายได้ในหลายมลรัฐเช่น New York,Ohio และ Illinois แต่อย่างไรก็ตามขนาดของพินและน้ำหนักของบอลก็ยังคงมีความแตกต่างกัน
   ปี 1875 ได้มีการประชุมโดยสโมสรต่างๆ จำนวน 11 สโมสร ที่ตั้งอยู่ในมลรัฐ New York เพื่อกำหนดมาตรฐานของอุปกรณ์การเล่น และกฏกติกาการแล่น แต่ยังไม่มีการกำหนดมาตรฐานความกว้างของเลนและขนาดของพิน
   การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอีกครั้งเมื่อเจ้าของภัตาคารชื่อ Joe Thum ได้เป็นตัวแทนเพื่อประสานความร่วมมือกับสโมสรโบว์ลิ่งในเขตต่างๆ ซึ่งทำให้เกิดการก่อตั้ง The American Bowling Congress (ABC) ขึ้นเมื่อวันที่ 9 กันยายน 1895 ที่ Beethoven Hall ในเมือง New York หลังจากนั้นจึงมีการกำหนดมาตรฐานและกฏเกณฑ์ต่างๆ เพื่อให้ถือปฏิบัติให้เหมือนกันขึ้นคือกำหนดให้คะแนนสูงสุดอยู่ที่ 300 ระยะห่างระหว่างพินคือ 12 นิ้ว
   ปี 1905 เป็นครั้งแรกที่ได้มีการผลิต rubber ball น้ำหนักสูงสุดคือ 16 pounds ซึ่งก่อนหน้านั้นจะเป็น ball แบบ lignum vitae ทั้งหมด
   ปี 1906 Brunswick-Balke-Collender ได้เปิดโรงงานเพื่อผลิตลูกโบว์ลิ่งที่ทำด้วยไม้
   ปี 1917 The Woman’s International Congress ได้กำเนิดขึ้นที่เมือง St. Louis
   ปี 1948 Brunswick ได้กำหนดให้มี dot และ arrow ขึ้นในเลนเพื่อช่วยให้เกิดความแม่นยำแก่ผู้เล่นมากขึ้น
   ปี 1958 ได้มีการก่อตั้ง The Professional Bowlers Association (PBA) ขึ้นโดย Eddie Elias
   ส่วนในประเทศไทยโบว์ลิ่งได้เข้ามาเผยแพร่เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2507 และมีการจัดตั้งเป็นสโมสรโบว์ลิ่งไทยโดยการนำของ พลตรีพระองค์เจ้าอนุสรณ์มงคลการ จุดประสงค์เพื่อเป็นการรวบรวมนักกีฬาโบว์ลิ่ง ต่อมาเปลี่ยนเป็นสโมสรโบว์ลิ่งแห่งประเทศไทยในปี พ.ศ. 2511 และได้จดทะเบียนกับกรมตำรวจ โดยได้รับใบอนุญาติเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2515 ใช้ชื่อว่า สมาคมโบว์ลิ่งไทย ต่อมาปี 2519 ได้เปลี่ยนเป็น สมาคมโบว์ลิ่งแห่งประเทศไทย โดยใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า Thailand Bowling Congress ปัจจุบันใช้คำว่า Thai Tenpin Bowling Congress (TTBC)

หนังสือ American Bowling Congress (ABC) และหนังสือของ Charles Hall กล่าวว่า ชาวอียิปต์ได้มีการเล่นกีฬาชนิดหนึ่งคล้ายกับการเล่นโบว์ลิ่งมาตั้งแต่ ประมาณ 5,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช โดยใช้ไม้เป็นแก่นและใช้ลูกหินกลมๆ กลิ้งไปทอยแก่นให้ล้ม ตามหลักฐานจากรูปภาพในหลุมฝังศพเด็กชาวอียิปต์ในสมัยนั้น
ชาวโปลิเนเซียน มีการเล่นอูลาไมก้า (Ula Maika) โดยกลิ้งก้อนหินไปให้ถูกเป้าซึ่งตั้งอยู่ห่างออกไป 60 ฟุต เท่ากับระยะจากเส้นฟาวล์ถึงพินหนึ่งของโบว์ลิ่งปัจจุบันนี้พอดี
เมื่อ ประมาณต้นคริสต์ศักราช ในประเทศเยอรมัน มีการเล่นกีฬาเคเกล (Kegal) ซึ่งคล้ายกับการเล่นโบว์ลิ่ง ต่อมา มาร์ติน ลูเธอร์ (Martin Luther) ผู้ตั้งนิกายโปรเตสเต้นท์ ได้กำหนดให้มี 9 พิน และได้แพร่หลายออกไปยังประเทศต่างๆ ในยุโรป ชาวอังกฤษดัดแปลงไปเล่นบนสนามหญ้า เรียกว่า Lawn Bowling และยังคงเป็นที่นิยมกันอยู่จนปัจจุบัน
      พ.ศ. 2166 สร้างโรงโบว์ลิ่งขึ้นเป็นครั้งแรก และมี 10 พิน เรียกชื่อใหม่ว่าโบว์ลิ่ง
      พ.ศ. 2495 ก่อตั้งสหพันธ์โบว์ลิ่งระหว่างประเทศ
ประวัติโบว์ลิ่งในประเทศไทย
     พ.ศ. 2507 ตั้งสโมสรโบว์ลิ่ง โดยการนำของพลตรีพระองค์เจ้าอนุสรณ์มงคลการและ หม่อมอุบล
      พ.ศ. 2512 ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง
      พ.ศ. 2513 ก่อตั้งสมาคมโบว์ลิ่งแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม
      พ.ศ. 2516 เป็นสมาชิกสหพันธ์โบว์ลิ่งระหว่างประเทศ เมื่อวันที่ 11 มกราคม

กีฬามวยไทย

      กีฬามวยไทย

   ศิลปะประเภทนี้มีมาตั้งแต่โบราณกาล บรรพบุรุษของชาติไทยได้ฝึกฝนอบรมสั่งสอนกุลบุตรไว้เพื่อป้องกันตัวและ ป้องกันชาติ บรรดาชายฉกรรจ์ของไทยได้รับการฝึกฝนวิชามวยไทยแทบทุกคน นักรบผู้กระเดื่องนามทุกคนต้องได้รับการฝึกฝนอบรมศิลปะประเภทนี้อย่างชัดเจน ทั้งสิ้น เพราะการใช้อาวุธรบในสมัยโบราณเช่น กระบี่ พลอง ดาบ ง้าว ทวน ฯลฯ ถ้ามีความรู้วิชามวยไทยประกอบด้วยแล้ว จะทำให้เกิดประโยชน์มากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยามที่เข้าสู้ติดพันประชิดตัวก็จะได้อาศัยใช้อวัยวะบาง ส่วนเข้าช่วย เช่น เข่า เท้า ศอก เป็นต้น แต่เดิมมาศิลปะมวยไทยที่มีชั้นเชิงสูงมักจะฝึกสอนกันในบรรดาเจ้านายชั้น ผู้ใหญ่หรือเฉพาะพระมหากษัตริย์และขุนนางฝ่ายทหารเท่านั้น ต่อมาจึงได้แพร่หลายไปถึงสามัญชน ซึ่งได้รับการถ่ายทอดวิทยาการจากบรรดาอาจารย์ ซึ่งเดิมเป็นยอดขุนพล หรือนักรบมาแล้ว วิทยาการจึงได้แพร่หลายและคงอยู่ตราบเท่าทุกวันนี้

          มวยไทยเป็นศิลปะการต่อสู้และป้องกันตัวแต่แตกต่างไปจากมวยสากล คือ นอกจากจะใช้หมัดชกคู่ต่อสู้แล้ว ยังสามารถใช้เท้าและศอกต่อสู้ได้อีก การใช้หมัดชกในแบบมวยไทย นอกจากจะมีการชกตรง ชกฮุก และอัปเปอร์คัท เหมือนกับแบบมวยสากลแล้ว มวยไทยยังมีการชกแบบหมุนตัว เหวี่ยงหมัดกลับถ้าคู่ต่อสู้ไม่ได้จ้องดูและไม่ก้มศีรษะลง มักจะถูกหมัดเหวี่ยงกลับของคู่ต่อสู้ถึงกลับน้อกเอ๊าท์ได้ หมัดเหวี่ยงกลับเป็นหมัดหนึ่งคล้ายกับหมุนตัวเหวี่ยงหมัดกลับ แต่ใช้ข้อมือหรือหลังมือทุบหรือต่อสู้ นักมวยไทยทั่ว ๆ ไปยังใช้วิธีการตามแบบชกตามแบบเหล่านี้อยู่และนอกจากนั้นยังใช้อวัยวะอย่าง อื่นช่วยได้อีกหลายวิธี เช่น ใช้เท้า เตะต่ำ เตะสูง เตะตรง และถีบ ซึ่งจะใช้ทั้งปลายเท้าฝาเท้า หลังเท้าและส้นเท้า นักมวยไทยมีความชำนาญมากในการใช้เท้า ส่วนใหญ่เป็นการเตะและถีบ ส่วนการใช้เข่า นักมวยไทยก็ใช้ได้หลายวิธีด้วยกัน เช่น กระโดดตีเข่า นอกจากนั้นยังรู้จักใช้ศอกซึ่งเต็มไปด้วยอันตรายอย่างยิ่ง วิธีตีศอกก็มีอยู่หลายวิธีด้วยกัน คือ ศอกตี หมายถึงกดปลายศอกลง โดยแรง ศอกตัด คือเหวี่ยงศอกขนานกับพื้น ศอกงัด คือ งัดปลายศอกขึ้นหรือยกปลายศอกขึ้น ศอกพุ่ง คือ พุ่งศอกออก ไปยังคู่ต่อสู้ ศอกกลับ คือ การหมุนตัวกลับพร้อมกับตีศอกตามแบบต่าง ๆ ไปด้วย
          การชกมวยไทยในสมัยโบราณเป็นการต่อสู้กันแบบตัวต่อตัว ต่อสู้กันจริง ๆ และหวาดเสียวตื่นเต้นมากกว่าสมัยนี้ นักมวยสมัยเก่าต้องใช้ด้ายดิบชุบแป้งให้แข็ง มักเล่ากันว่าใช้น้ำมันชุบเศษแก้ว เพื่อให้มีพิษสงยิ่งขึ้น แต่ก็ได้มีผู้คัดค้านว่าไม่เป็นความจริงที่จริงนั้นคือไปเอาด้ายผูกศพพันมือ ซึ่งมีน้ำเหลืองติดเป็นเหมือน ๆ แป้งชุบเศษแก้ว ทั้งนี้เพราะต้องการความขลัง ชนะคู่ต่อสู้ได้ในทางจิตใจมากกว่า ด้ายสายสิญจน์เป็นเส้นขนาดดินสอดำ พันมือตั้งแต่สันมือถึงข้อศอก และพันรัดเป็นปมทางด้านหลังของข้อมือ ( สันหมัด ) เป็นรูปก้นหอยเรียกว่า “ คาดเชือก ” ซึ่งไม่มีการสวมนวมเหมือนๆ อย่างสมัยปัจจุบัน ฉะนั้นก็แน่นอนทีเดียวว่าจะทำให้เลือดซึมออกมาทันที ในสมัยก่อนเมื่อครั้งยังไม่มีกติกาข้อห้ามมากนักกับทั้งไม่รัดกุมเหมือนสมัย ปัจจุบัน นักมวยทั้งสองฝ่ายจะต้องต่อสู้กันอย่างระมัดระวังศีรษะก็ใช้ชนคู่ต่อสู้ เพียงแต่ห้ามกัดกันเท่านั้น ต่อมาได้แก้ไขปรับปรุงกติกาการแข่งขันเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
          การแข่งขันมวยไทยในปัจจุบันนี้ นักมวยต้องสวมนวมขนาด 4 ออนซ์ และแต่งกายแบบนักกีฬามวย คือ สวมกางเกงขาสั้น สวมกระจับ ส่วนผู้ใดจะสวมปลอกรัดข้อเท้าและจะมีเครื่องรางของขลังผูกไว้ที่แขนท่อนบนก็ ได้ ในการแข่งขันมีผู้ตัดสินชี้ขาดบนเวที 1 คน มีผู้ตัดสินให้คะแนนอยู่ข้างเวที 2 คน มีผู้จับเวลา 1 คน และมีแพทย์ประจำเวที 1 คน จำนวนยกในการแข่งขัน ทั้งหมดมี 5 ยก ยกละ 3 นาที พักระหว่างยก 2 นาที การแข่งขันแบ่งเป็นรุ่นตามน้ำหนักของนักมวยเหมือนกับหลักเกณฑ์ของนักมวยสากล ผู้ตัดสินมีอำนาจหน้าที่ตามกติกาการแข่งขัน อวัยวะที่ใช้ในการแข่งขันได้ คือ หมัด เท้า เข่า และศอก เข้าชก เตะ ถีบ ทุบ ถอง ตี ฯลฯ     ได้ทุกส่วนของร่างกายโดยไม่จำกัดที่ชก
          ก่อนการแข่งขันนักมวยทั้งสองจะทำการไหว้ครูและร่ายรำ คือ กราบสามครั้งเพื่อระลึกถึงบิดามารดา ครูบาอาจารย์ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพนับถือ ตลอดจนขอคุณพระศรีรัตนตรัยหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้มาช่วยคุ้มครองตน และขอให้ได้ชัยชนะด้วยความปลอดภัยในที่สุด แล้วจึงร่ายรำไปรอบ ๆ เวทีตามแบบฉบับของครูที่ได้สอนไว้ให้โดยตลอด นักมวยทุกคนจะสวม “ มงคล ” ที่ศีรษะมงคลนี้ทำด้วยเส้นด้ายดิบหลายเส้นรวมกันแล้วพันหุ้มด้ายผ้าโตขนาด นิ้วมือ ทำเป็นรูปวงเพื่อสวมศีรษะ การสวมมงคลไว้ก่อนแข่งขันนี้เป็นขนบธรรมเนียมของประเพณีไทยถือว่าเป็นสิ่ง ศักดิ์สิทธิ์ซึ่งครูอาจารย์ได้ทำพิธีปลุกเสกและให้ความเป็นสิริมงคลไว้แก่ตน ฉะนั้น นักมวยจะสวมมงคลไว้ตลอดเวลาที่ทำการไหว้ครูและร่ายรำ และจะถอดออกจากศีรษะได้ในเมื่อจะเริ่มการแข่งขัน ในระหว่างการไหว้ครูและร่ายรำนั้นจะมีดนตรีบรรเลงประกอบตามทำนองดนตรีไทย เป็นจังหวะช้า ๆ เครื่องดนตรีเหล่านั้นได้แก่ ปี่ชวา 1 กลองแขก 2 และฉิ่ง 1 เมื่อถอดมงคลออกแล้ว กรรมการผู้ชี้ขาดจะให้นักมวยทั้งสองมาจับมือกัน ซึ่งเป็นการแสดงถึงการมีน้ำใจเป็นนักกีฬาพร้อมกันนั้นก็จะตัดเตือนกติกา สำคัญๆ อันเกี่ยวกับการแข่งขันให้นักมวยทั้งสองได้ทราบครั้นเมื่อการต่อสู้ได้เริ่ม ขึ้นอย่างจริงจังแล้ว ดนตรีก็บรรเลงในทำนองเร่งเร้าให้นักมวยทั้งสองเกิดความรู้สึกฮึกเหิมและมุ่ง เข้าต่อสู้กันอย่างดุเดือด การร่ายรำและต่อสู้โดยมีดนตรีประกอบนั้น นอกจากจะถือว่าเป็นศิลปะแล้วยังเป็นประเพณีอันดีงามของชาวไทยมาแต่โบราณกาล จนไม่อาจจะทิ้งให้สูญหายไปเสียได้
          ในปัจจุบัน การแข่งขันมวยไทยเป็นกีฬาอาชีพโดยสิ้นเชิง เฉพาะในกรุงเทพฯ มีการแข่งขันเป็นประจำเกือบทุกวัน ๆ 2 รอบ ก็มี สำหรับการควบคุมมวยอาชีพขึ้นอยู่กับกฎข้อบังคับของกระทรวงมหาดไทยและไม่มี สมัครเล่นมวยสากลที่มิใช่อาชีพก็มีเพียงการฝึกสอนในสถาบันการพลศึกษา เท่านั้น ทั้งนี้เพื่อมิให้ศิลปะมวยไทยสูญหายไปและเพื่อรักษาไว้ซึ่งการกีฬาประจำชาติ อันเป็นศิลปะในการต่อสู้ชาวต่างประเทศที่มีโอกาสได้มาท่องเที่ยวในประเทศไทย ก็มักจะไม่ยอมพลาดโอกาสที่ไปชมการแข่งขันมวยไทยจะต้องพยายามเข้าชม แข่งขันมวยไทยให้ได้ ปรากฏว่าเป็นที่สนใจของชาวต่างประเทศมาก เพราะมวยไทยมีวิธีการชกที่แปลกที่สุดในโลก และยิ่งกว่านั้นนักมวยไทยยังได้เคยเดินทางไปแสดงในต่างประเทศหลายครั้งจน เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายทั่วไป

กีฬามวยสากล

        กีฬามวยสากลสมัครเล่น

       เป็นศาสตร์และศิลป์ ที่ว่าเป็นศาสตร์เพราะเป็นวิชาการที่ทุกท่านอาจจะศึกษาหาความรู้ได้ เช่น วิชาแขนงอื่นๆ และที่ว่าเป็นศิลป์ก็เพราะว่า ศิลปะแขนงนี้ช่างมากไปด้วยกลยุทธ์และลวดลายซึ่งยากที่จะเรียนรู้และปฏิบัติ ไปอย่างเจนจบ ศิลปะอย่างสูงของนักมวยคนหนี่งยากที่นักมวยอีกคนหนึ่งจะพึงปฏิบัติสืบทอดกัน ต่อไปได้ ดังที่ทุกท่านตระหนักดีอยู่ว่ามวยเป็นศิลปะของการต่อสู้ป้องกันตัวอย่าง หนึ่งตามธรรมชาติสืบทอดกันต่อไป ปัจจุบันมีมวยใหญ่อยู่ 2 ชนิดคือ มวยปล้ำ และมวยชก เพื่อนบ้านชกด้วยหมัดอย่างเดียวกัน อันเป็นที่นิยมกันทั่วโลก เรียกว่ามวยสากล

          มวยสากลนั้นมีมานานแล้วตามหลักฐาน ซึ่ง เซอร์ อาเซอร์ อีแวน ได้ค้นพบเศษรูปสลักของนักมวยโบราณซึ่งแยกออกเป็นชิ้น ๆ ในปี ค.ศ. 1900 ที่เมืองบอชชุส อันเป็นโบราณสถานที่เก่าแก่แห่งหนึ่งในเกาะครีต ของประเทศกรีช ทางตะวันออกของทะเลเมติเตอร์เรเนียน จากหลักฐานอันนี้ทำให้ทราบว่ามวยโบราณในสมัยกรีช ก่อนคริสตกาล ซึ่งพอจะแบ่งออกได้เป็น 3 ระยะ
          ระยะแรก ในสมัยของ โอมเมอร์ ประมาณ 600 – 300 ก่อนคริสตศักราช สมัยนั้นใช้หนังอ่อน ๆ ยาว 10 – 12 ฟุต พันตั้งแต่ข้อมือถึงข้อศอก จุดประสงค์เพื่อเป็นเครื่องป้องกันมือของผู้ชก กติกาก็มีเพียงเล็กน้อยแต่ยุติธรรม มีความเข้มแข็ง กล้าหาญ ทนทาน และผีมือดี จึงจัดว่าเป็นสิ่งสำคัญ
          ระยะที่สอง ระหว่าง 200 – 400 ปีก่อนคริสตศักราช มีการดัดแปลงไปเล็กน้อย คือการพันมือนั้นแน่นและหนักขึ้นกว่าเดิม และเป็นกีฬาที่นิยมกันมากที่สุดในสมัยนี้ ผู้เข้าแข่งนักกีฬาโอลิมปิกจะต้องเข้าค่ายฝึกอยู่อย่างน้อย 9 เดือน เมื่อจวนถึงวันแข่งขันจริง ก็มีการจับคู่คล้ายๆ กับในปัจจุบัน แข่งขันเวลาเที่ยงวันขณะดวงอาทิตย์อยู่ตรงศีรษะพอดี ซึ่งบรรยากาศตอนนั้นกำลังหรือล้มลง หรือยอมแพ้ ไม่มีผู้ตัดสินไม่มีการกำหนดน้ำหนัก ส่วนมากจึงมีแต่นักมวยรุ่นที่หนักที่สุด ซึ่งปัจจุบันนี้เรียกว่า รุ่นเฮฟวี่เวท
          ระยะที่สาม ระหว่าง 400 ปีก่อนคริสตศักราช ลงมาจนถึงสมัยโรมันรุ่งเรือง สมัยนี้การชกมวยเป็นการต่อสู้ของพวก GIADIATORS ซึ่งอาจจะตายไปข้างหนึ่ง ต่อมาในราวปื ค. ศ. 394 โรมัน เสื่อมอำนาจลงการชกมวยก็ได้เสื่อมสูญไปด้วย
          ตอนโรมันเข้ายึดครองอังกฤษ ได้นำเอามวยไปเผยแพร่ในอังกฤษด้วย นักบุญ เบอร์นาด ได้เขียนเรื่องมวยในประเทศอิตาลีไว้อย่างละเอียด ในปี ค.ศ. 1240 ตอนหนึ่งท่านกล่าวว่า มวยเป็นกีฬาประเภทหนึ่งที่ฝึกคนให้เป็นอัศวิน

กีฬามวยปล้ำ

 กีฬามวยปล้ำ






เป็นกีฬาที่เก่าที่สุดอย่างหนึ่ง เพราะก่อนที่มนุษย์จะรู้จักการใช้อาวุธ เช่น หอก ขวาน หรือธนู เพื่อเอาไว้สู้กับสัตว์ร้ายนั้นมนุษย์จะต้องฝึกหัดมวยปล้ำไว้เพื่อป้องกัน ตัวจากสัตว์ร้ายหรือพวกมนุษย์ด้วยกันเอง อย่างไรก็ตาม มวยปล้ำที่กล่าวนี้แตกต่างไปจากมวยปล้ำในปัจจุบัน เพราะไม่ใช่กีฬาฝึกในเวลาว่าง หรือเพื่อผ่อนคลายอารมณ์ในสังคม มวยปล้ำสมัยแรกเริ่มนั้นฝึกกันเพื่อความอยู่รอดในการดำรงชีวิต ทั้งชีวิตของตัวเองและชีวิตของสมาชิกในครอบครัว ยิ่งกว่านั้นมวยปล้ำยังช่วยให้สามารถหาอาหารได้
          เมื่อมนุษย์เรียนรู้การใช้ประโยชน์จากไฟ การเพาะปลูก การเลี้ยงสัตว์ และการทำเครื่องมือจากโลหะ บทบาทของมวยปล้ำก็เปลี่ยนไป มวยปล้ำกลายเป็นสิ่งที่ให้ความบันเทิง ผู้ชายจะมาเล่ามวยปล้ำเพื่อทดสอบความแข็งแรง และเพื่อจะเป็นผู้ที่แข็งแรงที่สุดในกลุ่มเสมอ โดยใช้มวยปล้ำในการคัดเลือกหัวหน้าเผ่าหรือแม่ทัพในการทำสงคราม ผู้ที่ชนะเลิศในการปล้ำ จะได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้แข็งแรงที่สุด และได้รับการโห่ร้องแสดงความยินดีจากคนทั่วไปบางครั้งถึงกับประพันธ์เป็น เพลงร้องสรรเสริญ หรือแต่งเป็นตำนานเล่าต่อๆ กันมาหรือสร้างเป็นอนุสาวรีย์
          ยุคก่อนประวัติศาสตร์มนุษย์ต้องเตรีมการต่อสู้ป้องกันตัวจากสัตว์ร้ายและต้องมีกำลังพอที่จะต้องต่อสู้อย่างเข้มแข็ง
          มวยปล้ำกลายมาเป็นกีฬาเมื่อโลกเข้าสู่ยุคอารยะ โดย S.A. Sperider ค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2481 ว่ากีฬามวยปล้ำเริ่มในยุคเมโสโปเตเมีย
          สิ่งที่กล่าวมาแล้วยืนยันได้จากภาพเขียนและภาพแกะสลักรูปมวยปล้ำในท่าต่างๆ มากมายที่ผนังของวิหาร และสุสานเบนิ ฮัสซาน (Beni Hassan) จำนวน 200รูป ในประเทศอียิปต์ภาพเขียนที่ผนังถ้ำก็มีภาพของการปล้ำทางแถบลุ่มแม่น้ำ 2 สาย ก็มีผู้พบรูปมวยปล้ำในวิหารคยาฟาเจ (Kyafaje) ใกล้ๆ กับเมืองแบกแดด ประเทศอิรัก รูปมวยปล้ำที่พบนี้เป็นฝีมือของชาวสุเมเรียน ซึ่งเป็นชนชาติที่หายสาปสูญไปนานแล้ว และที่เกาะครัตก็ได้พบภาพเขียนรูปมวยปล้ำที่แจกันซึ่งมีความเก่าแก่ไม่น้อย กว่า 1,600 ปีก่อนคริสต์ศักราช
          นอกจากหลักฐานซึ่งเป็นภาพวาด ภาพแกะสลัก หรือรูปหล่อดังที่กล่าวมาแล้วก็ยังมีพงศาวดาร ตำนาน กาพย์ โคลง หรือเรื่องที่เล่าต่อกันมาเกี่ยวกับมวยปล้ำ เช่นพงศาวดารมวยปล้ำของบาบิโลเนีย และแอสซีเรีย ได้บันทึกไว้ว่ามวยปล้ำมีขึ้นในอาณาจักรทั้งสองนี้มากว่า 2,000 ปีก่อนคริสตศาสนา พงศาวดารดังกล่าวได้พรรณนาไว้ในโคลงเรื่องจิลกาเมซ ซึ่งเป็นนิยาย โบราณที่เล่าถึงการผจญภัยอย่างห้าวหาญของจิลกาเมซ ผู้เป็นพระราชาครองนครอูที่มีรูปร่างสูงใหญ่ถึง 16 ฟุต เดิมเป็นคนเลี้ยงแกะอยู่ใกล้กับนครอู มีนิสัยพาลเกเร พระเจ้าต้องการสั่งสอนให้เขาสำนึกผิด จึงเนรมิตคนป่าชื่อเอ็นกิดูให้มาสู้กับจิลกาเมซ เอ็นกิดูจึงเดินทางรอนแรมไปนครอู และท้าทายให้จิลกาเมซมาสู้กันด้วยเชิงมวยปล้ำ จิลการเมซรับคำท้าทายแล้วมาสู้กันที่ตลาด ทั้งสองฝ่ายต่อสู้กันอย่างดุเดือด แต่ก่อนที่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะพ่ายแพ้พระผู้เป็นเจ้าก็ปรากฏตัวออกมาให้เห็น แล้วให้คนทั้งสองคนดีกัน จิลกาเมซและเอ็นกิดูกอดคอกันเป็นเพื่อนตาย แล้วออกพจญภัยไปทั่วอาณาจักรจนกลายมาเป็นพระราชาแห่งนครอู
          ยิวซึ่งเป็นชาติเก่าแก่ที่มีหลักฐานว่าได้เล่นมวยปล้ำในสมัยเดียวกับชาวสุเม เรียน โดยมีหลักฐานยืนยันในโอลดี เทศทาเมนต์ ตอนที่ 32 ภาคเยเนซิสว่า เมื่อยาค็อบถูกละทิ้งไว้เดียวดาย แล้วยาค็อบก็ได้ปล้ำกับชายคนหนึ่งจนถึงรุ่งเช้า ทันใดนั้นศัตรูของยาค็อปก็บันดาลร่างเป็นเทพยดาในมหากาฬย์ของโฮเมอร์ (Homer) ซึ่งนักประวัติศาสตร์ใช้เป็นหลักฐานทำให้ทราบเรื่องราวต่างๆ ของกรีซสมัยประวัติศาสตร์ เพราะตัวเอกของเรื่องมีความสามารถในเรื่องมวยปล้ำ นอกจากนี้ยังมีเรื่องเล่าถึงนักมวยปล้ำที่ยิ่งใหญ่ของกรีซคือ ไมโล แห่งโครตอน ซึ่งชนะเลิศในโอลิมปิกเกมส์ถึง 5 ครั้ง การฝึกของเขาเป็นที่กล่าวกันว่าเขาแบกลูกวัวไปรอบๆ สนามซึ่งเป็นแบบอย่างเบื้องต้นของการฝึกยกน้ำหนักในปัจจุบัน เพราะลูกวัวจะโตขึ้นเรื่อยๆ เป็นการเพิ่มน้ำหนัก ร่างกายของไมโลก็จะแข็งแรงขึ้น เพื่อที่จะรับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นของลูกวัว ประมาณ 900 ปี ก่อนคริสตศาสนา ราชโอรสของยีอุส กษัตริย์แห่งเอเธนส์ ได้พยายามหามาตรฐานกติกากีฬามวยปล้ำ
          มวยปล้ำทางเอเชียก็เป็นที่นิยมแพร่หลายตั้งแต่สมัยโบราณเช่นกันโดยเฉพาะใน เอเชียกลาง และเอเชียไกล ตามหลักฐานแสดงว่าภูมิภาคแถบนี้มีการเล่นมาอย่างน้อย 5,000 ปี ที่มองโกเลีย และจีน มวยปล้ำเป็นการแสดงทางพิธีศาสนาตามที่พงศวดารได้บันทึกเป็นหลักฐานว่า การแข่งขันมวยปล้ำในญี่ปุ่นมีก่อนคริสต์ศาสนา ซึ่งมีเรื่องที่เป็นตำนานเล่ากันต่อมา นานมาแล้วพระอาทิตย์ไม่ยอมส่องแสงมายังโลก โดยซ่อนตัวอยู่ในถ้ำลึกที่เต็มไปด้วยความชึ้นแฉะบริเวณภูเขาไฟฟูจิยามา เมื่อมนุษย์ สัตว์ และพืชทั้งหลายขาดแสงอาทิตย์ ก็ไม่สามารถที่จะดำรงชีวิตอยู่ได้ ดังนั้นประชาชนต่างก็เอาของกำนัลที่มีค่า และเครื่องสังเวยต่างๆ มากมายมาบวงสรวง
          บางพวกก็สวดมนต์อ้อนวอนเพื่อให้พระอาทิตย์เกิดความสงสารจะได้เปลี่ยนความ ตั้งใจเดิม แต่ทุกสิ่งที่ทำไปก็ไร้ประโยชน์ ความมืดยังปกคลุมโลกอยู่ทั่วไป ในที่สุดก็มีผู้แนะนำให้จัดมวยปล้ำระหว่างผู้ที่แข็งแรงที่สุดของเกาะเพื่อ บวงสรวง เพราะทราบว่าพระอาทิตย์สนใจและชอบดูมวยปล้ำ ฉะนั้นซูโม่จึงได้ถูกจัดขึ้นทำให้พระอาทิตย์ไม่สามารถจะทนความยั่วยวนในสิ่ง ที่ตนชอบในถ้ำได้ จึงออกมาจากถ้ำทำให้มนุษย์ สัตว์ และพืช ได้รับแสงสว่างอีกครั้งหนึ่ง
          ส่วนทางอินเดียก็มีการแข่งขันมานานราว 2,000 ปี ที่ตุรกีมวยปล้ำก็เป็นกีฬาประจำชาติแม้กระทั่งปัจจุบันนี้ ตุรกีก็ยังคงนิยมการเล่นมวยปล้ำอยู่ และสามารถครองแชมป์มวยปล้ำในกีฬาโอลิมปิกไว้เสมอ
          ในปี 648 ก่อนคริสตศักราช แพนคราตั้น (Pancratun) ก็ถูกนำเข้ามาแข่งขัน ซึ่งแพนคราตั้นสามารถเตะ ต่อย และเหวี่ยงได้ ซึ่งเป็นแบบหนึ่งของมวยปล้ำที่ได้รับความนิยมมาก การแข่งขันครั้งนี้ทำให้การกีฬาตกต่ำ เพราะนำไปสู่กีฬาอาชีพและมีการติดสินบนเพื่อการแพ้ชนะด้วย
          กีฬามวยปล้ำเริ่มได้รับความสนใจในสมัยกลางอีกครั้งหนึ่ง หลังจากซบเซาในยุคมืดและได้รับความนิยมมากในศตวรรษที่ 18 มีบันทึกเรื่องราวที่กล่าวถึงมวยปล้ำมากมาย รวมทั้งเรื่องเล่าเกี่ยวกับการต่อสู้มวยปล้ำระหว่างพระเจ้าเฮนรี่ที่ 8 ของอังกฤษ กับพระเจ้าฟรานซิสที่ 1 ของฝรั่งเศส ที่สนามโคลัช ออฟโกลด์ ซึ่งกีฬามวยปล้ำได้รับความสนใจในส่วนต่างๆ ของโลก โดยเฉพาะทางตะวันตกของยุโรปสหรัฐอเมริกา และดินแดนที่ชาวยุโรปเข้าไปตั้งหลักแหล่ง มีการจัดชิงแชมเปี้ยนตามภาคพื้นต่างๆ ของโลก มวยปล้ำจึงเป็นกีฬาที่ทำให้เกิดกีฬาการต่อสู้หลายๆ ประเภทในเวลาต่อมา
มวยปล้ำในกีฬาโอลิมปิก
         Baron Pia De Coubatin ชาวฝรั่งเศส เป็นผู้ฟื้นฟูกีฬาโอลิมปิกขึ้นมาใหม่ โดยครั้งแรกจัดที่กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ ในปี พ.ศ. 2439 แต่มวยปล้ำก็ยังไม่ได้เป็นกีฬาที่ใช้แข่งขัน จนกระทั่งโอลิมปิก ครั้งที่ 3 ในปี พ.ศ. 2447 ซึ่งจัดที่เมืองเซนต์หลุยส์ รัฐมิสซูรี่ สหรัฐอเมริกา มวยปล้ำจึงเป็นกีฬาที่อยู่ในการแข่งขันด้วยและมีในการแข่งขันโอลิมปิกเรื่อย มาจนกระทั่งปัจจุบัน ซึ่งการแข่งขันมวยปล้ำในกีฬาโอลิมปิกมีถึง 3 แบบคือ ฟรีสไตล์ เกรโกโรมัน และแซมโบ ดังนั้นเหรียญสำหรับกีฬาประเภทนี้จึงมีถึง 30 เหรียญ
          ในเอเชียมวยปล้ำเริ่มเป็นกีฬาในการแข่งขันเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 2 ซึ่งประเทศฟิลิปปินส์ เป็นเจ้าภาพ โดยจัดให้มีการแข่งขัน 2 ประเภทคือ แบบฟรีสไตล์และแบบเกรโกโรมัน ซึ่งการแข่งขันมวยปล้ำในเอเชียนเกมส์ก็ยังคงมีอยู่จนกระทั่งปัจจุบัน
ข้อมูลจาก การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.)


มวยปล้ำ

กีฬายกน้ำหนัก

                                                     กีฬายกน้ำหนัก
        
        ในยุคเริ่มต้นไม่ได้เป็นกีฬาอย่างที่เข้าใจกันในปัจจุบัน สังคมในยุคโบราณ จะมีเรื่องราวของการท้าทาย การต่อสู้ หรือการแข่งขันของกลุ่มชนเผ่าเดียวกัน หรือต่างเผ่า ซึ่งดูเป็นเรื่องปกติ ทั่วไป คนที่มีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง ต่างพยายามแสดงออกถึงความสมบูรณ์แข็งแรงของตนในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งเป็นความพยายามที่ต้องการแสดงออกว่าใครแข็งแรงกว่ากัน วิธีการวัดความแข็งแรงในสมัยนั้นมีหลายรูปแบบ เช่น การแบกลูกวัว การยกถุงทราย การยกหิน หรือการยกเหล็ก เป็นต้น รูปแบบวิธีวัดความแข็งแรงของร่างกายในแต่ละยุคแต่ละสมัยได้พัฒนารูปแบบท่า ทางในการยกที่แตกต่างกันออกไป
          จากบันทึกในตำนานขอ งกรีก สามารถยืนยันได้ถึงการแข่งขันความแข็งแรงของคนในสมัยโบราณว่า ผู้ที่แข็งแรงที่สุดในสมัยนั้น คือ มิโลแห่งโครตัน (Milo of Croton) ซึ่งเป็นผู้ที่สามารถชนะ
          การแข่งขันในกีฬาโอลิมปิคโบราณถึงหกครั้งด้วยกัน มิโลแห่งโครตันมีวิธีการฝึกให้คนมีความแข็งแรง ด้วยการแบกลูกวัวไว้บนบ่า เมื่อลูกวัวโตและมีน้ำหนักมากขึ้นก็จะทำให้มิโลแห่งโครตันมีพละกำลังมากขึ้น ตามไปด้วย นอกจากนี้ ยังพบอีกว่าประมาณต้นศตวรรษที่สิบเก้าในทวีปยุโรปได้มีกองคาราวานของละคร สัตว์ตระเวนไปค้าขายแข่งขันหาคนที่แข็งแรงด้วยการยกของหนัก ๆ ตามชุมชนต่าง ๆ โดยใช้ดัมเบล (Dumb-bells) ที่มีคานยาวและมีตุ้มน้ำหนักติดแน่น การที่คณะละครสัตว์ตระเวนไปแข่งขันตามชุมชนต่าง ๆ แสดงว่าในแต่ละชุมชนนั้น มีคนที่สนใจในด้านนี้อยู่เสมอ การยกน้ำหนักจำนวนมาก ๆ นั้นจำกัดเฉพาะพวกที่ห้าวหาญ และได้รับความนิยมในกลุ่มของนักแสดง นักกายกรรมในคณะละครสัตว์เท่านั้น (Ford Movis. n.d.: 217-219)

          ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์การแข่งขันกีฬาชนิดต่าง ๆ ไม่มีการแข่งขันกีฬาใดที่จะมี ประวัติศาสตร์อันยาวนานเท่ากับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิคชาวกรีก (กรีซ) เป็นประเทศแรกที่จัดการแข่งขันขึ้น เมื่อก่อนคริสตกาล การแข่งขันได้ดำเนินเรื่อยมาจนถึงพระเจ้าจักรพรรดิโรมัน ทรงพระนามว่า ซีโอโดซิอุส (Theodosius) ได้มีกระแสรับสั่งให้ระงับการแข่งขันเมื่อปี ค. ศ. 392 กีฬาโอลิมปิคถือว่าเป็นกีฬาที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ในสมัยกรีกโบราณที่จัดขึ้นทุกสี่ปีเพื่อเป็นการสักการะบูชาเทพเจ้าซีอุส (Zeus) (วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม, 2537 : 554)
          การแข่งขันกีฬาโอลิมปิคนับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อประวัติศาสตร์ของกรี กโบราณและ กรุงโรม ประเทศอิตาลี เพราะทั้งสองประเทศเป็นอาณาจักรที่เรืองอำนาจที่สุดในโลก ในขณะนั้นการแข่งขันกีฬาโอลิมปิค มีการจดบันทึกไว้เป็นหลักฐานว่า เริ่มการแข่งขันเมื่อ 76 ปี ก่อนคริสตกาลเป็นครั้งแรก ทั้งนี้ ในครั้งนั้นได้รับการส่งเสริมสนับสนุนจากพระเจ้าคลิโฮสเชเนส กษัตริย์แห่งเมืองปิซา พระเจ้าลิเคอร์กุส กษัตริย์แห่งสปาร์ตา และพระเจ้าอิฟิตุส กษัตริย์แห่งเมืองเอลิส หลายศตวรรษต่อมาได้เริ่มมีการพัฒนาการแข่งขันยิ่งขึ้น โดยได้เริ่มการเขียนกฎเกณฑ์การแข่งขันขึ้น เพื่อจะควบคุมการแข่งขันนั้นให้เกิดเป็นระเบียบ มีความยุติธรรม เช่น การขว้างจักร ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการมีพลังแข็งแกร่ง อดทน และแข็งแรงในยุคนั้น บุคคลใดสามารถขว้างจักรได้ไกลที่สุด ย่อมได้รับยกย่องให้เป็นนักกีฬาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของประเทศนั้น (จรินทร์ ธานีรัตน์ 2511 : 4)
          ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าการแข่งขันกีฬาโอลิมปิคครั้งแรกมีกีฬาประเภทใดบ้าง นอกจากการแข่งขันวิ่งที่จัดให้มีการแข่งขันขึ้น ต่อมาก็จัดให้มีการแข่งขันมวยปล้ำ การกระโดดและกีฬามวย การแข่งขันกีฬาโอลิมปิคที่ประเทศกรีก (กรีซ) ได้พัฒนาและเจริญรุ่งโรจน์ถึงขีดสูงสุดเมื่อ 464 ปี ก่อนคริสตกาล ในขณะนั้นประเทศกรีก (กรีซ) ได้รวมประเทศเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแล้ว และทุก ๆ เมือง ทุก ๆ ท้องถิ่น ต่างมีความประสงค์อย่างยิ่งที่จะมีแชมป์เปี้ยนโอลิมปิคในเมืองของตน การแข่งขันกีฬาโอลิมปิคได้ดำเนินเรื่อยมา จนกระทั่งมาหยุดชะงักลงเมื่อปี พ. ศ. 2459 (ค. ศ.1916) อันเนื่องมาจากเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 นับเป็นอุปสรรคสำคัญในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิค
          ประวัติการแข่งขันกีฬายกน้ำหนักในประเทศกรีก (กรีซ) เริ่มขึ้นเมื่อ พ. ศ.2439 (ค. ศ.1896) เป็นครั้งแรก จัดขึ้นที่กรุงเอเธนส์ ประเทศเจ้าภาพได้รับเหรียญจากการแข่งขันกีฬายกน้ำหนักเพียง 2 เหรียญทองแดง (เหรียญบรอนซ์) สำหรับสหพันธ์ยกน้ำหนักของประเทศกรีซ มีชื่อเรียกว่า Hellenic Weightlifting Federation : HWF . ก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อ พ. ศ.2515 ( ค. ศ. 1972) โดยรวมอยู่กับสหพันธ์มวยปล้ำ
          การ แข่งขันกีฬายกน้ำหนักในรูปแบบปัจจุบันที่ใช้บาร์เบล เริ่มในศตวรรษที่ 19 ในยุโรปตะวันตก เป็นการแสดงของบุรุษผู้ทรงพลังในโรงละครสัตว์และโรงแสดงการดนตรี เมื่อปี พ . ศ.2448 (ค. ศ.1905) นี้เองถือว่า เป็นปีเริ่มต้นที่ก่อตั้งสหพันธ์ยกน้ำหนักนานาชาติขึ้นเป็นครั้งแรก แต่การแข่งขันก็ขาดช่วงไปหลายปี จนกระทั่งปี พ. ศ.2463 (ค. ศ.1920) การแข่งขันกีฬายกน้ำหนักก็ถูกรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่ โดยได้บรรจุเข้าในการ แข่งขันกีฬาโอลิมปิคอีกครั้งหนึ่ง จนกระทั่งถึงปัจจุบันกฎเกณฑ์การแข่งขันกีฬายกน้ำหนักในระยะแรกอยู่ภายใต้ Federation International High Committee : FIHC. ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น สหพันธ์ยกน้ำหนักนานาชาติ (International Weightlifting Federation : IWF) โดยมีศูนย์กลางหรือสำนักงานใหญ่อยู่ ณ กรุงบูคาเปสท์ ประเทศฮังการี
ข้อมูลจาก การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.)


ยกน้ำหนัก

กีฬายูโด

ประวัติยูโด
    ยูโด (Judo) เป็นศิลปะการป้องกันตัวประเภทหนึ่งที่ถือกำเนิดจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีมาแต่ดึกดำบรรพ์ ปัจจุบันมีผู้นิยมฝึกหัดเล่นกันอย่างแพร่หลายไปทั่วโลก ยูโดเป็นรูปแบบของการป้องกันตัว เป็นศิลปะส่วนหนึ่งของชาวญี่ปุ่นที่มีการดัดแปลงปรับปรุงแก้ไขให้ทันสมัย นอกจากจะเป็นการฝึกเพื่อป้องกันตัวเองแล้วยังเป็นการบริหารร่างกายเพื่อให้ เกิดความแข็งแรง ฝึกสมาธิให้มั่นคง ผู้ฝึกจะได้รับประโยชน์ทั้งด้านร่างกาย และสมาธิด้านจิตใจอย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นการจู่โจมคู่ต่อสู้ หรือการตั้งรับ
          ยูโดมีชื่อเต็มว่า โคโดกัน ยูโด (Kodokan Judo) เดิมทีเดียวเรียกกันว่า ยูยิตสู (Jiujitsu) ซึ่งเป็นวิชาที่สามารถต่อสู้กับคู่ต่อสู้ที่มีอาวุธด้วยมือเปล่าและเป็นการ ทำลายจุดอ่อนของคู่ต่อสู้ ในประเทศญี่ปุ่นมีการเล่นยูยิตสูกันอย่างแพร่หลายมากญี่ปุ่นมีความเชื่อว่า ตนเองมีเชื้อสายมาจากเทพยดา เทพธิดา และเชื่อว่าตนเองเป็นลูกพระอาทิตย์ มีถิ่นที่อยู่บนเกาะใหญ่น้อยทั้งหลาย ราวๆ 3,000-4,000 เกาะ จากการที่อยู่อาศัยบนเกาะต่างๆ นี้เองจึงมีความคิดเห็นไม่ตรงกันและไม่สามารถรวมกลุ่มกันได้ ทำให้เกิดการแย่งชิงอำนาจความเป็นใหญ่ ผู้ที่ได้รับชัยชนะก็พยายามซ่องสุมเสริมสร้างกำลังพลให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น ผู้ที่พ่ายแพ้ก็พยายามที่จะรวบรวมสมัครพรรคพวกที่พ่ายแพ้ขึ้นใหม่เพื่อรอ จังหวะช่วงชิงอำนาจกลับคืนมา
          หลังจากที่ญี่ปุ่นได้พัฒนาเปลี่ยนแปลงรูปแบบการต่อสู้ และทำให้วิชายูยิตสูเสื่อมความนิยมลงจนหมดนั้น ต่อมาเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2403 ได้มีชาวญี่ปุ่นชื่อ จิโกโร คาโน (Jigoro Kano) ชาวเมืองชิโรโกะ ได้อพยพครอบครัวมาอยู่ในกรุงโตเกียว เมื่อปี พ.ศ. 2414 อายุ 18 ปี ได้เข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยโตเกียว ในสาขาปรัชญาศาสตร์ (Philosophy) จนสำเร็จการศึกษา เมื่ออายุ 23 ปี ท่านจิโกโร คาโน เป็นบุคคลที่มีความเห็นว่าวิชายูยิตสูนอกจากจะเป็นกีฬาสำหรับร่างกายและจิต ใจแล้ว ยังมีหลักปรัชญาที่ว่าด้วยหลักแห่งความเป็นจริง อีกทั้งท่านเป็นคนที่มีรูปร่างเล็กผอมบาง มีนิสัยไม่เกรงกลัวใคร
          เมื่อได้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับวิชายูยิตสูอย่างละเอียด ก็พบว่าผู้ฝึกวิชายูยิตสูจนมีความชำนาญดีแล้ว จะสามารถสู้กับคนที่รูปร่างใหญ่โตได้ หรือสู้กับความที่มีอาวุธด้วยมือเปล่าได้ จากการค้นพบทำให้บังเกิดความศรัทธาอย่างแรงกล้า ท่านจึงได้เข้าศึกษายูยิตสูอย่างจริงจังจากอาจารย์ผู้สอนวิชายูยิตสูหลาย ท่านจากโรงเรียนเทนจิ ซิโย (Tenjin Shinyo) และโรงเรียนคิโต (Kito)
          ปี พ.ศ. 2425 ท่านจิโกโร คาโน อายุได้ 29 ปี ได้ก่อตั้งโรงเรียนสำหรับวิชายูโดขึ้นเป็นครั้งแรกในบริเวณวัดพุทธศาสนา ชื่อวัดอิโชจิ (Eishoji) โดยตั้งชื่อสถาบันนี้ว่า โคโดกัน ยูโด โดยได้นำเอาศิลปะของการต่อสู้ด้วยการทุ่มจากสำนักเทนจิ ซิโย และการต่อสู้จากสำนักคิโตเข้ามาผสมผสานเป็นวิชายูโดและได้ปรับปรุงวิธีการ ยูโดให้เหมาะสมสอดคล้องกับความเปลี่ยแปลงในระบอบการปกครองและสังคมในขณะนั้น ได้สอดแทรกวิทยาศาสตร์ใหม่ๆ คณิตศาสตร์ประยุกต์ที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว จิตศาสตร์ และจริยศาสตร์เข้าด้วยกัน โดยได้ตัดทอนยูยิตสู ซึ่งไม่เหมาะสมออก แล้วพยายามรวบรวมวิชายูยิตสูให้เป็นหมวดหมู่มีมาตรฐานเดียวกันตามความคิดของ ท่าน และได้ตั้งระบบใหม่เรียกว่า ยูโด (Judo)
          ในเริ่มแรก ท่านจิโกโร คาโน ต้องต่อสู้กับอุปสรรคจากบุคคลหลายๆ ฝ่ายเพื่อให้เกิดการยอมรับในวิชายูโด โดยเฉพาะจากบุคคลที่นิยมอารยธรรมตะวันตกบุคคลพวกนี้ไม่ยอมรับว่ายูโดเป็น สิ่งที่เกิดใหม่ และดีกว่ายูยิตสู ในปี พ.ศ. 2429 กรมตำรวจญี่ปุ่นได้จัดการแข่งขันระหว่างยูโดกับยูยิตสูขึ้น โดยแบ่งเป็นฝ่ายละ 15 คน ผลการแข่งขันปรากฏว่ายูโดชนะ 13 คน เสมอ 2 คน เมื่อผลปรากฏเช่นนี้ ทำให้ประชาชนเริ่มสนใจยูโดมากขึ้น ทำให้สถานที่สอนเดิมคับแคบจึงต้องมีการขยายห้องเรียน เพื่อต้อนรับผู้ที่สนใจ จนปี พ.ศ. 2476 จึงได้ย้ายสถานที่ฝึกไปที่ซูอิโดบาชิ (Suidobashi) และสถานที่นี้เองที่เป็นศูนย์กลางของนักยูโดในโลกปัจจุบัน
ยูโดดำเนินการไปด้วยดีและเริ่มมีมาตรฐานอันสมบูรณ์ ในปี พ.ศ. 2465 ได้ตั้ง The Kodokun Cultural Xociety ขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2455 ได้ก่อตั้งสหพันธ์ยูโดระหว่างประเทศขึ้น โดยมีประเทศต่างๆ ที่ร่วมก่อตั้งครั้งแรกประมาณ 20 ประเทศ
          ในปี พ.ศ. 2499 สหพันธ์ยูโดระหว่างชาติได้จัดให้มีการแข่งขันเพื่อความชนะเลิศยูโดระหว่าง ชาติขึ้น โดยอยู่ในการอำนวยการของสหพันธ์ยูโดระหว่างประเทศโดโดกัน และหนังสือพิมพ์อาซาอิซัมบุน ซึ่งทั้ง 2 องค์กรช่วยกันจัดการแข่งขันขึ้นมา
พื้นที่แข่งขัน
พื้นที่แข่งขันจะต้องมีเนื้อที่อย่างน้อย 14 x 14 เมตร และอย่างมากที่สุด 16 x 16 เมตร โดยจะปูด้วยตาตามิ หรือวัสดุอื่นที่ได้รับการรับรอง โดยทั่ว ๆ ไปจะเป็นสีเขียว
พื้นที่แข่งขันจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน เส้นแบ่งเขตทั้งสองนี้จะเรียกว่าเขตอันตราย จะมีสีที่เห็นได้ชัด โดยทั่ว ๆ ไปแล้วจะเป็นสีแดง กว้างประมาณ 1 เมตร เป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่แข่งขัน หรือจะใช้เส้นทาบติดเป็นสี่เหลี่ยมรอบบริเวณแข่งขันก็ได้
พื้นที่ภายในรวมทั้งเขตอันตรายจะเรียกว่า บริเวณแข่งขัน และมีบริเวณอย่างน้อย 9 x 9 เมตร หรืออย่างมาก 10 x 10 เมตร บริเวณนอกเขตอันตรายจะเรียกว่าบริเวณปลอดภัย และจะมีความกว้างประมาณ 3 เมตร (แต่จะต้องไม่น้อยกว่า 2.5 เมตร)
เทปเหนียวสีแดงและสีขาว กว้างประมาณ 6 เซนติเมตร และยาว 25 เซนติเมตร จะต้องติดตรงกลางบริเวณที่แข่งขันในระยะห่างกัน 4 เมตร เพื่อเป็นที่ชี้แสดงให้ผู้เข้าแข่งขันทราบในการเริ่มและจบการแข่งขัน เทปสีแดงจะอยู่ข้างขวาของกรรมการผู้ชี้ขาดบนเวที และเทปสีขาวจะอยู่ข้างซ้ายของผู้ชี้ขาดบนเวที
บริเวณที่แข่งขันจะต้องอยู่บนพื้นที่ยืดหยุ่นได้หรือยกพื้น
เมื่อบริเวณที่แข่งขันสองบริเวณหรือมากกว่าใช้ติดต่อกัน อนุญาตให้ใช้บริเวณปลอดภัยติดต่อกันได้ แต่ต้องมีระยะ 3 เมตรเป็นอย่างน้อย
มีบริเวณว่างรอบบริเวณที่แข่งขันทั้งหมดอย่างน้อยอีก 50 เซนติเมตร
เครื่องจับเวลาและป้ายคะแนน
นาฬิกาต้องตั้งไว้ให้นายช่างที่รับผิดชอบเข้าตรวจสอบ ความเที่ยงตรงได้ตลอดเวลา เช่น เวลาเริ่มและเวลาแข่งขัน ป้ายคะแนนต้องเป็นป้ายที่มีขนาดตามที่สหพันธ์นานาชาติกำหนดไว้ และพร้อมที่จะใช้งานตามที่ผู้ตัดสินต้องการได้ทันที ซึ่งป้ายคะแนนและเครื่องจับเวลาต้องใช้พร้อมกันกับเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ถ้าเครื่องอิเล็กทรอนิกส์เกิดขัดข้อง
เครื่องแบบยูโด (ยูโดกี)
ผู้เข้าแข่งขันจะต้องสวมเครื่องแบบยูโด (ยูโดกี) ตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
1.  ทำด้วยผ้าฝ่ายที่แข็งแรงหรือวัสดุที่คล้ายคลึงกัน และอยู่ในสภาพที่ดี (ไม่มีปริหรือขาด)
2.  สีขาวหรือขาวหม่น
3.  เครื่องหมายที่มีได้ คือ
4.  เสื้อต้องยาวคลุมต้นขา และจะต้องไม่สั้นกว่ามือกำเมื่อยืดลงด้ายข้างลำตัวเต็มที่ ตัวเสื้อต้องกว้างพอที่จะดึงสองด้านให้ทับกันได้ไม่น้อยกว่า 20 เซนติเมตรจากซี่โครงด้านหน้า แขนเสื้อต้องยาวถึงข้อมือหรือสูงกว่าข้อมือไม่เกิน 5 เซนติเมตร เป็นอย่างน้อย และให้มีช่องว่างกว้าง 10 – 15 เซนติเมตรตลอดแขนเสื้อ (รวมทั้งผ้าพัน)
5.  กางเกงไม่มีเครื่องหมายใด ๆ ต้องยาวคลุมขาทั้งหมด และยาวอย่างมากถึงตาตุ่ม หรือสูงขึ้นจากตาตุ่มได้ 5 เซนติเมตรเป็นอย่างน้อย และให้มีช่องว่างที่ขากางเกงได้ 10 – 15 เซนติเมตร (รวมทั้งผ้าพัน) ตลอดขากางเกง
6.  เข็มขัดที่แข็งแรง กว้าง 4 – 5 เซนติเมตร มีสีตรงตามวุฒิของผู้เข้าแข่งขันคาดบนเสื้อระดับเอว และผูกเป็นปมสี่เหลี่ยม แน่นพอที่จะไม่ให้เสื้อหลวมเกินไป และยาวพอที่จะพันเอวได้สองรอบ โดยมีปลายสองข้างเลยออกมาข้างละ 20 ถึง 30 เซนติเมตรเมื่อผูกแล้ว
7.  ผู้เข้าแข่งขันที่เป็นหญิงจะต้องสวมเสื้อยืดคอกลมแขนสั้นสีขาวหรือขาวหม่น ชั้นในมีความทนทานและยาวพอที่จะยัดใส่ในกางเกงได้

กีฬาเทควันโด

 กีฬาเทควันโด
 สถาบัน “เดอะแชมเปี้ยนเทควันโด” เปิดตัวโครงการ “เดอะ แชมเปี้ยน สานฝันนักสู้ สู่ทีมชาติ ครั้งที่1” เปิดรับสมัครเยาวชนทั่วไปเรียนฟรี

นายวิชิต สิทธิกัณฑ์ โค้ชเทควันโดทีมชาติ ประเภทต่อสู้ เปิดตัวโครงการ “เดอะ แชมเปี้ยน สานฝันนักสู้ สู่ทีมชาติ ครั้งที่1” เพื่อสนับสนุนเยาวชนที่สนใจร่วมเข้าร่วมโครงการฯ ที่สปอร์ต ซิตี้  ย่านประชาชื่น

โดยโครงการ “เดอะ แชมเปี้ยน สานฝันนักสู้ สู่ทีมชาติ ครั้งที่1” จัดขึ้นเพื่อพัฒนานักกีฬาเยาวชน โดยจะเปิดทำการสอนฟรีให้แก่เยาวชน อายุ 10-15 ปี จำนวน 50 คน เพื่อให้เยาวชนที่มุ่งมั่นอยากเป็นนักกีฬาเทควันโดได้เรียนเทควันโดฟรี โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น ทั้งนี้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เยาวชนเข้าถึงกีฬาเทควันโดได้ง่ายขึ้นและ มากขึ้นด้วย เพิ่มโอกาสในการแสวงหานักเทควันโดฝีมือดีสำหรับพัฒนาเป็นนักกีฬาทีมชาติต่อ ไป
 

นายวิชิต สิทธิกัณฑ์ ได้กล่าวว่า "ตนเองเคยเป็นนักเรียนที่โรงเรียนศิลปะป้องกันตัวอาภัสสา โดยมี อาจารย์มัลลิกา ขัมพานนท์ คอยสนับสนุนให้เรียนฟรี จนเป็นนักกีฬาทีมชาติ และเป็นโค้ชเทควันโดทีมชาติ ได้จนถึงปัจจุบัน ตนจึงมีความคิดที่จะอยากให้เยาวชนที่มีความมุ่งมั่น ขยัน ตั้งใจฝึกซ้อม ได้มีโอกาสดีๆแบบตนเองบ้าง”

ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวจะเปิดรับสมัครเยาวชนที่ต้องการเป็นนักกีฬาตั้งแต่สายขาว จนถึงสายดำ โดยต้องมีใจรักในกีฬาเทควันโด มีความมุ่งมั่นตั้งใจฝึกซ้อมอย่างสม่ำเสมอ โดยโครงการจะเปิดรับสมัครเยาวชนจำนวน 50 คน ตั้งแต่วันนี้จนถึง 30 มิถุนายนนี้ สำหรับสถานที่ตั้งของโครงการ “The Champion สานฝันนักสู้ สู่ทีมชาติ ครั้งที่1” อยู่ที่ Sports City ย่านประชาชื่น เลียบคลองประปา ตรงข้ามการประปานครหลวง เยาวชนทั่วไปสนใจสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร.081-449-5010






กีฬาฟุตซอล

                                                
                                                    กีฬาฟุตซอล


ประวัติฟุตซอล ข้อมูล กีฬาฟุตซอล


          กีฬา ฟุตซอล เริ่มเป็นที่นิยมในประเทศไทยเมื่อไม่นานมานี้ ด้วยรูปแบบการเล่นที่คล้ายกับฟุตบอล กฎกติกาเข้าใจง่าย อาศัยพื้นที่ในการเล่นไม่มาก และเล่นได้ทุกเพศทุกวัย เราจึงมักจะเห็นคนไทยเล่นกีฬาฟุตซอลตามสถานที่ต่าง ๆ ทั้งโรงพละ หรือใต้ทางด่วน ว่าแต่ ประวัติฟุตซอล มีความเป็นมาอย่างไร วันนี้ กระปุกดอทคอม จะพาไปทำความเข้าใจประวัติและกฎกติกากีฬาฟุตซอลกันค่ะ

ประวัติฟุตซอล

          คำว่า ฟุตซอล มีรากศัพท์มาจากภาษาสเปนหรือโปรตุเกส ที่ว่า FUTbol หรือ FUTebol และภาษาสเปนหรือฝรั่งเศสเรียกคำว่า Indoor เป็นคำว่า SALa เมื่อนำมารวมกันจึงกลายเป็นคำว่า ฟุตซอล

          กีฬาฟุตซอล ถือกำเนิดขึ้นในประเทศเเคนาดา เมื่อปี ค.ศ. 1854 (พ.ศ. 2397) เนื่องจากเมื่อย่างเข้าหน้าหนาว หิมะตกคลุมทั่วบริเวณ ทำให้นักกีฬาไม่สามารถเล่นกีฬาฟุตบอลกลางเเจ้งได้ จึงหันมาเล่นฟุตบอลในร่ม โดยใช้โรงยิมบาสเกตบอลเป็นสนามเเข่ง ทำให้ช่วงนั้นเรียกกีฬาฟุตซอลว่า Indoor soccer (อินดอร์ซอคเกอร์) หรือ five a side soccer

          ปี ค.ศ. 1930 (พ.ศ. 2473) ฮวน คาร์ลอส เซอเรียนี จาก เมืองมอนเตวิเดโอ ประเทศอุรุกวัย  ได้นำกีฬาฟุตซอลไปใช้ในสมาคม YMCA (Young Man's Christuan Association) โดยใช้สนามบาสเกตบอลในการเล่นทั้งภายในและภายนอกอาคาร ทำให้กีฬา Indoor soccer ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ

          ปี ค.ศ. 1932 (พ.ศ. 2475) โรเจอร์ เกรน ได้ บัญญัติกฎเพื่อใช้เป็นมาตรฐานควบคุมกีฬาชนิดนี้ และใช้มาจนถึงทุกวันนี้ หลังจากนั้นไม่นาน กีฬาชนิดนี้ก็เเพร่หลายไปทั่วโลก เป็นที่นิยมทั่วทั้งทวีปอเมริกาใต้ ทวีปยุโรป และแพร่กระจายไปทั่วโลก

          ปี ค.ศ. 1965 (พ.ศ. 2508) มีการจัดการเเข่งขันฟุตซอลนานาชาติเป็นครั้งแรก และประเทศปารากวัยก็เป็นทีมชนะเลิศ ต่อ จากนั้นก็มีการจัดเเข่งขันในระดับนานาชาติมาเรื่อย ๆ จนกระทั่งปี ค.ศ. 1982 (พ.ศ. 2525) มีการจัดฟุตซอลชิงแชมป์โลกขึ้นที่ประเทศบราซิล และเจ้าภาพเองก็เป็นฝ่ายได้รับชัยชนะไป จึงมีการจัดการแข่งขันอย่างไม่เป็นทางการอีก 2 ครั้ง ในปี ค.ศ. 1985 (พ.ศ. 2528) และ ปี ค.ศ. 1988 (พ.ศ. 2531) ที่มีประเทศสเปนเเละออสเตรเลียเป็นเจ้าภาพ จนกระทั่งปี ค.ศ. 1989 (พ.ศ. 2532) สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ ได้เข้ามาดูแลจัดการเเข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์โลกอย่างเป็นทางการ

กติกาฟุตซอล 
ประวัติฟุตซอล ข้อมูล กีฬาฟุตซอล


สนามแข่งขันฟุตซอล

          สนามเเข่งขันต้องเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ความยาวเส้นข้างต้องยาวกว่าความยาวเส้นประตู โดยสนามมีความยาวต่ำสุด 25 เมตร สูงสุด 42 เมตร ความกว้างต่ำสุด 15 เมตร สูงสุด 25 เมตร
ประวัติฟุตซอล ข้อมูล กีฬาฟุตซอล

ลูกบอลฟุตซอล

          ลูกบอลต้องเป็นทรงกลม ทำด้วยหนังหรือวัสดุอื่น ๆ เส้นรอบวงไม้น้อยกว่า 62 เซนติเมตร แต่ไม่เกิน 64 เซนติเมตร ขณะการแข่งขัน ลูกบอลต้องมีความดันลม ไม่น้อยกว่า 400 กรัม ไม่มากกว่า 440 กรัม ความดันลมของลูกบอลจะอยู่ที่ ความดันลมของลูกบอล 0.4 – 0.6 ระดับบรรยากาศ
ประวัติฟุตซอล ข้อมูล กีฬาฟุตซอล

ผู้เล่นฟุตซอล

          จะมีผู้เล่นทั้งสองทีม ทีมละไม่เกิน 5 คนอยู่บนสนาม และหนึ่งใน 5 คนนี้ ต้องเป็นผู้รักษาประตู และอนุญาตให้มีผู้เล่นสำรองไม่เกิน 7 คน อนุญาตให้เปลี่ยนตัวผู้เล่นเมื่อไหร่ก็ได้ ไม่จำกัดจำนวน สามารถเปลี่ยนตัวได้ตลอดเวลา ผู้เล่นที่เปลี่ยนออกไปแล้วสามารถกลับเข้าไปเล่นใหม่ แต่ในกรณีที่ทีมหนึ่งที่เหลือผู้เล่นน้อยกว่า 3 คน รวมผู้รักษาประตู จะต้องยกเลิกการเเข่งขัน

          ผู้เล่นต้องไม่สวมใส่เครื่องประดับใด ๆ ที่เป็นอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น โดยอุปกรณ์เบื้องต้นมี

          1.   เสื้อยืดหรือเสื้อเชิ้ต
          2.   กางเกงขาสั้น (ถ้าสวมกางเกงปรับอุณหภูมิ สีของกางเกงนั้นจะต้องเป็นสีเดียวกันกับสีหลักของกางเกง
          3.   ถุงเท้ายาว
          4.   สนับแข้ง
          5.   รองเท้าผ้าใบหรือรองเท้าหนังนิ่ม หรือรองเท้าออกกำลังกายพื้นยาง

ระยะเวลาการแข่งขัน

          การแข่งขันทีทั้งหมด 2 ครึ่ง ครึ่งละ 20 นาที และระยะเวลาการแข่งขันแต่ละครึ่งอาจเพิ่มเวลาเตะลูกโทษ ณ จุดโทษ ส่วนการขอเวลานอกนั้น ทั้งสองทีมมีสิทธิขอเวลานอก 1 นาที ในแต่ละครึ่งเวลา

การนับประตู

          การนับประตูจะเป็นผลเมื่อบอลทั้งลูกผ่านเส้นประตูระหว่างเสาประตูใต้คาน ประตู แต่ต้องไม่มีการทำผิดกติกาโดยทีมที่ทำประตู ผู้รักษาประตูไม่สามารถทำประตูได้ด้วยมือ และผู้เล่นฝ่ายรุกไม่สามารถทำประตูได้ด้วยแขน

          นี่เป็นประวัติและกฎกติกามารยาทแบบคร่าว ๆ ของกีฬาฟุตซอลค่ะ ขอให้เล่นด้วยความสนุก และมีน้ำใจนักกีฬา

กีฬาเทนนิส

ประวัติกีฬาเทนนิส ความเป็นมาของ กีฬาเทนนิส (Tennis)

 
มีหลักฐานพบว่า ประมาณศตวรรษที่ 13 ประเทศฝรั่งเศสมีการเล่นเกมส์ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของกีฬาเทนนิสเรียกว่า Le Jeu Du Paume (เจอเดอปูม) หรือเป็นภาษาอังกฤษว่า The Game of the Palm (เกมส์ของฝ่ามือ) เป็นกีฬาของชนชั้นสูงที่เล่นในร่มโดยใช้ฝ่ามือตีลูกบอลทรงกลม หลังจากนั้นจึงมีการใช้เเร็คเก็ตเเทนฝ่ามือ

คำว่า La Journee (ลาจูเน่) ภาษาฝรั่งเศสโบราณแปลว่าหนึ่งวัน ในการแข่งขันกีฬาแมทช์สมัยนั้น จะยึดเอาจำนวนนาทีใน 1 ชั่วโมงและจำนวนชั่วโมงใน 1 วันเป็นเกณฑ์ ดังนั้น กีฬาแมทช์หนึ่ง จะมี 24 เกม ในแต่ละเกมจะมี 4 แต้มและแต้มละ 15 คะแนน (ในหนึ่งชั่วโมง สามารถแบ่งออกเป็น 4 ช่วงๆ ละ 15 นาที) เมื่อนักกีฬาเล่นได้แต้ม 45 คะแนนเท่ากัน จะต้องเล่นให้ได้ 2 แต้มติดกันจึงเป็นผู้ชนะ ดังนั้นถ้าเล่นได้แต้ม 45 เท่ากัน ต้องเล่นอีก 2 แต้มคือ 15 และ 15 ซึ่งเมื่อรวมคะแนนทั้งหมดเข้าด้วยกัน คะแนนจะเกิน 60 (45 + 15 + 15 = 75) จึงตกลงเปลี่ยนคะแนนเมื่อแต้มเท่าจาก 45 : 45 คะแนน มาเป็น 40 : 40 คะแนน แล้วแต้มต่อไปจะเป็นแต้มละ 10 คะแนน (40 + 10 + 10) และถ้าเกิดได้คะแนน 50 : 50 เท่ากัน ต้องเล่นกันใหม่จนกว่าจะได้ 2 แต้มติดกัน จึงเป็นผู้ชนะ เช่นเดียวกับการเล่นเกม เมื่อได้ 23 เกมเท่ากัน จะแพ้ชนะกัน ต้องได้ 2 เกมติดกัน ซึ่งรวมแล้วจะเกิน 24 เกม จึงลดเป็นเมื่อได้ 22 เกมเท่ากันแล้วต้องได้อีก 2 เกมติดต่อกันจึงเป็นฝ่ายชนะ แต่การเล่นนานถึง 24 เกม ใช้เวลานานมาก ดังนั้นจึงค่อยๆ ลดลงจาก 24 เกม เหลือ 12 เกม จนในที่สุดเหลือ 6 เกมดังเช่นในปัจจุบัน

ในตอนต้นศตวรรษที่ 17 มีการสร้างคอร์ทนับร้อยในกรุงปารีสและกีฬานี้เป็นที่นิยมมาก จนกระทั่งนำไปสู่การพนัน ทำให้กีฬานี้ถูกห้ามเล่นในที่สาธารณะแต่อนุญาติให้เล่นได้ในกลุ่มสังคมชั้นสูง และในตอนปลายศตวรรษที่ 18 คำว่า เตอเน่ (Tenez) ก็ปรากฎขึ้น บางทีอาจเป็นเพราะชาวอังกฤษพยายามออกเสียงตามภาษาฝรั่งเศสโบราณ ซึ่งคำว่า "เตอเน่" แปลว่าเล่นหรือจับจึงเพี้ยนไป ในที่สุดกลายเป็น เทนนิส (Tennis)

ตอนปลายศตวรรษที่ 16 Le Jeu Du Paume ถูกนำเข้าไปในประเทศอังกฤษ จึงนับได้ว่าประเทศอังกฤษมีส่วนในการพัฒนากีฬานี้ ในปี ค.ศ. 1327 - 1377 กษัตริย์เอ็ดเวิร์ดที่ 3 ได้สร้างคอร์ทขึ้นภายในพระราชวังวินเซอร์ และในปี ค.ศ. 1414 เจ้าชาย Dauphin แห่งฝรั่งเศส ได้ถวายของขวัญแก่พระเจ้าเฮนรี่ที่ 5 เป็นลูกบอลสำหรับใช้เล่นเกมส์นี้ หลักฐานการถวายของขวัญครั้งนี้ ปรากฏอยู่ในบทละครของเชคสเปียร์เรื่องพระเจ้าเฮนรี่ที่ 5 (Henry V) ในภาค (Act) ที่ 1, ฉาก (Scene) ที่ 2, บรรทัดที่ 261-262 ดังนี้
 
"When we have match'd our rackets to these balls,
We will in France (by God's grace) play a set . . . ."
 
หลังจากการปฏิวัติในประเทศฝรั่งเศส Le Jeu Du Paume ก็สูญหายไปพร้อมกับกลุ่มชนชั้นสูง แต่ในประเทศอังกฤษยังคงมีการเล่นกีฬานี้อยู่ จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1874 นายพันตรี วอลเตอร์ คล็อปตัน วิงฟิลด์ (Major Walter Clopton Wingfield) ได้ดัดแปลงการเล่นมาจากกีฬาเทนนิสซึ่งแต่เดิมเล่นกันในร่มมาเล่นกันกลางแจ้ง และเรียกชื่อว่า Sphairistike แปลว่า Play ในภาษากรีก

อุปกรณ์การเล่นต่างๆ ได้จดทะเบียนลิขสิทธิ์ไว้ตามกฎหมาย ซึ่งประกอบด้วย เสา ตาข่าย ลูกบอล ไม้แร็กเกตและกติกาการเล่น สนามเทนนิสของเขามีลักษณะตรงกลางแคบแต่ทางด้านท้ายสนามผายออก คล้ายนาฬิกาทราย สำหรับตาข่ายที่ใช้กั้นตรงกลางสูง 7 ฟุตเหมือนตาข่ายแบดมินตัน

ในระยะต่อมากีฬาเทนนิสเป็นที่นิยมและเล่นกันทั่วทั้งประเทศอังกฤษ แต่ละแห่งก็ตั้งกฎเกณฑ์และกติกาของตนเองขึ้น ตาข่ายที่กั้นกลางสนามก็เลื่อนจากที่สูงมาตั้งบนพื้น ในปี ค.ศ. 1875 สโมสรแมรี่ลีบอน คริกเกต (The Marylebone Cricket Club) ซึ่งเป็นสโมสรที่สำคัญในการดูแลมาตรฐานของเกมส์กีฬาต่างๆ และได้รับการสนับสนุนจากสโมสรออลอิงแลนด์โครเกท์ (The All England Croquet Club, ก่อตั้งเมื่อปี 1868 อยู่ชานเมืองของกรุงลอนดอนที่มีชื่อว่า Wimbledon) ได้พยายามเข้ามามีบทบาทในการควบคุมมาตรฐานของกีฬานี้ และได้ตั้งกติกาลอนเทนนิสขึ้นมาใหม่ ซึ่งแตกต่างไปจากของพันตรีวิงฟิลด์ ทำให้คนอังกฤษหันมาเล่นเทนนิสกันมากขึ้น มีการสร้างสนามเทนนิสขึ้นทั่ว ๆ ไป และในปี ค.ศ. 1877 ได้มีการจัดการแข่งขันเทนนิสชิงชนะเลิศแห่งชาติขึ้นเป็นครั้งแรก

ปัจจุบันสิ่งที่เป็นของพันตรีวิงฟิลด์ที่เหลืออยู่ให้เห็นได้แก่ อุปกรณ์การเล่นที่เป็นตาข่าย กับชื่อคำว่า "เทนนิส" เท่านั้น นอกจากนั้นได้ถูกเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมทั้งสิ้นรวมทั้งคอร์ท กติกาการเล่นและวิธีนับคะแนน พันตรีวิงฟิลด์จึงเปรียบเสมือนบิดาแห่งวงการเทนนิสโลก รูปปั้นของพันตรีวิงฟิลด์ ตั้งอยู่ที่ลอนเทนนิสสมาคมแห่งอังกฤษ

จากหลักฐานที่บันทึกส่วนใหญ่ พบว่า แมรี่ เอาเทอร์บริดจ์ (Mary Outerbridge) ได้ไปพบกีฬาเทนนิสที่เบอร์มิวดา (Bermuda) และในปี 1874 ได้นำอุปกรณ์และวิธีการเล่นกีฬานี้มาเผยแพร่ในประเทศอเมริกา โดยเล่นกันที่ The Staten Islang Cricket and Baseball Club รัฐนิวยอร์ค แต่นักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษ Tom Todd ได้บันทึกไว้ว่าเป็น Dr. James Dwight เป็นผู้นำกีฬาเทนนิสเข้ามายังประเทศอเมริกาในตอนต้นของปีเดียวกัน ที่จริงแล้วก็ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าใครเป็นคนแรก อย่างไรก็ตาม Mary Outerbridge เป็นคนที่พยายามผลักดันกีฬาเทนนิสในรัฐนิวยอร์ค ส่วน Dr. James Dwight แพทย์หนุ่มจากมหาวิทยาลัยฮาเวิร์ด (Harvard Medical School) เป็นผู้ที่บทบาทสำคัญต่อวงการเทนนิสของอเมริกาและได้ชื่อว่าเป็น บิดาแห่งกีฬาเทนนิสอเมริกา (Father of Tennis U.S.) Dwight ไม่ได้ทำงานเกี่ยวกับสิ่งที่เรียนมา แต่กลับทุ่มเทเวลาให้กับเทนนิส โดยเป็นผู้ฝึกสอนแชมป์ชายเดี่ยวคนแรกของอเมริกา Dick Sears และเล่นคู่กับ Sears จนได้ตำแหน่งชนะเลิศประเภทชายคู่ในรายการ U.S. Open

กีฬาเทนนิสได้ถูกบรรจุอยู่ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิคตั้งแต่ครั้งแรกที่กรุงเอเธนส์ (ปี 1896) เรื่อยมาจนถึงการแข่งขันโอลิมปิคที่กรุงปารีสในปี 1924 หลังจากนั้นก็ได้ถูกยกเลิกไปและได้ถูกบรรจุอยู่ในกีฬาโอลิมปิคอีกในปี 1988 ที่กรุงโซล ประเทศเกาหลี

ปี 1900 เกมส์การเล่นเทนนิสได้พัฒนาขึ้นมาก Renshaws เป็นผู้เริ่มการขึ้นเล่นหน้าเน็ต, Lawford ใช้ลูกท็อปสปิน (Topspin), Dwight Davis ผู้คิดวิธีการเสิร์ฟแบบอเมริกันทวิส (American Twist) ได้ให้ถ้วยรางวัลสำหรับการแข่งขันประเภททีมระหว่างอังกฤษกับอเมริกา ซึ่งต่อมาได้เปิดโอกาสให้ประเทศอื่นเข้าร่วมการแข่งขันและเป็นรายการแข่งขันประเภททีมชายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเรียกว่า การแข่งขันเดวิสคัพ (Davis Cup)

ปี 1913 ได้มีการจัดตั้งสหพันธ์เทนนิสนานาชาติ (ในสมัยนั้นเรียกว่า International Lawn Tennis Federation - ILTF, ปัจจุบันคือ International Tennis Federation - ITF) เพื่อวางกฎระเบียบ กติกาต่างๆ ให้เป็นสากลและประสานงานระหว่างประเทศสมาชิก

ช่วงปี 1919-1945 ถือเป็นช่วงทองของกีฬาต่างๆ มีนักกีฬาระดับซุปเปอร์สตาร์กำเนิดขึ้นมากมาย เช่น เบสบอล - Babe Ruth; มวย - Jack Dempsey; กอล์ฟ - Boby Jones; ม้าแข่ง - Man o' War; เทนนิส - Bill Tilden, Suzanne Lenglen, Helen Wills Moody

ปี 1946-1967 สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ยังมีการแบ่งแยกระหว่างนักเทนนิสสมัครเล่น (Amateurs) และนักเทนนิสอาชีพ (Pros) รายการแข่งขันที่สำคัญต่างๆ ยังไม่อนุญาติให้นักเทนนิสอาชีพเข้าแข่ง เช่น Australian, French, Wimbledon, U.S Open รวมทั้ง Davis Cup นักเทนนิสที่มีชื่อเสียงในยุคนี้ได้แก่ Jack Kramer, Pancho Segura, Pancho Gonzalez, Althea Gibson, Maureen Connolly, Rod Lever, Ken Rosewall & Lew Hoad, Neale Fraser, John Newcombe, Billie Jean King

ปี 1968-1996 เป็นยุคที่เรียกว่า Open Era รายการแข่งขันที่สำคัญหลายรายการมีเงินรางวัล และเปิดให้ทั้งนักเทนนิสสมัครเล่นและนักเทนนิสอาชีพเข้าแข่งร่วมกัน กีฬาเทนนิสกลายเป็นธุรกิจกีฬาที่ทำเงินมหาศาล มีการก่อตั้ง WCT (World Championship Tennis) และ ATP (Association of Tennis Pros) ในปี 1967 และ 1972 ตามลำดับ 
 
 

ประวัติเทนนิสในประเทศไทย

 
ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าใครเป็นผู้นำกีฬาเทนนิสเข้ามาสู่ประเทศไทยและในสมัยใด แต่สันนิษฐานว่าคงจะเริ่มเล่นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยชาวอังกฤษและอเมริกันที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย แต่ในขณะนั้นคนไทยยังไม่สนใจการเล่นเทนนิสมากนัก คงเล่นกันในหมู่คนต่างชาติ ต่อมาจึงมีเจ้านายคนไทยชั้นสูง และข้าราชการชั้นสูงเริ่มเล่นลอนเทนนิสกัน ครั้งนั้นนักเทนนิสไทยบางท่านนุ่งผ้าม่วง เล่นเทนนิส บางคนระหว่างการเล่นก็กินหมาก ต่อมาจึงนุ่งกางเกงขายาว และต้องสีขาวตามแบบฉบับของชาวฝรั่ง ถือว่าเล่นเทนนิสต้องนุ่งกางเกงขายาวสีขาวเป็นการสุภาพกว่าขาสั้น
จนกระทั่งในราวปี พ.ศ. 2460 ประชาชนให้ความสนใจกันมากขึ้น จึงมีการตั้งสโมสรเทนนิสขึ้นอย่างเป็นทางการแห่งแรกที่พระราชอุทยานสราญรมย์ มีสมาชิกครั้งแรกเพียง 10 คน ต่อมาเปลี่ยนสถานที่ไปเล่นที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ แต่ก็ล้มเลิกไปในที่สุด ในระหว่างนั้นก็มีอีกสโมสรหนึ่งที่มีการเล่นลอนเทนนิสคือ บางกอกยูไนเต็ดคลับ แต่เป็นสนามซีเมนต์เพียงสนามเดียว และมีเอกชนตั้งสโมสรลอนเทนนิสขึ้นหลายแห่ง เช่น บริษัทบอร์เนียว บริษัท บอมเบย์เบอร์มา ที่บ้านมิสเตอร์คอลลิน ซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่เป็นชาวต่างประเทศ และยังมีการเล่นลอนเทนนิสที่บ้านมิสเตอร์ลอฟตัส ซึ่งอยู่ใกล้โรงเรียนนายเรือ ธนบุรี บ้านหมอแม็คฟาแลนด์ ที่โรงพยาบาลศิริราช และบ้านมิสเตอร์บัสโฟร์ หลังกองทัพเรือ สำหรับในหมู่คนไทยเช่นที่กระทรวงเกษตร สโมสรโรงเรียนนายเรือ
ในปี พ.ศ. 2469 กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ได้ทรงจัดตั้งลอนเทนนิสสมาคมแห่งประเทศไทยขึ้น โดยได้รับความร่วมมือจากสโมสรเทนนิส 12 สโมสรคือ ราชกรีฑาสโมสร สโมสรรถไฟ สโมสรกีฬาอังกฤษ สโมสรกีฬาสามัคยาจารย์ สโมสรนครสวรรค์ สโมสรสีลม สโมสรลำปาง สโมสรนวรัฐ สโมสรเชียงใหม่ยิมคานา สโมสรสงขลา สโมสรกลาโหมและสโมสรภูเก็ต ได้ส่งผู้แทนเข้าประชุมกันเป็นครั้งแรกที่วังกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ในที่ประชุมก็ได้ลงมติเอกฉันท์ให้ตั้ง "ลอนเทนนิสสมาคมแห่งประเทศไทย" และได้ทรงดำรงตำแหน่งนายกของลอนเทนนิสสมาคมเป็นคนแรก พร้อมทั้งได้ออกกฎข้อบังคับของสมาคมฯขึ้นใช้เป็นมาตรฐานทั่วไป ซึ่งได้ใช้เป็นบรรทัดฐานมาจนถึงปัจจุบันนี้
คณะกรรมการชุดแรกของลอนเทนนิสสมาคมแห่งประเทศไทยคือ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ทรงเป็นนายกสมาคมฯ นายอาร์ดี. เครก เป็นเลขานุการกิติมศักดิ์ พระยาสุพรรณสมบัติเป็นเหรัญญิกกิติมศักดิ์ ส่วนสโมสรที่อยู่ในเครือที่ได้รับเลือกเป็นกรรมการคือ
1. ราชกรีฑาสโมสร
2. สโมสรกีฬาสามัคยาจารย์
3. สโมสรกีฬาอังกฤษ
4. สโมสรสีลม
5. สโมสรกลาโหม
 
 
พระวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ได้ทรงมีส่วนสำคัญในการสร้างลอนเทนนิสสมาคมแห่งประเทศไทย และได้ทรงดำรงตำแหน่งนายกสมาคมตั้งแต่ พ.ศ. 2470 ถึง พ.ศ. 2482 เป็นเวลาถึง 12 ปี ต่อมาในปี พ.ศ. 2482 พลเอกหลวงพรหมโยธี ได้รับเลือกเป็นนายกสมาคม ในวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2484 พ.ต.ท. ขุนศรีวรากร ได้รับเลือกเป็นนายกสมาคม และในปี พ.ศ. 2490 หม่อมเจ้าวิมวาทิตย์ รพีพัฒน์ ทรงเป็นนายกสมาคม
ถือว่าวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2470 เป็นวันสถาปนาลอนเทนนิสสมาคมแห่งประเทศไทย อย่างเป็นทางการ และในปลายปี พ.ศ. 2470 ทางสมาคมฯได้จัดการแข่งขันลอนเทนนิสเพื่อความชนะเลิศแห่งประเทศไทยขึ้นเป็นครั้งแรกที่สโมสรสีลม และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 พระองค์ทรงรับเอาลอนเทนนิสสมาคมแห่งประเทศไทยไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ เนื่องจากพระองค์ทรงโปรดกีฬาเทนนิสมากและทรงเทนนิสอยู่เสมอในสนามเทนนิสวังสุโขทัย

ในปี พ.ศ. 2494 คณะกรรมการสมาคมได้คิดตราเครื่องหมายของสมาคมขึ้นเป็นพระมหามงกุฏ มีเครื่องหมาย 7 อยู่ข้างใต้ เพื่อเป็นการระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และในปี พ.ศ. 2495 ทางสมาคมฯได้แปลกติกาลอนเทนนิสของสมาคมลอนเทนนิสระหว่างชาติขึ้น เพื่อเป็นหลักในการแข่งขันและไว้เผยแพร่ให้ผู้ที่สนใจกีฬาประเภทนี้ทราบโดยทั่วกัน

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2500 เป็นต้นมา ทางลอนเทนนิสสมาคมฯ ได้จัดการแข่งขันให้กว้างขวางขึ้น มีการแข่งขันเพื่อความชนะเลิศแห่งภาคขึ้นทุกภาคและคัดนักกีฬาที่ชนะเลิศเอามาแข่งขันเพื่อความชนะเลิศแห่งประเทศไทย ซึ่งแบ่งการแข่งขันออกเป็นหลายประเภท เช่น ประเภทชายเดี่ยว ประเภทชายคู่ ประเภทหญิงเดี่ยว ประเภทหญิงคู่ ประเภทคู่ผสม ประเภทชายเดี่ยวสูงอายุ (อายุ 50 ปีขึ้นไป) ประเภทชายคู่สูงอายุ (อายุรวมกัน 100 ปีขึ้นไป) เป็นต้น

ในปี 2509 ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 5 ซึ่งจัดการแข่งขันเทนนิสที่สนามกีฬาแห่งชาติ ปทุมวัน ด้านหลังสนามศุภชลาศัย และหลังจากเสร็จการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์แล้ว กรมพลศึกษาได้อนุญาตให้ลอนเทนนิสสมาคมฯ เข้ามาใช้ห้องทำงานและสนาม 10 สนาม และต่อมาลอนเทนนิสสมาคมฯได้เปิดเทนนิสให้กับประชาชนทั่วไป

ปี 2520 เมื่อองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย (การกีฬาแห่งประเทศไทย ในปัจจุบัน) ได้จัดสร้างสนามเทนนิส จำนวน 6 คอร์ต ขึ้นในบริเวณองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย หัวหมาก ได้มอบให้ลอนเทนนิสสมาคมแห่งประเทศไทยฯ เป็นผู้ครอบครอง และใช้สนามเทนนิสให้เป็นประโยชน์ในการดำเนินกิจการของสมาคม และได้สร้างอาคารที่ทำการให้แก่ สมาคม ที่สนามเทนนิสแห่งนี้ด้วย

กีฬาเทนนิสในประเทศไทยได้พัฒนาขึ้นมาก ในการแข่งขันเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 8 เดือนธันวาคม พ.ศ. 2521 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพนั้นนักเทนนิสประเภทคู่ผสมของไทย คือ จารึก เฮงรัศมี นักเทนนิสชาวจังหวัดอุตรดิตถ์ และสุทธาสินี ศิริกายะ ได้ตำแหน่งชนะเลิศ ปัจจุบันมีนักเทนนิสไทยอยู่ในระดับโลกหลายคน และหวังว่าทุกๆส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะลอนเทนนิสสมาคมแห่งประเทศไทย คงมีแผนงานระยะยาวที่จะทำให้กีฬาเทนนิสเมืองไทยมีมาตรฐานเท่าเทียมกับประเทศอเมริกาและกลุ่มในประเทศยุโรป
 

กติกาเทนนิส

 
การแข่งขันประเภทเดี่ยว (The singles Game)
  • ข้อ 1 สนาม (The Court)
    สนามต้องเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ยาว 78 ฟุต (23.77 เมตร) กว้าง 27 ฟุต (8.23 เมตร) และจะต้องแบ่งออกเป็นสองส่วนด้วยตาข่าย (Net) ซึ่งห้อยลงมาจากเชือกขึงตาข่าย (Cord or Metal Cable) ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 1/3 นิ้ว (0.8 เซนติเมตร) ปลายเชือกขึงตาข่ายต้องขึงติดกับหัวเสาหรือพาดผ่านเสาสองต้น เสา (Post) ต้องเป็นเสาสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างยาวไม่เกิน 6 นิ้ว (15 เซนติเมตร) หรือเป็นเสากลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 6 นิ้ว (15 เซนติเมตร) เสาทั้งสองนี้จะต้องไม่สูงกว่าส่วนบนของเชือกขึงตาข่ายเกิน 1 นิ้ว จุดกึ่งกลางของเสาทั้งสองต้นต้องอยู่ห่างจากสนามข้างละ 3 ฟุต (0.914 เมตร) ความสูงของเสาต้องทำให้ส่วนบนของเชือกขึงตาข่ายอยู่สูงจากพื้นสนาม 3 ฟุต 6 นิ้ว (1.07 เมตร)
    ในการแข่งขันประเภทเดี่ยวซึ่งใช้สนามและตาข่ายของประเภทคู่ (ดูกติกาข้อ 34) จะต้องปรับตาข่ายให้สูง 3 ฟุต 6 นิ้ว (1.07 เมตร) โดยเพิ่มเสาขึ้นสองต้น เสาที่เพิ่มนี้เรียกว่า "ไม้ค้ำตาข่าย" (Singles Sticks) เสานี้ต้องเป็นเสาสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างยาวไม่เกิน 3 นิ้ว (7.5 เซนติเมตร) หรือเป็นเสากลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 3 นิ้ว (7.5 เซนติเมตร) จุดกึ่งกลางของไม้ค้ำตาข่ายต้องอยู่ห่างจากสนามประเภทเดี่ยวข้างละ 3 ฟุต (0.91 เมตร)
    ตาข่ายต้องขึงเต็มปิดช่องระหว่างเสาทั้งต้นให้หมด ตาข่ายต้องมีตาขนาดเล็กพอที่จะไม่ให้ลูกเทนนิสลอดได้ ตรงจุดกึ่งกลางของตาข่ายต้องสูงจากพื้น 3 ฟุต (0.91 เมตร) และต้องมีแถบขึงตาข่าย (Strap) สีขาวกว้างไม่เกิน 2 นิ้ว (5 เซนติเมตร) ยึดไว้กับพื้น แต่ละด้านของตาข่ายต้องมีแถบหุ้มตาข่าย (Band) สีขาวหุ้มเชือกขึงตาข่ายและขอบบนของตาข่าย แถบนี้ต้องกว้างไม่น้อยกว่า 2 นิ้ว (5 เซนติเมตร) และต้องไม่มากกว่า 2 1/2 นิ้ว (6.3 เซนติเมตร)ต้องไม่มีโฆษณาใดๆ บนตาข่าย แถบหุ้มตาข่าย หรือไม้ค้ำตาข่าย
    เส้นที่อยู่ปลายสุดของสนามทั้งสองข้างเรียกว่า "เส้นหลัง" (Base-Line) เส้นทีอยู่ด้านข้างของสนามทั้งสองด้านเรียกว่า "เส้นข้าง" (Side-Lines) เส้นที่ลากขนานกับตาข่ายทั้งสองด้านและห่างจากตาข่ายด้านละ 21 ฟุต (6.40 เมตร) เรียกว่า "เส้นเสิร์ฟ" (Service Lines) เส้นตรงที่ลากจากจุดกึ่งกลางของเส้นเสิร์ฟด้านหนึ่งขนานกับเส้นข้างไปยังจุดกึ่งกลางของเส้นเสิร์ฟอีกด้านหนึ่ง เรียกว่า "เส้นเสิร์ฟกลาง" (Centre-Service-Line) เส้นนี้ต้องกว้าง 2 นิ้ว (5 เซนติเมตร) และจะแบ่งพื้นที่แต่ละด้านของตาข่ายระหว่างเส้นเสิร์ฟกับเส้นข้างออกเป็นสองส่วนเท่ากัน แต่ละส่วนเรียกว่า "คอร์ตเสิร์ฟ" (Service-Courts) เส้นหลังทั้งสองด้านจะถูกแบ่งครึ่งโดยจุดกึ่งกลาง (Centre Mark) ซึ่งเป็นเส้นขีดให้สัมผัสและตั้งฉากกับเส้นหลังเข้าไปในสนาม อยู่แนวเดียวกับเส้นเสิร์ฟกลางจุดกึ่งกลางนี้ต้องยาว 4 นิ้ว (10 เซนติเมตร) กว้าง 2 นิ้ว (5 เซนติเมตร) เส้นอื่นๆนอกจากนี้ต้องกว้างไม่น้อยกว่า 1 นิ้ว (2.5 เซนติเมตร) และไม่มากกว่า 2 นิ้ว (5 เซนติเมตร) เว้นแต่เส้นหลังอาจกว้างได้ไม่มากกว่า 4 นิ้ว (10 เซนติเมตร) ความกว้างและขนาดของส่วนต่างๆ ของสนามต้องวัดจากขอบด้านนอกของแต่ละเส้น เส้นทุกเส้นต้องเป็นสีเดียวกัน
    ประกาศโฆษณาหรือวัตถุใดๆที่อยู่ด้านหลังของสนามต้องไม่มีสีขาว สีเหลือง สีอ่อน อาจใช้ได้ถ้าไม่รบกวนสายตาของผู้เล่นประกาศโฆษณาที่ติดอยู่กับเก้าอี้ของผู้กำกับเส้นซึ่งนั่งอยู่ด้านหลังของสนาม ต้องไม่มีสีขาว สีอ่อนอาจใช้ได้ถ้าไม่รบกวนสายตาของผู้เล่น

    หมายเหตุ ในการแข่งขันเทนนิสชิงชนะเลิศแห่งประเทศ (Davis cup) หรือการแข่งขันชิงชนะเลิศซึ่งจัดขึ้นเป็นทางการโดยสหพันธ์เทนนิสระหว่างประเทศ ได้กำหนดไว้ว่าจะต้องมีพื้นที่หลังเส้นแต่ละข้างไม่น้อยกว่า 21 ฟุต (6.4 เมตร) และมีพื้นที่ข้างสนามแต่ละข้างไม่น้อยกว่า 12 ฟุต (3.66 เมตร) เก้าอี้ผู้กำกับเส้นจะต้องวางไว้ทางด้านหลังสนามภายในระยะไม่เกิน 21 ฟุต และด้านข้างของสนามในระยะไม่เกิน 12 ฟุต แต่จะล้ำเข้ามาได้ไม่เกิน 3 ฟุต

  • ข้อ 2 สิ่งติดตั้งถาวร (Permanent Fixtures)
    สิ่งติดตั้งถาวรของสนามเทนนิสมิได้หมายถึงตาข่าย เสา ไม้ค้ำตาข่าย เชือกขึงตาข่ายแถบขึงตาข่าย แถบหุ้มตาข่ายเท่านั้น แต่รวมถึงสิ่งที่ใช้กั้นด้านหลังและด้านข้างสนาม อัฒจันทร์เก้าอี้ที่ติดตั้งอยู่กับที่หรือเคลื่อนที่ได้ ซึ่งตั้งไว้รอบสนาม รวมทั้งผู้ที่นั่งอยู่บนสิ่งเหล่านั้น เครื่องติดตั้งอื่นๆ ซึ่งอยู่รอบและเหนือสนาม ผู้ตัดสิน (Umpire) กรรมการเนต (Net-Cord Judge) กรรมการฟุตฟอลต์ (Footfault Judge) ผู้กำกับเส้น (Lonesmen) และเด็กเก็บลูก (Ball Boys) ซึ่งประจำตามหน้าที่อีกด้วย

    หมายเหตุ ตามความมุ่งหมายของกติกาข้อนี้ คำว่า "ผู้ตัดสิน" หมายถึง ผู้ตัดสินและผู้ช่วยเหลือผู้ตัดสินทั้งหมด

  • ข้อ 3 ลูกเทนนิส (The Ball)
    ผิวนอกของลูกจะต้องกลมเรียบเสมอกันทั้งลูก ลูกต้องมีสีขาวหรือสีเหลือง ถ้ามีรอยต่อจะต้องไม่เป็นตะเข็บ ลูกต้องมีเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 2 1/2 นิ้ว (6.35 เซนติเมตร) แต่น้อยกว่า 2 5/8 นิ้ว (6.67 เซนติเมตร) มีน้ำหนักมากกว่า 2 ออนซ์ (56.7 กรัม) แต่น้อยกว่า 2 1/16 ออนซ์ (58.5 กรัม) การกระดอนของลูกเมื่อทิ้งลงจากที่สูง 100 นิ้ว (254 เซนติเมตร) บนพื้นคอนกรีตจะต้องกระดอนสูงกว่า 53 นิ้ว (135 เซนติเมตร) แต่ต่ำกว่า 58 นิ้ว (147 เซนติเมตร) เมื่อกดปลายทั้งสองข้างของเส้นผ่าศูนย์กลางของ ลูกด้วยกำลัง 18 ปอนด์ (8.165 กิโลกรัม) ผิวของลูกจะยุบเข้าไปมากกว่า 0.022 นิ้ว (0.56 เซนติเมตร) แต่น้อยกว่า 0.290 นิ้ว (0.75 เซนติเมตร) ส่วนที่โปร่งออกมาต้องมากกว่า 0.350 นิ้ว (0.89 เซนติเมตร) แต่น้อยกว่า 0.425 นิ้ว (0.08 เซนติเมตร) ตัวเลขเหล่านี้คิดเฉลี่ยจากการกดลูกในแนวแกนทั้งสามของลูก และค่าที่ได้จากการกดในระหว่างแกนที่ต่างกันคู่หนึ่งต้องไม่ต่างกันมากกว่า 0.030 นิ้ว (0.08 เซนติเมตร)หากมีการแข่งขันในสถานที่อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลเกิน 4,000 ฟุต (1,219 เมตร) อาจใช้ลูกเพิ่มได้อีกสองแบบ
    - แบบแรก มีลักษณะเหมือนดังกล่าวแล้วข้างต้น แต่จะต้องมีแรงกระดอนสูงกว่า 48 นิ้วและต่ำกว่า 53 นิ้ว จะต้องมีแรงอัดภายในสูงกว่าแรงอัดภายนอก ลูกเทนนิสแบบนี้รู้จักกันในนามลูกเทนนิสแบบมีแรงอัด (Perssurised)
    - แบบที่สอง มีลักษณะเหมือนกับที่กล่าวมาแล้ว แต่ต้องมีแรงกระดอนสูงกว่า 53 นิ้ว ต่ำกว่า 58 นิ้ว และจะต้องมีแรงอัดภายในพอๆกับแรงอัดภายนอก และจะต้องนำมาไว้ที่สถานที่แข่งขันแล้วประมาณ 60 วันหรือมากกว่านั้นเพื่อให้ปรับสภาพเท่ากับอากาศ ลูกเทนนิสแบบนี้เรียกว่าลูกเทนนิสแบบไร้แรงอัด (Non Pressurised)

  • ข้อ 4 ไม้เทนนิส (The Racket)
    ไม้เทนนิสที่ไม่มีลักษณะดังต่อไปนี้จะนำมาใช้แข่งขันภายใต้กติกาของเทนนิสไม่ได้คือ
    (1) พื้นที่ส่วนที่ใช้ตีลูกของไม้เทนนิสต้องแบบเรียบประกอบด้วยเอ็นถักเป็นแบบเดียวกันติดกับกรอบ (Frame) และต้องถักแบบสลับหรือมัดติดกันตรงบริเวณที่เอ็นซ้อนกัน การถักต้องสม่ำเสมอโดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณตรงกลางของไม้เทนนิส จำนวนเอ็นต้องไม่ถี่น้อยกว่าบริเวณอื่น เอ็นของไม้เทนนิส ต้องไม่มีวัสดุใดๆ ที่ติดอยู่หรือยื่นออกมานอกจากสิ่งที่ใช้เพื่อป้องกันหรือจำกัดการสึกหรอการสั่นสะเทือนเท่านั้น สิ่งดังกล่าวต้องมีขนาด และตำแหน่งที่เหมาะสมกับจุดประสงค์นั้นๆ
    (2) กรอบ (Frame) รวมทั้งด้าม (Handle) ต้องมีความยาวทั้งหมดไม่เกิน 32 นิ้ว (81.28 เซนติเมตร) และกรอบต้องกว้างไม่เกิน 12 1/2 นิ้ว (31.75 เซนติเมตร) บริเวณพื้นที่สำหรับขึงเอ็นต้องมีความยาวไม่เกิน 15 1/2 นิ้ว (39.37 เซนติเมตร) และกว้างไม่เกิน 11 1/2 นิ้ว (29.21 เซนติเมตร)
    (3) กรอบและด้าม ต้องไม่มีวัตถุใดที่ติดอยู่หรือยื่นออกมานอกจากสิ่งที่ทำไว้เพื่อป้องกันหรือจำกัดการสึกหรอ การสั่นสะเทือนหรือการกระจายน้ำหนักเท่านั้น สิ่งดังกล่าวต้องมีขนาดและตำแหน่งที่เหมาะสมกับจุดประสงค์นั้นๆ
    (4) กรอบด้ามและเอ็น ต้องไม่มีอุปกรณ์ใดๆ ซึ่งจะทำให้ผู้เล่นใช้เพื่อเปลี่ยนแปลงรูปร่างหรือเปลี่ยนแปลงการกระจายน้ำหนักของไม้เทนนิสในระหว่างการแข่งขันแต้มหนึ่งๆ สหพันธ์เทนนิสระหว่างประเทศจะเป็นผู้ตัดสินในกรณีที่มีปัญหาว่าไม้เทนนิสใดจะมีลักษณะตรงตามข้อกำหนดข้างต้นหรือไม่ หรือจะสามารถนำไม้เทนนิสนั้นมาใช้ในการเล่นได้หรือไม่การตัดสินนี้จะทำได้เมื่อเห็นสมควรหรือเมื่อผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น นักเทนนิส ผู้ผลิต สมาคมระหว่างประเทศ (Naitonal Association) หรือสมาชิกได้ทักท้วงขึ้น
    กรณีศึกษา
    ปัญหาที่ 1 : ไม้เทนนิสอันหนึ่งจะขึงเอ็นมากกว่าหนึ่งชุดได้หรือไม่
    ข้อชี้ขาด : ไม่ได้ ตามกติกาได้ระบุไว้ชัดแจ้งแล้วว่า การขึงเอ็นไม้เทนนิสอย่างไรจึงจะถูกต้อง และอย่างไรไม่ถูกต้อง
    ปัญหาที่ 2 : การขึงเอ็นไม้เทนนิสจะถูกต้องหรือไม่ ถ้าระดับของเอ็นที่ขึงสูงต่ำไม่เท่ากัน
    ข้อชี้ขาด : ไม่ถูกต้อง
    ปัญหาที่ 3 นักเทนนิสสามารถใช้ชิ้นส่วนกันสะเทือนติดบนเอ็นของไม้เทนนิสได้หรือไม่ถ้าได้จะต้องติดตรงไหน
    ข้อชี้ขาด : ติดได้ แต่ต้องติดไว้นอกเส้นที่ไขว้กันของเอ็นเท่านั้น
    ปัญหาที่ 4 : ขณะแข่งขัน เอ็นไม้เทนนิสของนักกีฬาขาดนักกีฬาสามารถเล่นต่อไปได้หรือไม่
    ข้อชี้ขาด : ได้

  • ข้อ 5 ผู้เสิร์ฟและผู้รับ (Server & Receiver)ผู้เล่นจะต้องอยู่คนละข้างของตาข่าย ผู้เล่นซึ่งเป็นผู้ส่งก่อนเรียกว่า "ผู้เสิร์ฟ" (Server) ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งเรียก "ผู้รับ" (Receiver)
    ปัญหาที่ 1 : ผู้เล่นขณะพยายามตีลูก หากล้ำแนวเส้นสมมติที่ลากตรงต่อจากตาข่ายออกไปจะเสียแต้มหรือไม่
    (1) ก่อนตีถูกลูก
    (2) หลังตีถูกลูกแล้ว
    ข้อชี้ขาด : ไม่เสียแต้มทั้งสองกรณี เว้นแต่ผู้นั้นจะล้ำเข้าไปในสนามของคู่ต่อสู้ (กติกา ข้อ 20 (5)) ในกรณีที่เกิดการขัดขวางใดๆขึ้น คู่ต่อสู้ของผู้นั้นอาจจะขอคำตัดสินจากผู้ตัดสินได้ตามกติกาข้อ 21 และข้อ 25
    ปัญหาที่ 2 : ผู้เสิร์ฟอ้างว่าผู้รับจะต้องยืนอยู่ภายในเส้นขอบของสนามถูกต้องหรือไม่
    ข้อชี้ขาด : ไม่ถูกต้อง ผู้รับจะยืนอยู่ที่ใดในด้านของตนก็ได้ตามใจชอบ

  • ข้อ 6 การเลือกแดนและเลือกเสิร์ฟ (Choice of Ends & Service)
    การเลือกแดนก็ดี การเลือกสิทธิ์ที่จะเป็นผู้เสิร์ฟหรือผู้รับในเกมแรกก็ดี ให้ชี้ขาดด้วยการเสี่ยง (Toss) ผู้เล่นที่ชนะในการเสี่ยงจะมีสิทธิ์เลือกหรือขอร้องให้คู่ต่อสู้เลือก
    (1) สิทธิ์ที่จะเป็นผู้เสิร์ฟหรือผู้รับ ในกรณีที่ผู้เล่นอีกฝ่ายหนึ่งจะเป็นผู้เลือกแดนหรือ
    (2) เลือกแดน ในกรณีนี้ผู้เล่นอีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิ์ที่จะเลือกเป็นผู้เสิร์ฟหรือผู้รับ
    ปัญหาที่ 1 : ผู้เล่นมีสิทธิ์เล่นใหม่หรือไม่ ถ้ามีการเลื่อนการแข่งขันหรือหยุดการแข่งขัน
    ข้อชี้ขาด : มีสิทธิ์ ถือว่าการเสี่ยงทายเดิมใช้ได้ แต่การเลือกอาจจะเปลี่ยนเป็นเลือกเสิร์ฟหรือเลือกแดนใหม่

  • ข้อ 7 การเสิร์ฟ (The Service)
    การเสิร์ฟจะต้องกระทำดังนี้ คือ ก่อนเสิร์ฟผู้เสิร์ฟต้องยืนด้วยเท้าทั้งสองข้างหลังเส้นหลัง (คือให้เส้นหลังอยู่ระหว่างตาข่ายกับผู้เสิร์ฟ) และยืนอยู่ระหว่างเส้นสมมติที่ลากตรงต่อออกไปจากจุดกึ่งกลาง (Center-Mark) และเส้นข้าง ต่อจากนั้นให้ผู้เสิร์ฟใช้มือโยนลูกขึ้นไปในอากาศในทิศทางใดก็ได้แล้วใช้ไม้เทนนิสตีลูกนั้นก่อนตกถึงพื้น เมื่อไม้เทนนิสสัมผัสลูกก็ถือว่าการเสิร์ฟครั้งนั้นเสร็จสิ้นแล้ว ถ้าผู้เล่นมีแขนข้างเดียวจะใช้ไม้เทนนิสช่วยโยนลูกในการเสิร์ฟก็ได้
    ปัญหาที่ 1 : ในการเล่นเดี่ยว ผู้เสิร์ฟจะยืนหลังเส้นหลังในแนวที่อยู่ระหว่างเส้นข้างของสนามประเภทเดี่ยวกับเส้นข้างของสนามประเภทคู่ได้หรือไม่
    ข้อชี้ขาด : ไม่ได้
    ปัญหาที่ 2 : ผู้เล่นขณะทำการเสิร์ฟ โยนลูกขึ้นไป 2 ลูก หรือมากกว่า แทนที่จะโยนลูกเดียว จะถือว่าผู้นั้นเสิร์ฟเสียหรือไม่
    ข้อชี้ขาด : ไม่ถือว่าเสีย ผู้ตัดสินควรขาน "เล็ท" แต่ถ้าผู้ตัดสินเห็นว่าการกระทำนั้นเกิดขึ้นด้วยความตั้งใจ อาจจะถือปฏิบัติตามกติกาข้อ 21 ก็ได้

  • ข้อ 8 ฟุทฟอลท์ (Foot Fault)
    (1) ตลอดการเสิร์ฟผู้เสิร์ฟจะต้อง
    - ไม่เปลี่ยนจุดยืนด้วยการเดินหรือวิ่ง ผู้เสิร์ฟที่เคลื่อนที่เท้าเพียงเล็กน้อยโดยไม่ทำให้เท้าเคลื่อนจากจุดเดิม จะไม่ถือว่า "เปลี่ยนจุดยืนด้วยการเดินหรือวิ่ง"
    - ไม่สัมผัสที่พื้นส่วนใดนอกจากพื้นที่อยู่หลังเส้นในระหว่างเส้นสมมติที่ลากตรงต่อออกไปจากจุดกึ่งกลาง (Center mark) และเส้นข้าง
    (2) คำว่า "เท้า" หมายถึงส่วนของปลายขานับตั้งแต่ข้อเท้าลงไป

  • ข้อ 9 วิธีการเสิร์ฟ (Delivery lf Service)
    (1) ในการเสิร์ฟ ผู้เสิร์ฟต้องยืนหลังสนามด้านขวาและซ้ายสลับกันไป เริ่มจากด้านขวาก่อนทุกเกม ถ้ามีการเสิร์ฟผิดด้านโดยไม่มีผู้ทักท้วง แต้มและการเสิร์ฟที่ผ่านไปคงใช้ได้ทั้งหมดแต่เมื่อพบข้อผิดพลาดให้เปลี่ยนไปเสิร์ฟในด้านที่ถูกต้อง
    ทันที
    (2) ลูกที่เสิร์ฟจะต้องข้ามตาข่ายไปสัมผัสพื้นสนามภายในคอร์ตเสิร์ฟซึ่งอยู่ทแยงกันหรือบนเส้นใดเส้นหนึ่งที่ล้อมรอบคอร์ตเสิร์ฟนั้น ก่อนผู้รับจะตีโต้ลูกกลับ

  • ข้อ 10 ลูกเสิร์ฟเสีย (Service Fault)
    การเสิร์ฟที่ถือว่าเสียคือ
    (1) ถ้าผู้เสิร์ฟทำผิดกติกาข้อ 7.8 หรือ 9
    (2) ถ้าผู้เสิร์ฟตีลูกอย่างเจตนาแต่ไม่ถูก
    (3) ถ้าลูกที่เสิร์ฟไปนั้นสัมผัสสิ่งติดตั้งถาวรอย่างใด (นอกจากตาข่าย แถบขึงตาข่ายหรือแถบหุ้มตาข่าย) ก่อนสัมผัสพื้น
    ปัญหาที่ 1 : หลังจากโยนลูกเพื่อเสิร์ฟแล้ว ผู้เสิร์ฟเปลี่ยนใจไม่ตีลูก แต่ใช้มือรับลูกจะถือว่าลูกนั้นเสียหรือไม่
    ข้อชี้ขาด : ไม่เสีย
    ปัญหาที่ 2 : ในการเล่นเดี่ยวที่ใช้สนามประเภทคู่ โดยมีเสาขึงตาข่ายอยู่ทั้งประเภทเดี่ยวและประเภทคู่ หากเสิร์ฟลูกไปกระทบเสาขึงตาข่ายประเภทเดี่ยวและตกลงในสนามที่ถูกต้องลูกนี้จะถือว่าเสียหรือเล็ท
    ข้อชี้ขาด : ถือว่าเสีย เพราะเสาขึงตาข่ายทั้งประเภทเดี่ยวและคู่รวมทั้งตาข่าย และแถบหุ้มตาข่ายที่อยู่ระหว่างเสาทั้งสองถือเป็นสิ่งติดตั้งถาวร (ตามกติกาข้อ 2 ข้อ 10 และหมายเหตุท้าย กติการข้อ 24)

  • ข้อ 11 การเสิร์ฟลูกที่สอง (Second Service)
    เมื่อเสิร์ฟลูกแรกเสีย ผู้เสิร์ฟจะต้องเสิร์ฟอีกลูกหนึ่งจากหลังสนามด้านเดิมที่เสิร์ฟลูกแรกไปแล้ว ถ้าลูกแรกที่เสิร์ฟเสียนั้นผู้เสิร์ฟยืนผิดด้าน ให้ผู้เสิร์ฟใหม่อีกลูกเดียวจากหลังอีกด้านหนึ่งตามกติกาข้อ 9
    ปัญหาที่ 1 : ผู้เล่นยืนผิดด้าน เสิร์ฟลูกจนเสียแต้มไปแล้วจะอ้างว่าเขาเสิร์ฟเสียเพราะยืนผิดด้านได้หรือไม่
    ข้อชี้ขาด : ไม่ได้ แต้มต้องเป็นไปตามที่เล่นไปแล้ว สำหรับการเสิร์ฟลูกต่อไปต้องเสิร์ฟจากด้านที่ถูกต้องตามแต้มที่เล่นเสร็จไปแล้ว
    ปัญหาที่ 2 : ขณะแต้ม 15 เท่ากัน ผู้เสิร์ฟจากสนามด้านซ้ายแล้วได้แต้มนั้นต่อมาเขาเสิร์ฟจากด้านขวาและเสียไปหนึ่งลูกแล้วจึงรู้ว่าเสิร์ฟผิดด้าน ผู้เสิร์ฟนั้นจะได้แต้มที่ได้ไปแล้วหรือไม่ และลูกต่อไปจะต้องเสิร์ฟจากด้านใด
    ข้อชี้ขาด : แต้มที่ได้นั้นถือว่าชอบแล้ว ลูกต่อไปต้องเสิร์ฟจากด้านซ้ายตามแต้มที่ได้ คือ 30-15 และผู้เสิร์ฟเสียไปแล้วหนึ่งลูก

  • ข้อ 12 โอกาสที่จะเสิร์ฟ (When to Serve)
    ผู้เสิร์ฟจะเสิร์ฟไม่ได้จนกว่าผู้รับพร้อมที่จะรับ หากผู้รับได้พยายามรับลูกต้องถือว่าผู้รับพร้อมที่จะรับลูกแล้ว ถ้าผู้รับแสดงท่าทางว่าตนยังไม่พร้อมที่จะรับลูกผู้รับจะอ้างว่าลูกเสิร์ฟนั้นเสียไม่ได้หากว่าลูกเสิร์ฟนั้นมิได้สัมผัสพื้นสนามที่ถูกต้อง

  • ข้อ 13 การขานเล็ท (The Let)
    ทุกกรณีที่ขานคำว่า "เล็ท" ตามกติกานี้ หรือขานเพื่อหยุดยั้งการเล่นครั้งใดก็ตามให้ตีความหมายดังนี้
    (1) เมื่อขานขึ้นเฉพาะการเสิร์ฟลูกนั้นใหม่
    (2) เมื่อขานขึ้นในกรณีอื่นๆ ให้เล่นแต้มนั้นใหม่
    ปัญหาที่ 1 : ถ้าการเสิร์ฟมีสิ่งขัดขวางเกิดขึ้น นอกเหนือจากที่ระบุไว้ในกติการข้อ 14 ควรให้เสิร์ฟลูกนั้นใหม่หรืออย่างไร
    ข้อชี้ขาด : ไม่ใช่ ต้องเล่นแต้มนั้นใหม่ทั้งหมด
    ปัญหาที่ 2 : ถ้าลูกที่อยู่ในการเล่นเกิดแตกขึ้น ควรขานเล็ทหรือไม่
    ข้อชี้ขาด : ควร

  • ข้อ 14 การขานเล็ทในขณะเสิร์ฟ (The "Let" in Service)
    การเสิร์ฟที่ถือว่าเล็ท คือ
    (1) เมื่อลูกที่เสิร์ฟไปสัมผัสตาข่าย แถบขึงตาข่ายหรือแถบหุ้มตาข่าย แล้วตกในสนามที่ถูกต้อง หรือเมื่อลูกที่เสิร์ฟไปสัมผัสตาข่าย แถบขึงตาข่าย แถบหุ้มตาข่ายแล้วสัมผัสร่างกายผู้รับ หรือสิ่งที่ผู้รับสวมหรือถืออยู่ก่อนลูกนั้นสัมผัสพื้น
    (2) เมื่อได้เสิร์ฟไปในขณะผู้รับไม่พร้อมที่จะรับ ไม่ว่าจะเป็นการเสิร์ฟที่ดีหรือเสียก็ตาม (ดูกติกาข้อ 12)
    เมื่อมีการเสิร์ฟเป็นเล็ท ไม่มีฝ่ายใดได้แต้ม และผู้เสิร์ฟต้องเสิร์ฟลูกนั้นใหม่ การเสิร์ฟที่เป็นเล็ทไม่ทำให้การเสิร์ฟที่เสียไปในลูกแรกกลัยเป็นลูกดีได้

  • ข้อ 15 ลำดับการเสิร์ฟ (Order of Service)
    เมื่อจบเกมแรก ผู้รับจะต้องเปลี่ยนเป็นผู้เสิร์ฟ และผู้เสิร์ฟต้องเปลี่ยนเป็นผู้รับ สลับกันเรื่อยไปจนกว่าจะจบการแข่งขัน (Match) ถ้าผู้เล่นคนใดเสิร์ฟผิดรอบ ผู้เล่นที่ควรจะเป็นผู้เสิร์ฟจะต้องเป็นผู้เสิร์ฟต่อไปทันทีที่ได้พบข้อผิดพลาด แต้มที่เล่นไปแล้วก่อนได้พบข้อผิดพลาดคงนับด้วยถ้าเกมนั้นจบลงก่อนได้พบข้อผิดพลาด ลำดับการเสิร์ฟเกมต่อๆไปให้เป็นไปตามที่ผิดพลาดไปแล้วนั้นแต่ลูกที่ผู้เสิร์ฟผิดรอบเสิร์ฟเสียไปหนึ่งลูกซึ่งเกิดขึ้นก่อนได้พบข้อผิดพลาดไม่ต้องนับ

  • ข้อ 16 การเปลี่ยนข้าง (When Players Change Ends)
    ผู้เล่นจะต้องเปลี่ยนข้างเมื่อจบเกมที่หนึ่ง เกมที่สอง และทุกๆเกมคี่ของแต่ละเซต (Set) และต้องเปลี่ยนข้างเมื่อจบเซตนั้นรวมกันแล้วเป็นเลขคู่ ในกรณีนี้จะไม่เปลี่ยนข้างจนกว่าจะจบเกมที่หนึ่งของเซตต่อไป ถ้าเกิดข้อผิดพลาดทำให้ลำดับการเปลี่ยนข้างไม่ถูกต้อง ผู้เล่นต้องเปลี่ยนข้างให้ถูกต้องทันทีที่พบข้อผิดพลาดและดำเนินการต่อไปตามลำดับการเปลี่ยนข้างที่เลือกไว้แต่เดิม

  • ข้อ 17 ลูกอยู่ในการเล่น (The Ball in Play)
    นับตั้งแต่เมื่อได้ทำการเสิร์ฟไปแล้วจนการทั้งผู้เล่นได้หรือเสียแต้มถือว่าลูกนั้นอยู่ในการเล่นเว้นแต่จะมีการขานว่าเล็ทหรือเสีย
    ปัญหา : ผู้เล่นฝ่ายหนึ่งตีโต้ลูกไปแต่เสีย กรรมการไม่ขานว่า "เสีย" และการเล่นยังคงดำเนินต่อไป ผู้เล่นอีกฝ่ายหนึ่งจะอ้างว่าตนได้แต้มนั้นหลังจากตีโต้กันจนจบแต้มนั้นแล้วได้หรือไม่
    ข้อชี้ขาด : ไม่ได้ ถ้าผู้เล่นยังเล่นต่อไปหลังจากมีลูกเสียที่เกิดขึ้นแล้วฝ่ายใดจะอ้างว่าตนได้แต้มนั้นไม่ได้ เว้นแต่คู่ต่อสู้จะถูกขัดขวางการเล่น

  • ข้อ 18 ผู้เสิร์ฟได้แต้ม (Server Wins Point)
    ผู้เสิร์ฟจะได้แต้มเมื่อ
    (1) ลูกที่เสิร์ฟที่มิได้เป็นเล็ทดังที่ระบุไว้ในกติกาข้อ 14 ไปสัมผัสผู้รับหรือสิ่งที่ผู้รับสวมหรือถืออยู่ก่อนที่จะสัมผัสพื้น
    (2) ผู้รับทำเสียแต้ม ดังที่ระบุไว้ในกติกาข้อ 20

  • ข้อ 19 ผู้รับได้แต้ม (Receiver Wins Point)
    ผู้รับจะได้แต้มเมื่อ
    (1) ผู้เสิร์ฟเสียสองลูกติดต่อกัน
    (2) ผู้เสิร์ฟทำเสียแต้ม ดังที่ระบุไว้ในกติกาข้อ 20

  • ข้อ 20 ผู้เล่นเสียแต้ม (Player Loses Point)
    ผู้เล่นจะเสียแต้มเมื่อ
    (1) ผู้นั้นไม่สามารถตีลูกที่อยู่ในการเล่นให้ข้ามตาข่ายกลับไปก่อนที่ลูกจะสัมผัสพื้นสองครั้ง (เว้นแต่ที่ระบุไว้ในกติกาข้อ 24 (1) หรือ (3)) หรือ
    (2) ผู้นั้นตีลูกที่อยู่ในการเล่นไปสัมผัสพื้นสิ่งติดตั้งถาวรหรือวัตถุอื่นใดซึ่งอยู่นอกเส้นที่ล้อมรอบสนามของคู่ต่อสู้ (เว้นแต่ที่ระบุไว้ในกติกาข้อ 24 (1) หรือ (3)) หรือ
    (3) ผู้นั้นตีลูกก่อนลูกตกถึงพื้น (Volleys) แต่เสียแม้จะยืนอยู่นอกสนามก็ตามหรือ
    (4) ผู้นั้นใช้ไม้เทนนิสสัมผัสลูกหรือตีลูกที่อยู่ในการเล่นมากกว่าหนึ่งครั้ง หรือ
    (5) ร่างกายหรือไม้เทนนิสของผู้นั้น (ไม่ว่าจะถืออยู่หรือหลุดจากมือแล้วก็ตาม) หรือสิ่งที่ผู้นั้นสวมหรือถืออยู่สัมผัสตาข่าย เสา ไม้ค้ำตาข่าย เชือกขึงตาข่าย แถบขึงตาข่าย แถบหุ้มตาข่าย หรือสนามของคู่ต่อสู้ในขณะที่ลูกอยู่ในการเล่น หรือ
    (6) ผู้นั้นตีลูกก่อนลูกนั้นตกถึงพื้น (Volleys) ก่อนลูกนั้นข้ามตาข่ายมา หรือ
    (7) ลูกที่อยู่ในการเล่นสัมผัสร่างกายของผู้นั้น หรือสิ่งใดที่สวมหรือถืออยู่ เว้นแต่ไม้เทนนิสที่เขาถืออยู่ด้วยมือเดียว หรือสองมือก็ตาม หรือ
    (8) ผู้นั้นขว้างไม้เทนนิสไปถูกลูก หรือ
    (9) ผู้นั้นตั้งใจทำให้รูปร่างของไม้เทนนิสที่ใช้ตีอยู่เปลี่ยนแปลงในระหว่างการเล่นแต้มนั้น
    ปัญหาที่ 1 : ในการเสิร์ฟ ถ้าไม้เทนนิสหลุดมือไปสัมผัสตาข่ายก่อนลูกสัมผัสสนามจะถือว่าผู้เสิร์ฟเสียลูกนั้นหรือเสียแต้มนั้นทั้งหมด
    ข้อชี้ขาด : ผู้เสิร์ฟเสียแต้ม เพราะไม้เทนนิสสัมผัสตาข่าย ขณะลูกอยู่ในการเล่น (กติกา ข้อ 20 (5))
    ปัญหาที่ 2 : ในการเสิร์ฟ ถ้าไม้เทนนิสหลุดมือไปสัมผัสตาข่ายหลังลูกสัมผัสพื้นนอกเขตสนามที่ถูกต้อง จะถือว่าผู้เสิร์ฟเสียลูกนั้นหรือเสียแต้มทั้งหมด
    ข้อชี้ขาด : เสียเฉพาะลูกนั้น เพราะขณะไม้เทนนิสสัมผัสตาข่ายลูกมิได้อยู่ในการเล่นแล้ว
    ปัญหาที่ 3 : ก. และ ข. กำลังแข่งขันกับ ค. และ ง. ขณะ ก. เสิร์ฟไปที่ ง. ปรากฏว่า ค. สัมผัสตาข่ายก่อนลูกที่ ก. เสิร์ฟจะสัมผัสสนาม หลังจากนั้นผู้ตัดสินขานว่า "เสีย" เพราะลูกที่ ก. เสิร์ฟตกนอกคอร์ตเสิร์ฟ ดังนี้ ผ่าย ค. และ ง. จะเสียแต้มหรือไม่
    ข้อชี้ขาด : การขานว่า "เสีย" นั้นไม่ถูกต้อง เพราะ ค. และ ง. ได้เสียแต้มนั้นแล้ว ก่อนขานว่า "เสีย" เนื่องจาก ค. สัมผัสตาข่ายขณะลูกอยู่ในการเล่น (กติกาข้อ 20 (5)
    ปัญหาที่ 4 : ขณะลูกอยู่ในการเล่น ผู้เล่นจะกระโดดข้ามตาข่ายไปในสนามของคู่ต่อสู้ได้หรือไม่
    ข้อชี้ขาด : ไม่ได้ ผู้นั้นต้องเสียแต้ม (กติกาข้อ 20 (5))
    ปัญหาที่ 5 : ก. ตีลูกตัด ลูกวิ่งข้ามตาข่ายไปแล้วแต่ลอยย้อนกลับมาในสนามด้านของ ก. อีกดังนี้หาก ข. ไม่สามารถเอื้อมตีลูกได้ทันจึงขว้างไม้เทนนิสไปกระทบลูก ทั้งลูกและไม้เทนนิสของ ข. ข้ามตาข่ายไปตกในสนามด้าน ของ ก. ก. ตีลูกกลับไปแต่ตกนอกสนามด้านของ ข. ดังนี้ ข. จะได้แต้มหรือเสียแต้ม
    ข้อชี้ขาด : ข. เป็นผู้เสียแต้ม (กติกาข้อ 20 (5) และ (8))
    ปัญหาที่ 6 : ผู้เล่นยืนอยู่นอกคอร์ตเสิร์ฟ ลูกเสิร์ฟลอยมาสัมผัสผู้เล่นนั้นก่อนสัมผัสพื้นผู้เล่นนั้นจะได้แต้มหรือเสียแต้ม
    ข้อขี้ขาด : เสียแต้ม (กติกาข้อ 20 (7)) เว้นแต่จะเป็นไปตามกติกาข้อ 14 (1)
    ปัญหาที่ 7 : ผู้เล่นยืนอยู่นอกสนาม ใช้ไม้เทนนิสตีลูกหรือใช้มือรับลูกแล้วอ้างว่าตนได้แต้มนั้นเนื่องจากลูกนั้นจะต้องตกนอกสนามอย่างแน่นอน
    ข้อชี้ขาด : ผู้เล่นนั้นจะอ้างว่าตนได้แต้มไม่ได้ไม่ว่ากรณีใด
    (1) ถ้าใช้มือรับลูก ผู้นั้นเสียแต้มตามกติกาข้อ 20 (7)
    (2) ถ้าตีลูกก่อนลูกนั้นถึงพื้นแต่เสีย ผู้นั้นเสียแต้มตามกติกาข้อ 20 (3)
    (3) ถ้าตีลูกก่อนลูกนั้นตกถึงพื้นและเป็นลูกดี การแข่งขันคงดำเนินต่อไป

  • ข้อ 21 การขัดขวางคู่ต่อสู้ (Player Hinders Opponent)
    หากผู้เล่นฝ่ายใดกระทำโดยจงใจเพื่อขัดขวางมิให้คู่ต่อสู้ตีลูกถือว่าผู้นั้นเสียแต้ม หากมิได้กระทำโดยจงใจ ให้เล่นแต้มนั้นใหม่

    ปัญหาที่ 1 : ผู้เล่นจะถูกลงโทษหรือไม่ ถ้าหากขณะตีลูกผู้เล่นนั้นสัมผัสตัวคู่ต่อสู้
    ข้อชี้ขาด : ไม่ถูกลงโทษ เว้นแต่ผู้ตัดสินเห็นว่าจำเป็นต้องลงโทษตามกติกาข้อ 21
    ปัญหาที่ 2 : เมื่อลูกซึ่งข้ามตาข่ายมาสัมผัสพื้นแล้วกระดอนข้ามตาข่ายกลับไปอีก ผู้เล่นที่จะต้องตีลูกนั้นสามารถเอื้อมข้ามตาข่ายไปตีลูกนั้นได้ จะใช้กติกาข้อไหนตัดสิน ถ้าหากผู้เล่นนั้นถูกคู่ต่อสู้ขัดขวางไม่ให้ตีลูก
    ข้อชี้ขาด : ใช้กติกาข้อ 21 คือ ผู้ตัดสินอาจให้ผู้เล่นที่ถูกขัดขวางได้แต้มนั้น หรืออาจสั่งให้เล่นแต้มนั้นใหม่ก็ได้ (ดูกติกาข้อ 25)
    ปัญหาที่ 3 : การตีลูกสองครั้งโดยไม่เต็มใจถือว่าเป็นการกระทำเพื่อขัดขวางคู่ต่อสู้ตามกติกาข้อ 21 หรือไม่
    ข้อชี้ขาด : ไม่ใช่

  • ข้อ 22 ลูกที่ตกบนเส้น (Ball Falls on Line)
    ลูกที่ตกบนเส้นใดๆก็ตามให้ถือว่าตกในสนามที่เส้นนั้นล้อมอยู่

  • ข้อ 23 ลูกสัมผัสสิ่งติดตั้งถาวร (Ball Touches Permanent Fixtures)
    ถ้าลูกที่อยู่ในการเล่นไปสัมผัสสิ่งติดตั้งถาวรใดๆ (นอกจากตาข่าย เสา ไม้ค้ำตาข่าย เชือกขึงตาข่าย แถบขึงตาข่าย หรือแถบหุ้มตาข่าย) หลังจากได้สัมผัสสนามแล้ว ผู้เล่นที่ตีลูกนั้นได้แต้ม แต่ถ้าลูกนั้นสัมผัสสิ่งติดตั้งถาวรดังกล่าวข้างต้นก่อนสัมผัสสนาม คู่ต่อสู้เป็นฝ่ายได้แต้ม
    ปัญหา : ในการตีโต้ลูก ลูกสัมผัสผู้ตัดสิน เก้าอี้หรือขาเก้าอี้ของผู้ตัดสิน ผู้เล่นจะอ้างว่า ลูกนั้นกำลังจะวิ่งไปตกในสนามได้หรือไม่
    ข้อชี้ขาด : อ้างไม่ได้ ต้องถือว่าผู้นั้นเสียแต้ม

  • ข้อ 24 การตีโต้ที่ดี (A Good Return)การตีโต้ที่ถือว่าดี คือ
    (1) ถ้าลูกสัมผัสตาข่าย เสา ไม้ค้ำตาข่าย เชือกขึงตาข่าย หรือแถบหุ้มตาข่าย แล้วข้ามสิ่งดังกล่าวไปตกในสนาม
    (2) เมื่อลูกที่เสิร์ฟหรือตีโต้กลับมา ข้ามตาข่ายตกในสนามที่ถูกต้องแล้วกระดอนข้ามตาข่ายกลับไป ถ้าผู้เล่นที่ถึงรอบจะต้องตีลูกเอื้อมข้ามตาข่ายไปตีลูก โดยมิให้ร่างกายหรือส่วนใดของเสื้อผ้าหรือไม้เทนนิสสัมผัสตาข่าย เสา ไม้ค้ำตาข่าย เชือกขึงตาข่าย แถบขึงตาข่าย แถบหุ้มตาข่าย หรือสนามด้านของคู่ต่อสู้ และลูกนั้นเป็นลูกดี หรือ
    (3) ถ้าลูกวิ่งอ้อมนอกเสาหรือไม้ค้ำตาข่าย ไม่ว่าจะวิ่งระดับสูงหรือต่ำกว่าตาข่ายหรือแม้จะสัมผัสเสาหรือไม้ค้ำตาข่ายแล้วไปสัมผัสสนามที่ถูกต้อง หรือ
    (4) ถ้าไม้เทนนิสของผู้เล่นข้ามตาข่ายไปหลังจากตีลูกกลับไปแล้วแต่ต้องมิใช่ตีลูกก่อนข้ามตาข่ายเข้ามาในสนามด้ายของตน และเป็นการตีโต้ที่ดี หรือ
    (5) ถ้าลูกที่ตีโต้ไปแล้วหรือเสิร์ฟไปแล้วกระทบลูกอื่นซึ่งอยู่ภายในสนาม

    หมายเหตุ : ในการแข่งขันประเภทเดี่ยวในสนามประเภทคู่เพื่อความสะดวกจะใช้ไม้ค้ำตาข่ายมาค้ำตาข่ายไว้ กรณีเช่นนี้ เสา ส่วนของตาข่าย เชือกขึงตาข่ายและแถบหุ้มตาข่ายซึ่งอยู่นอกไม้ค้ำตาข่าย ต้องถือว่าเป็นสิ่งติดตั้งถาวร และไม่ถือว่าเป็นเสาหรือตาข่ายของการแข่งขันประเภทเดี่ยว
    ลูกที่ตีโต้กัน หากวิ่งลอดเชือกที่ขึงตาข่าย (Net Cord) ระหว่างไม้ค้ำตาข่ายและเสา โดยมิได้สัมผัสเชือกขึงตาข่าย ตาข่าย หรือเสา แล้วตกในสนามถือว่าเป็นลูกดี
    ปัญหาที่ 1 : ลูกซึ่งกำลังจะวิ่งออกไปนอกสนามแต่ชนเสาหรือไม้ค้ำตาข่ายและตกลงในสนามของคู่ต่อสู้ จะถือว่าเป็นลูกดีหรือไม่
    ข้อชี้ขาด : ถ้าเป็นลูกเสิร์ฟถือว่าเป็นลูกเสีย ตามกติกาข้อ 10 (3) ถ้าเป็นลูกอื่นนอกจากเสิร์ฟถือว่าดี (ตามกติกาข้อ 24 (1))
    ปัญหาที่ 2 : จะถือว่าลูกที่ตีโต้กลับไปเป็นลูกดีหรือไม่ ถ้าผู้นั้นจับไม้เทนนิสสองมือในการตีลูก
    ข้อชี้ขาด : ถือเป็นลูกดี
    ปัญหาที่ 3 : ถ้าลูกเสิร์ฟหรือลูกที่อยู่ในการเล่นไปกระทบลูกที่อยู่ในสนามจะถือว่าได้เสียแต้มเลยหรือไม่
    ข้อชี้ขาด อยังไม่ได้หรือเสียแต้ม การแข่งขันต้องดำเนินต่อไป หากผู้ตัดสินไม่แน่ใจว่าลูกที่ตีโต้กันอยู่นั้นจะเป็นลูกที่ถูกต้อง ก็ควรขานเล็ท
    ปัญหาที่ 4 : ในระหว่างการเล่น ผู้เล่นจะใช้ไม้เทนนิสมากว่าหนึ่งอันได้หรือไม่
    ข้อชี้ขาด : ไม่ได้ กติกาที่มีอยู่ทั้งหมดนี้หมายถึงการใช้ไม้เทนนิสอันเดียวเท่านั้น
    ปัญหาที่ 5 : ผู้เล่นจะขอให้เอาลูกที่ตกอยู่ในสนามของคู่ต่อสู้ออกไปก่อนได้หรือไม่
    ข้อชี้ขาด : ได้ แต่ต้องไม่ใช้ขณะลูกอยู่ในการเล่น

  • ข้อ 25 ผู้เล่นถูกขัดขวาง (Hindrance of a Player)
    ในระหว่างการตีลูก ถ้าผู้เล่นถูกขัดขวางโดยสิ่งใดซึ่งพ้นวิสัยที่เขาจะแก้ไขได้เว้นแต่สิ่งติดตั้งถาวรหรือเว้นแต่สิ่งซึ่งระบุไว้ในกติกาข้อ 21 ให้ขาน "เล็ท"
    ปัญหาที่ 1 : ถ้าผู้ดูเข้ามาขัดขวาง ทำให้ผู้เล่นไม่อาจตีโต้ลูก ผู้เล่นจะขอให้ขานเล็ทได้หรือไม่
    ข้อชี้ขาด : ได้ ถ้าผู้ตัดสินเห็นว่าผู้เล่นถูกขัดขวางโดยสภาพที่อยู่นอกเหนือความควบคุมของผู้เล่น แต่ต้องไม่ใช่เนื่องจากสิ่งติดตั้งถาวรหรือเครื่องประดับของสนาม
    ปัญหาที่ 2 : ผู้เล่นถูกขัดขวางเช่นเดียวกับปัญหาที่ 1 และผู้ตัดสินขานว่าเล็ทแล้ว ถ้าผู้เสิร์ฟได้เสิร์ฟลูกแล้วหนึ่งลูกก่อนขานเล็ท ผู้เสิร์ฟมีสิทธิ์เสิร์ฟใหม่สอง ลูกหรือไม่
    ข้อชี้ขาด : มีสิทธิ์ เพราะลูกกำลังอยู่ในการเล่นซึ่งตามกติกาจะต้องเล่นแต้มนั้นใหม่ทั้งหมดไม่ใช่เล่นใหม่เฉพาะลูกเดียว
    ปัญหาที่ 3 : ผู้เล่นจะขอให้เล่นแต้มนั้นใหม่ตามกติกาข้อ 25 เนื่องจากผู้เล่นคิดว่าคู่ต่อสู้จะถูกขัดขวางไม่ให้เล่นลูก และผู้เล่นลูก และผู้เล่นไม่คิดว่าลูกนั้นจะถูกตีโต้กลับมา จะได้หรือไม่
    ข้อชี้ขาด : ไม่ได้
    ปัญหาที่ 4 : จะถือว่าเป็นลูกดีหรือไม่ หากลูกที่อยู่ในการเล่นไปกระทบลูกอีกลูกหนึ่งในอากาศ
    ข้อชี้ขาด : ควรขานเล็ท เว้นเสียแต่ลูกที่อยู่ในอากาศนั้นเกิดจากการกระทำของผู้เล่นคนใดคนหนึ่ง ในกรณีเช่นนี้ผู้ตัดสินจะชี้ขาดตามกติกาข้อ 21
    ปัญหาที่ 5 : ถ้าผู้ตัดสินหรือกรรมการอื่นขานผิดพลาดว่า "เสีย" (Fault) หรือ "ออก" (Out) แล้วขานใหม่เพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดของตนเองเช่นนี้จะถือว่าการขานครั้งใดถูต้อง
    ข้อชี้ขาด : ผู้ตัดสินจะต้องขานเล็ท เว้นแต่จะเห็นว่าไม่มีฝ่ายใดถูกขัดขวางการเล่นเนื่องมาจากการขานดังกล่าวนั้น ในกรณีเช่นนี้ให้ถือว่าการขานที่แก้ไขใหม่นั้นถูกต้อง
    ปัญหาที่ 6 : ถ้าลูที่เสิร์ฟเสียไปในการเสิร์ฟลูกแรกกระดอนขึ้นมาขัดขวางผู้รับในขณะรับลูกเสิร์ฟลูกที่สอง ผู้รับจะขอให้ขานเล็ทได้หรือไม่
    ข้อชี้ขาด : ได้ แต่ถ้าผู้รับโอกาสที่จะเอาลูกที่เสิร์ฟเสียลูกแรกออกไปให้พ้นสนามได้แต่ เพิกเฉยไม่ทำ ผู้รับจะขอให้ขานเล็ทไม่ได้
    ปัญหาที่ 7 : ลูกที่ตีโต้กันอยู่จะถือว่าเป็นลูกดีหรือไม่ ถ้าลูกนั้นไปสัมผัสวัตถุใดที่อยู่กับที่หรือเคลื่อนไหวอยู่ในสนาม
    ข้อชี้ขาด : หากวัตถุที่อยู่กับที่นั้นเข้ามาภายในสนามหลังที่เริ่มเล่นลูกไปแล้ว ต้องขานเล็ท แต่ถ้าวัตถุอยู่กับที่นั้นเข้ามาในสนามก่อนเริ่มเล่นลูกต้องถือว่าลูกนั้นเป็นลูกดี แต่ถ้าลูกที่อยู่ในระหว่างการเล่นไปกระทบวัตถุที่กำลังเคลื่อนไหวบนสนามหรือเหนือพื้นสนาม จะต้องขานเล็ท
    ปัญหาที่ 8 : ถ้าหากลูกเสิร์ฟลูกแรกเสีย ลูกเสิร์ฟลูกที่สองดี แล้วเกิดความจำเป็นต้องขานเล็ท ทั้งนี้ไม่ว่ากรณีจะเป็นไปตามกติกาข้อ 25 หรือกรณีที่ผู้ตัดสินไม่สามารถตัดสินว่าแต้มนั้นเป็นของใครก็ดีจะใช้กติกาข้อไหนตัดสิน
    ข้อชี้ขาด : จะต้องยกเลิกลูกเสิร์ฟที่เสียไปแล้ว และเล่นแต้มนั้นใหม่ทั้งหมด

  • ข้อ 26 วิธีนับแต้มในแต่ละเกม (Score in a Game)
    - ถ้าผู้เล่นคนใดได้แต้มแรก ให้ขานแต้มว่า 15 สำหรับผู้เล่นนั้น เมื่อเขาได้แต้มที่สองให้ขานแต้มว่า 30 สำหรับผู้เล่นนั้นเมื่อเขาได้แต้มที่สามให้ขานแต้มว่า 40 สำหรับผู้เล่นนั้น และถ้าเขาได้แต้มที่สี่ ก็ถือว่าผู้นั้นชนะในเกมนั้น ทั้งนี้เว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้
    - ถ้าผู้เล่นทั้งสองฝ่ายได้แต้มสามแต้มเท่ากันให้ขานแต้มว่าดิวซ์ (Deuce) ถ้าผู้เล่นฝ่ายใดได้แต้มต่อไปให้ขานแต้มว่าได้เปรียบ (Advantage) สำหรับผู้เล่นนั้นถ้าผู้เล่นคนเดียวกันนั้นได้แต้มต่อไปอีกหนึ่งแต้ม ผู้เล่นคนนั้นชนะในเกมนั้น แต่ถ้าผู้เล่นอีกฝ่ายหนึ่งกลับเป็นผู้ได้แต้มต่อจากแต้มได้เปรียบให้ขานแต้มเป็นดิวซ์อีก และจะเป็นเช่นนี้ต่อไปจนกระทั่งผู้เล่นคนใดคนหนึ่งได้สองแต้มติดต่อกันหลังจากดิวซ์แล้ว จึงถือว่าผู้เล่นคนนั้นเป็นผู้ชนะในเกมนั้น
 
 

แนะนำการดูเทนนิส

 
1. การเล่น
ผู้เล่นจะต้องอยู่คนละข้างของตาข่าย ผู้เล่นที่ส่งลูกก่อนจะเป็นฝ่ายเสิร์ฟ อีกฝ่ายหนึ่งจะเป็นฝ่ายรับ สลับกันไป
2. การเลือกข้าง
ใช้วิธีเสี่ยง ผู้ชนะมีสิทธิ์ในการเลือกข้าง หรือเสิร์ฟ
3. การเสิร์ฟ การยืน
จะต้องให้เท้าทั้งสองข้างอยู่นอกสนามเส้นหลัง ให้โยนลูกขึ้นไปในอากาศ แล้วใช้ไม้ตีก่อนที่ลูกจะตกถึงพื้น ผู้เล่นที่มีแขนเดียวให้ใช้ไม้เทนนิสช่วยโยนได้ ให้เริ่มเสิร์ฟด้วยด้านขวาก่อน แล้วจึงสลับกันไป ลูกที่เสิร์ฟจะต้องข้ามตาข่ายไปสัมผัสกับพื้นภายในคอร์ตเสิร์ฟที่อยู่ทแยงกันเมื่อเสิร์ฟลูกที่ 1 เสีย จะต้องรีบเสิร์ฟลูกที่ 2 ทันที การเล่นเมื่อจบเกมจะต้องเปลี่ยนการเสิร์ฟสลับกันไป
4. การรับ
ผู้รับพร้อมที่จะรับจึงเสิร์ฟได้ ถ้าหากว่าผู้รับพยายามที่จะรับลูกต้องถือว่าผู้รับนั้นพร้อมแล้ว
5. การขานคำว่า " เล็ต "
 หมายความว่า เมื่อขานขึ้นเฉพาะการเสิร์ฟลูกที่ 1 ก็ให้เสิร์ฟลูกนั้นใหม่ เมื่อขานขึ้นกรณีอื่นๆ ให้เล่นแต้มนั้นใหม่ การเสิร์ฟที่ขาน " เล็ต " ไม่มีฝ่ายใดได้แต้ม
6. การเปลี่ยนข้าง
จะต้องเปลี่ยนข้างเมื่อจบเกมที่ 1 และเกมที่ 3 และทุกเกมคี่ของแต่ละเซต นอกจากจำนวนเกมในเซตนั้นเป็นเลขคู่ก็จะต้องเปลี่ยนข้างเมื่อจบเกมที่ 1 ในเซตถัดไป
7. การเสิร์ฟได้แต้ม
 คือ การเสิร์ฟถูกต้องหรือถูกตัวผู้รับก่อนที่ลูกจะตกถึงพื้น ผู้รับจะได้แต้มเมื่อผู้ เสิร์ฟเสีย 2 ลูกติดต่อกันหรือผู้เสิร์ฟทำเสียเอง
8. การขัดขวางคู่ต่อสู้
หากผู้เล่นคนใดขัดขวางคู่ต่อสู้ในการตีลูกโดยจงใจ จะเป็นฝ่ายเสียแต้ม
9. ลูกที่ตีไปสัมผัสพื้นสนามอย่างถูกต้องแล้วไปตกกับอุปกรณ์ถาวร
ผู้ตีจะได้แต้ม แต่ถ้าผู้ตี ตีลูกไปถูกอุปกรณ์แล้วสัมผัสพื้นสนามผู้รับจะได้แต้ม
10. การนับแต้มในแต่ละเกม
ผู้เล่นคนใดได้แต้มครั้งแรกให้ขานว่า "15 " เมื่อเขาได้แต้มครั้งที่ 2 ให้ขานว่า " 30 " เมื่อเขาได้แต้มครั้งที่ 3 ให้ขานว่า " 40 " เท่ากันให้ขานว่า " ดิวซ ์" ถ้าเขาได้แต้มอีกต่อไปเป็นครั้งที่ 2 เขาก็จะเป็นผู้ชนะในเกมนั้น ถ้าคู่ต่อสู้ของเขาทำแต้มต่อจากแต้มได้เปรียบก็จะขานว่า " ดิวซ ์" อีก ต่อจากนั้นถ้าใครทำแต้มต่อจาก " ดิวซ ์ " ติดต่อกัน 2 แต้มก็จะเป็นผู้ฝ่ายชนะ
11. การนับแต้มในแต่ละเซต
ผู้เล่นที่ชนะ 6 เกมแรก จะถือว่าเป็นผู้ชนะในเกมนั้น แต่จะต้องชนะคู่ต่อสู้ติดต่อกันอย่างน้อย 2 เกมด้วยและถ้าจำเป็นก็จะต้องเล่นต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าจะชนะติดต่อกัน 2 เกม
12. การนับแต้มระบบไทเบรก
จะใช้ต่อเมื่อได้แต้มเป็น 6 เกม เท่ากัน ยกเว้นเซตที่ 3 และเซตที่ 5 ของการแข่งขันที่มี 3 หรือ 5 เซต แต้มก่อนจะเป็นผู้ชนะในเกมนั้น แต่จะต้องชนะคู่ต่อสู้ติดต่อกันอย่างน้อย 2 แต้มด้วย ถ้าแต้มเป็น 6 เท่ากัน จะต้องต่อเกมออกไปจนกว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดชนะ 2 แต้มติดต่อกันตลอดไทเบรก จะเป็นฝ่ายชนะ
13. จำนวนเซตที่ใช้แข่งขัน
การแข่งขันประเภทคู่ อย่างมากมี 5 เซต ถ้ามีสตรีร่วมแข่งขันด้วยจะมี 3 เซต
14.เวลาสำหรับการแข่งขันและหยุดพัก
เวลาสำหรับการเปลี่ยนข้างไม่เกิน 1 นาที 30 วินาที แต่ต่อได้ไม่เกิน 25 วินาที เวลาพักหลังได้รับบาดเจ็บ ระหว่าง 3 - 5 นาที เวลาพัก เมื่อ หมดเซตที่ 3 หรือในการแข่งขันที่มีสตรีด้วยเมื่อหมดเซตที่ 2 พักได้ไม่เกิน 10 นาที
 
เกมไทร์เบรค คือ การเล่นเกมสุดท้ายอันเป็นเกมตัดสินนั่นเอง ในเกมนี้ผู้เล่นที่ทำคะแนนถึง 7 พ้อยท์ เป็นคนแรกจะชนะเกมเซ็ท ยกเว้นที่ในกรณีทั้งสองฝ่ายทำคะแนนได้ 6 พ้อยท์เท่าซึ่งเกมไทเบรคจะต้องดำเนินต่อไปจนกระทั่งผู้เล่นคนใดคนหนึ่งสามารถทำคะแนนนำอีกฝ่ายหนึ่งไปได้ 2 พ้อยท์รวมเช่น 9-7,16-14 ฯลฯ สำหรับในบางประเทศจะใช้เกมไทเบรคชนิด 5 พ้อยท์ เป็นเกณฑ์ตัดสิน อเมริกาเป็นประเทศหนึ่งที่กำหนดให้มีไทเบรคประเภทนี้ และได้ใช้ระบบนับแต้มที่เรียกว่า "No Ad Scoring" ซึ่งเป็นวิธีการนับเลขแบบก้าวหน้าเรียงขึ้นไปตามลำดับคือ 1,2,3,4 แทนที่จะเป็น 15,30,40 คนที่สามารถทำคะแนนได้ 4 แต้มคนแรกจะเป็นผู้ชนะในเกมนั้น
เป็นธรรมเนียมที่ถือปฏิบัติกันมาในการแข่งขันแบบทัวร์นาเมนต์ที่ผู้เล่นทั้งในประเภทเดี่ยวและประเภทคู่จะเปลี่ยนข้างกันในระหว่างการแข่งขัน ซึ่งจะทำกันหลังจากการแข่งขันในเกมที่ 1 ที่ 3 ที่ 5 และต่ไปเรื่อย ๆ เกมเว้นเกม การแข่งขันแต่ละเซ็ทจะแยกออกมาอย่างเด็ดขาด ดังนั้นถ้าหากว่าเซ็ทหนึ่งสิ้นสุดลงด้วยคะแนน 6-3 ก็จะมีการเปลี่ยนข้างกันในทันที แล้วจะมีการเปลี่ยนข้างกันอีกครั้งหนึ่งเมื่อเกมแรกของเซ็ท ต่อมาสิ้นสุดลง สำหรับในกรณีที่เป็นการแข่งขันไทเบรคผู้เล่นจะเปลี่ยนข้างกันในทุก ๆ 6 พ้อยท์ เมื่อครบไทเบรคหนึ่งครั้งก็เท่ากับจบกันไปหนึ่งเกม
 

มารยาทในการดูเทนนิส

 
1. ไม่ควรส่งเสียงดังในระหว่างการเล่น ช่วงเปลี่ยนข้างสามารถทำได้บ้าง อย่างไรก็ตาม ในช่วงเปลี่ยนข้างนี้ นักกีฬาก็ยังใช้สมาธิเพื่อวางแผนการเล่น ดังนั้นจึงไม่ควรส่งเสียงเชียร์ดังจนเกินไป
2. ไม่เชียร์โดยการโห่ฮา การกระทืบเท้าเป่าปากในระหว่างการเล่น ยิ่งนักกีฬาฝ่ายตรงข้ามตีเสียเอง เราไม่ควรตบมือส่งเสียงดีใจหรือซ้ำเติมนักกีฬา
3. ไม่ควรตะโกนสอนผู้เล่นในระหว่างแข่งขัน