วันอาทิตย์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2556

กีฬายูโด

ประวัติยูโด
    ยูโด (Judo) เป็นศิลปะการป้องกันตัวประเภทหนึ่งที่ถือกำเนิดจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีมาแต่ดึกดำบรรพ์ ปัจจุบันมีผู้นิยมฝึกหัดเล่นกันอย่างแพร่หลายไปทั่วโลก ยูโดเป็นรูปแบบของการป้องกันตัว เป็นศิลปะส่วนหนึ่งของชาวญี่ปุ่นที่มีการดัดแปลงปรับปรุงแก้ไขให้ทันสมัย นอกจากจะเป็นการฝึกเพื่อป้องกันตัวเองแล้วยังเป็นการบริหารร่างกายเพื่อให้ เกิดความแข็งแรง ฝึกสมาธิให้มั่นคง ผู้ฝึกจะได้รับประโยชน์ทั้งด้านร่างกาย และสมาธิด้านจิตใจอย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นการจู่โจมคู่ต่อสู้ หรือการตั้งรับ
          ยูโดมีชื่อเต็มว่า โคโดกัน ยูโด (Kodokan Judo) เดิมทีเดียวเรียกกันว่า ยูยิตสู (Jiujitsu) ซึ่งเป็นวิชาที่สามารถต่อสู้กับคู่ต่อสู้ที่มีอาวุธด้วยมือเปล่าและเป็นการ ทำลายจุดอ่อนของคู่ต่อสู้ ในประเทศญี่ปุ่นมีการเล่นยูยิตสูกันอย่างแพร่หลายมากญี่ปุ่นมีความเชื่อว่า ตนเองมีเชื้อสายมาจากเทพยดา เทพธิดา และเชื่อว่าตนเองเป็นลูกพระอาทิตย์ มีถิ่นที่อยู่บนเกาะใหญ่น้อยทั้งหลาย ราวๆ 3,000-4,000 เกาะ จากการที่อยู่อาศัยบนเกาะต่างๆ นี้เองจึงมีความคิดเห็นไม่ตรงกันและไม่สามารถรวมกลุ่มกันได้ ทำให้เกิดการแย่งชิงอำนาจความเป็นใหญ่ ผู้ที่ได้รับชัยชนะก็พยายามซ่องสุมเสริมสร้างกำลังพลให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น ผู้ที่พ่ายแพ้ก็พยายามที่จะรวบรวมสมัครพรรคพวกที่พ่ายแพ้ขึ้นใหม่เพื่อรอ จังหวะช่วงชิงอำนาจกลับคืนมา
          หลังจากที่ญี่ปุ่นได้พัฒนาเปลี่ยนแปลงรูปแบบการต่อสู้ และทำให้วิชายูยิตสูเสื่อมความนิยมลงจนหมดนั้น ต่อมาเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2403 ได้มีชาวญี่ปุ่นชื่อ จิโกโร คาโน (Jigoro Kano) ชาวเมืองชิโรโกะ ได้อพยพครอบครัวมาอยู่ในกรุงโตเกียว เมื่อปี พ.ศ. 2414 อายุ 18 ปี ได้เข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยโตเกียว ในสาขาปรัชญาศาสตร์ (Philosophy) จนสำเร็จการศึกษา เมื่ออายุ 23 ปี ท่านจิโกโร คาโน เป็นบุคคลที่มีความเห็นว่าวิชายูยิตสูนอกจากจะเป็นกีฬาสำหรับร่างกายและจิต ใจแล้ว ยังมีหลักปรัชญาที่ว่าด้วยหลักแห่งความเป็นจริง อีกทั้งท่านเป็นคนที่มีรูปร่างเล็กผอมบาง มีนิสัยไม่เกรงกลัวใคร
          เมื่อได้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับวิชายูยิตสูอย่างละเอียด ก็พบว่าผู้ฝึกวิชายูยิตสูจนมีความชำนาญดีแล้ว จะสามารถสู้กับคนที่รูปร่างใหญ่โตได้ หรือสู้กับความที่มีอาวุธด้วยมือเปล่าได้ จากการค้นพบทำให้บังเกิดความศรัทธาอย่างแรงกล้า ท่านจึงได้เข้าศึกษายูยิตสูอย่างจริงจังจากอาจารย์ผู้สอนวิชายูยิตสูหลาย ท่านจากโรงเรียนเทนจิ ซิโย (Tenjin Shinyo) และโรงเรียนคิโต (Kito)
          ปี พ.ศ. 2425 ท่านจิโกโร คาโน อายุได้ 29 ปี ได้ก่อตั้งโรงเรียนสำหรับวิชายูโดขึ้นเป็นครั้งแรกในบริเวณวัดพุทธศาสนา ชื่อวัดอิโชจิ (Eishoji) โดยตั้งชื่อสถาบันนี้ว่า โคโดกัน ยูโด โดยได้นำเอาศิลปะของการต่อสู้ด้วยการทุ่มจากสำนักเทนจิ ซิโย และการต่อสู้จากสำนักคิโตเข้ามาผสมผสานเป็นวิชายูโดและได้ปรับปรุงวิธีการ ยูโดให้เหมาะสมสอดคล้องกับความเปลี่ยแปลงในระบอบการปกครองและสังคมในขณะนั้น ได้สอดแทรกวิทยาศาสตร์ใหม่ๆ คณิตศาสตร์ประยุกต์ที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว จิตศาสตร์ และจริยศาสตร์เข้าด้วยกัน โดยได้ตัดทอนยูยิตสู ซึ่งไม่เหมาะสมออก แล้วพยายามรวบรวมวิชายูยิตสูให้เป็นหมวดหมู่มีมาตรฐานเดียวกันตามความคิดของ ท่าน และได้ตั้งระบบใหม่เรียกว่า ยูโด (Judo)
          ในเริ่มแรก ท่านจิโกโร คาโน ต้องต่อสู้กับอุปสรรคจากบุคคลหลายๆ ฝ่ายเพื่อให้เกิดการยอมรับในวิชายูโด โดยเฉพาะจากบุคคลที่นิยมอารยธรรมตะวันตกบุคคลพวกนี้ไม่ยอมรับว่ายูโดเป็น สิ่งที่เกิดใหม่ และดีกว่ายูยิตสู ในปี พ.ศ. 2429 กรมตำรวจญี่ปุ่นได้จัดการแข่งขันระหว่างยูโดกับยูยิตสูขึ้น โดยแบ่งเป็นฝ่ายละ 15 คน ผลการแข่งขันปรากฏว่ายูโดชนะ 13 คน เสมอ 2 คน เมื่อผลปรากฏเช่นนี้ ทำให้ประชาชนเริ่มสนใจยูโดมากขึ้น ทำให้สถานที่สอนเดิมคับแคบจึงต้องมีการขยายห้องเรียน เพื่อต้อนรับผู้ที่สนใจ จนปี พ.ศ. 2476 จึงได้ย้ายสถานที่ฝึกไปที่ซูอิโดบาชิ (Suidobashi) และสถานที่นี้เองที่เป็นศูนย์กลางของนักยูโดในโลกปัจจุบัน
ยูโดดำเนินการไปด้วยดีและเริ่มมีมาตรฐานอันสมบูรณ์ ในปี พ.ศ. 2465 ได้ตั้ง The Kodokun Cultural Xociety ขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2455 ได้ก่อตั้งสหพันธ์ยูโดระหว่างประเทศขึ้น โดยมีประเทศต่างๆ ที่ร่วมก่อตั้งครั้งแรกประมาณ 20 ประเทศ
          ในปี พ.ศ. 2499 สหพันธ์ยูโดระหว่างชาติได้จัดให้มีการแข่งขันเพื่อความชนะเลิศยูโดระหว่าง ชาติขึ้น โดยอยู่ในการอำนวยการของสหพันธ์ยูโดระหว่างประเทศโดโดกัน และหนังสือพิมพ์อาซาอิซัมบุน ซึ่งทั้ง 2 องค์กรช่วยกันจัดการแข่งขันขึ้นมา
พื้นที่แข่งขัน
พื้นที่แข่งขันจะต้องมีเนื้อที่อย่างน้อย 14 x 14 เมตร และอย่างมากที่สุด 16 x 16 เมตร โดยจะปูด้วยตาตามิ หรือวัสดุอื่นที่ได้รับการรับรอง โดยทั่ว ๆ ไปจะเป็นสีเขียว
พื้นที่แข่งขันจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน เส้นแบ่งเขตทั้งสองนี้จะเรียกว่าเขตอันตราย จะมีสีที่เห็นได้ชัด โดยทั่ว ๆ ไปแล้วจะเป็นสีแดง กว้างประมาณ 1 เมตร เป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่แข่งขัน หรือจะใช้เส้นทาบติดเป็นสี่เหลี่ยมรอบบริเวณแข่งขันก็ได้
พื้นที่ภายในรวมทั้งเขตอันตรายจะเรียกว่า บริเวณแข่งขัน และมีบริเวณอย่างน้อย 9 x 9 เมตร หรืออย่างมาก 10 x 10 เมตร บริเวณนอกเขตอันตรายจะเรียกว่าบริเวณปลอดภัย และจะมีความกว้างประมาณ 3 เมตร (แต่จะต้องไม่น้อยกว่า 2.5 เมตร)
เทปเหนียวสีแดงและสีขาว กว้างประมาณ 6 เซนติเมตร และยาว 25 เซนติเมตร จะต้องติดตรงกลางบริเวณที่แข่งขันในระยะห่างกัน 4 เมตร เพื่อเป็นที่ชี้แสดงให้ผู้เข้าแข่งขันทราบในการเริ่มและจบการแข่งขัน เทปสีแดงจะอยู่ข้างขวาของกรรมการผู้ชี้ขาดบนเวที และเทปสีขาวจะอยู่ข้างซ้ายของผู้ชี้ขาดบนเวที
บริเวณที่แข่งขันจะต้องอยู่บนพื้นที่ยืดหยุ่นได้หรือยกพื้น
เมื่อบริเวณที่แข่งขันสองบริเวณหรือมากกว่าใช้ติดต่อกัน อนุญาตให้ใช้บริเวณปลอดภัยติดต่อกันได้ แต่ต้องมีระยะ 3 เมตรเป็นอย่างน้อย
มีบริเวณว่างรอบบริเวณที่แข่งขันทั้งหมดอย่างน้อยอีก 50 เซนติเมตร
เครื่องจับเวลาและป้ายคะแนน
นาฬิกาต้องตั้งไว้ให้นายช่างที่รับผิดชอบเข้าตรวจสอบ ความเที่ยงตรงได้ตลอดเวลา เช่น เวลาเริ่มและเวลาแข่งขัน ป้ายคะแนนต้องเป็นป้ายที่มีขนาดตามที่สหพันธ์นานาชาติกำหนดไว้ และพร้อมที่จะใช้งานตามที่ผู้ตัดสินต้องการได้ทันที ซึ่งป้ายคะแนนและเครื่องจับเวลาต้องใช้พร้อมกันกับเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ถ้าเครื่องอิเล็กทรอนิกส์เกิดขัดข้อง
เครื่องแบบยูโด (ยูโดกี)
ผู้เข้าแข่งขันจะต้องสวมเครื่องแบบยูโด (ยูโดกี) ตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
1.  ทำด้วยผ้าฝ่ายที่แข็งแรงหรือวัสดุที่คล้ายคลึงกัน และอยู่ในสภาพที่ดี (ไม่มีปริหรือขาด)
2.  สีขาวหรือขาวหม่น
3.  เครื่องหมายที่มีได้ คือ
4.  เสื้อต้องยาวคลุมต้นขา และจะต้องไม่สั้นกว่ามือกำเมื่อยืดลงด้ายข้างลำตัวเต็มที่ ตัวเสื้อต้องกว้างพอที่จะดึงสองด้านให้ทับกันได้ไม่น้อยกว่า 20 เซนติเมตรจากซี่โครงด้านหน้า แขนเสื้อต้องยาวถึงข้อมือหรือสูงกว่าข้อมือไม่เกิน 5 เซนติเมตร เป็นอย่างน้อย และให้มีช่องว่างกว้าง 10 – 15 เซนติเมตรตลอดแขนเสื้อ (รวมทั้งผ้าพัน)
5.  กางเกงไม่มีเครื่องหมายใด ๆ ต้องยาวคลุมขาทั้งหมด และยาวอย่างมากถึงตาตุ่ม หรือสูงขึ้นจากตาตุ่มได้ 5 เซนติเมตรเป็นอย่างน้อย และให้มีช่องว่างที่ขากางเกงได้ 10 – 15 เซนติเมตร (รวมทั้งผ้าพัน) ตลอดขากางเกง
6.  เข็มขัดที่แข็งแรง กว้าง 4 – 5 เซนติเมตร มีสีตรงตามวุฒิของผู้เข้าแข่งขันคาดบนเสื้อระดับเอว และผูกเป็นปมสี่เหลี่ยม แน่นพอที่จะไม่ให้เสื้อหลวมเกินไป และยาวพอที่จะพันเอวได้สองรอบ โดยมีปลายสองข้างเลยออกมาข้างละ 20 ถึง 30 เซนติเมตรเมื่อผูกแล้ว
7.  ผู้เข้าแข่งขันที่เป็นหญิงจะต้องสวมเสื้อยืดคอกลมแขนสั้นสีขาวหรือขาวหม่น ชั้นในมีความทนทานและยาวพอที่จะยัดใส่ในกางเกงได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น